xs
xsm
sm
md
lg

สาระน่ารู้กับโรงพยาบาลธนบุรี"เกี่ยวกับสุขภาพกระดูก"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คุณเคยมีคำถามเหล่านี้หรือไม่
- กระดูกฉันพรุนหรือไม่?
- กระดูกฉันแข็งแรงดีแค่ไหน?
- จะทำให้กระดูกแข็งแรงดีที่สุดได้อย่างไร?
- ฉันต้องกินแคลเซียม หรือวิตามินดีหรือไม่?
- จะป้องกันหรือรักษาโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร?

ที่นี่มีคำตอบ
ร่างกายคนเราตามปกติจะมีการสร้างและการสลายกระดูกเพื่อการเจริญเติบโต การซ่อมแซมกระดูกและเป็นการรักษาสมดุลของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นการสร้างกระดูกจะน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิง ที่หมดประจำเดือนจะมีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น ทำให้มวลกระดูกบางลง หากเป็นมากจะส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกหักได้ง่าย ซึ่งมักพบการหักที่กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ในบางรายอาจทำให้เกิดหลังค่อมและความสูงลดลง

การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุดคือการเสริมสร้างมวลกระดูกของเราให้แข็งแรงที่สุดตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งสามารถทำได้โดย การรับประทานแคลเซียมและวิตะมินดีอย่างเพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่คุณจะทราบได้อย่างไรว่าแคลเซียมและวิตามินดีที่คุณได้รับอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะจากอาหาร ยา หรือการรับแสงแดด เพียงพอหรือไม่ที่จะสร้างกระดูกให้แข็งแรง เพียงตรวจสุขภาพกระดูก โดยการตรวจเลือดจะสามารถให้คำตอบได้ และหากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน สามารถตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่

เพศหญิง
- วัยหลังหมดประจำเดือน
- หมดประจำเดือนก่อนวัย (ก่อนอายุ 45 ปี)
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ

เพศชาย
- มีระดับฮอร์โมน testosterone ต่ำ
- อายุมากกว่า 50 ปี

บุคคลทั่วไป
- มีรูปร่างผอมหรือโครงร่างเล็ก
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
- มีประวัติกระดูกหักหลังการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย เช่น กระดูกข้อมือหักหลังการหกล้ม
- มีภาวะข้ออักเสบ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ lupus
- ได้รับยาที่มีผลความแข็งแรงของกระดูก เช่น สเตียรอยด์ ยาต้านชัก ยาฮอร์โมนธัยรอยด์ หรือ Heparin
- ขาดอาหารที่แคลเซียมสูง เช่น นม
- สูบบุหรี่
- ดื่มเครื่องแอลกอฮอร์มากกว่า 2 แก้วต่อวัน
- ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ
- มีประวัติบิดาหรือมารดาเกิดกระดูกสะโพกหัก
- ตรวจพบภาวะกระดูกบางหรือกระดูกสันหลังผิดรูปจากภาพรังสีเอกซ์
- ผู้ที่มีส่วนสูงลดลง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ โทร 02-412-0020 ต่อ 2005-7 หรือ www.thonburihospital.com

(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)
กำลังโหลดความคิดเห็น