กทม.ยันรับมือสถานการณ์น้ำได้ ไม่น่าห่วง พร้อมติดตั้งเครื่องระบายน้ำ 9 เครื่อง ดันน้ำออกคลองบางซื่อ เผยขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบ ด้านกรมอุตุฯคาด 4-5 ต.ค.นี้ พื้นที่กรุงเทพฯฝนตกหนัก
วันนี้ (30 ก.ย.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงพื้นที่ตรวจบึงรับน้ำพิบูลวัฒนา เขตพญาไท จากนั้นเดินทางไปคลองเปรมประชากร บริเวณวัดเทวสุนทร เขตจตุจักร เพื่อตรวจสภาพน้ำและจุดติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ พร้อมกล่าวว่า กทม.ได้มีการวางแผนเตรียมการรับสถาณการณ์น้ำในขณะนี้ ทั้งการวางแผนขุดลอกคูคลอง ประกอบกับสภาพอากาศในช่วงหลายวันที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำฝนตกลงมาไม่มากนัก จึงไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค.นี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์เอาไว้ว่าจะมีฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพฯ และขณะเดียวกันระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก็ยังมีระดับที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงไม่น่าเป็นหว่งแต่อย่างใด ทาง กทม.ก็ได้มีการประสานงานกับรัฐบาลในเรื่องการบริหารจัดการปล่อยน้ำจากเขื่อนต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการปล่อยน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลงสู่เขื่อนพระราม 6 เนื่องจากน้ำในเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องเร่งปล่อยน้ำ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติ และทางสำนักการระบายน้ำก็ได้รับการยืนยันจากรัฐบาลว่ายังคงควบคุมอัตราการปล่อยน้ำให้อยู่ที่ 2,300 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานถึงผลกระทบใดๆ ต่อกรุงเทพฯ และ กทม.ยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ (1 ต.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พร้อมผู้บริหาร กทม.จะเดินทางไปติดตามสถานการณ์น้ำที่เขื่อนพระราม 6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อประเมินสถานการณ์ในเขื่อน และคันกั้นน้ำนอกพื้นที่ กทม.เพื่อนำมาพิจารณาแนวบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้เป็นไปอย่างมีระบบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายพิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และอดีตผู้ว่าฯ กทม.เสนอแนะว่ารัฐบาลกับ กทม.และจังหวัดปริมณฑล ควรตั้งหน่วยปฏิบัติการร่วมกันเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ได้ทำงานประสานงานร่วมกันอยู่แล้ว โดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เป็นหน่วยงานกลาง ขณะนี้สถานการณ์น้ำยังไม่ผิดปกติ หากรุนแรงกว่านี้ ก็อาจมีการหารือร่วมรัฐบาลในการตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บึงพิบูลวัฒนา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำพื้นที่เขตพญาไท โดยสร้างอุโมงค์รับน้ำจากถนนพหลโยธิน ลอดใต้ซอยพหลโยธิน 7 ซึ่งบึงแห่งนี้ใช้ในการเก็บน้ำเป็นแก้มลิงชั่วคราว มีสถานีสูบน้ำขนาด 4.5 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที และอุโมงค์ใต้ดินขนาด 2.40 เมตร ยาวประมาณ 679 เมตร และขนาด 1.50 เมตร ยาวประมาณ 1,900 เมตร เพื่อระบายน้ำออกจากบึงด้วยการสร้างอุโมงค์ใต้ดินลอดหมู่บ้านพิบูลวัฒนา คลองประปา ไปตามซอยระนอง 1 ลงคลองเปรมประชากร สำหรับคลองเปรมประชากรเป็นคลองสายหลักในการระบายน้ำ ที่ช่วยพื้นที่ด้านเหนือของกรุงเทพฯ ทั้งเขตดอนเมือง หลักสี่ บางซื่อ และจตุจักร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ทั้งนี้เพื่อให้การระบายเป็นไปอย่างรวดเร็ว กทม.จึงได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 9 เครื่อง โดยติดตั้งที่ปากบางคลองตลาด 2 เครื่อง หน้าวัดเทวสุนทร 2 เครื่อง หน่วยเก็บขยะเทวสุนทร 2 เครื่อง และบริเวณตัดทางรถไฟสายใต้ 3 เครื่อง เพื่อผลักดันน้ำออกไปคลองบางซื่อ และออกสู่แม่เจ้าพระยาที่สถานีสูบน้ำบางซื่อบริเวณใกล้วัดแก้วฟ้าจุฬามณี
วันนี้ (30 ก.ย.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงพื้นที่ตรวจบึงรับน้ำพิบูลวัฒนา เขตพญาไท จากนั้นเดินทางไปคลองเปรมประชากร บริเวณวัดเทวสุนทร เขตจตุจักร เพื่อตรวจสภาพน้ำและจุดติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ พร้อมกล่าวว่า กทม.ได้มีการวางแผนเตรียมการรับสถาณการณ์น้ำในขณะนี้ ทั้งการวางแผนขุดลอกคูคลอง ประกอบกับสภาพอากาศในช่วงหลายวันที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำฝนตกลงมาไม่มากนัก จึงไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค.นี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์เอาไว้ว่าจะมีฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพฯ และขณะเดียวกันระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก็ยังมีระดับที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงไม่น่าเป็นหว่งแต่อย่างใด ทาง กทม.ก็ได้มีการประสานงานกับรัฐบาลในเรื่องการบริหารจัดการปล่อยน้ำจากเขื่อนต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการปล่อยน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลงสู่เขื่อนพระราม 6 เนื่องจากน้ำในเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องเร่งปล่อยน้ำ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติ และทางสำนักการระบายน้ำก็ได้รับการยืนยันจากรัฐบาลว่ายังคงควบคุมอัตราการปล่อยน้ำให้อยู่ที่ 2,300 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานถึงผลกระทบใดๆ ต่อกรุงเทพฯ และ กทม.ยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ (1 ต.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พร้อมผู้บริหาร กทม.จะเดินทางไปติดตามสถานการณ์น้ำที่เขื่อนพระราม 6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อประเมินสถานการณ์ในเขื่อน และคันกั้นน้ำนอกพื้นที่ กทม.เพื่อนำมาพิจารณาแนวบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้เป็นไปอย่างมีระบบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายพิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และอดีตผู้ว่าฯ กทม.เสนอแนะว่ารัฐบาลกับ กทม.และจังหวัดปริมณฑล ควรตั้งหน่วยปฏิบัติการร่วมกันเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ได้ทำงานประสานงานร่วมกันอยู่แล้ว โดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เป็นหน่วยงานกลาง ขณะนี้สถานการณ์น้ำยังไม่ผิดปกติ หากรุนแรงกว่านี้ ก็อาจมีการหารือร่วมรัฐบาลในการตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บึงพิบูลวัฒนา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำพื้นที่เขตพญาไท โดยสร้างอุโมงค์รับน้ำจากถนนพหลโยธิน ลอดใต้ซอยพหลโยธิน 7 ซึ่งบึงแห่งนี้ใช้ในการเก็บน้ำเป็นแก้มลิงชั่วคราว มีสถานีสูบน้ำขนาด 4.5 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที และอุโมงค์ใต้ดินขนาด 2.40 เมตร ยาวประมาณ 679 เมตร และขนาด 1.50 เมตร ยาวประมาณ 1,900 เมตร เพื่อระบายน้ำออกจากบึงด้วยการสร้างอุโมงค์ใต้ดินลอดหมู่บ้านพิบูลวัฒนา คลองประปา ไปตามซอยระนอง 1 ลงคลองเปรมประชากร สำหรับคลองเปรมประชากรเป็นคลองสายหลักในการระบายน้ำ ที่ช่วยพื้นที่ด้านเหนือของกรุงเทพฯ ทั้งเขตดอนเมือง หลักสี่ บางซื่อ และจตุจักร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ทั้งนี้เพื่อให้การระบายเป็นไปอย่างรวดเร็ว กทม.จึงได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 9 เครื่อง โดยติดตั้งที่ปากบางคลองตลาด 2 เครื่อง หน้าวัดเทวสุนทร 2 เครื่อง หน่วยเก็บขยะเทวสุนทร 2 เครื่อง และบริเวณตัดทางรถไฟสายใต้ 3 เครื่อง เพื่อผลักดันน้ำออกไปคลองบางซื่อ และออกสู่แม่เจ้าพระยาที่สถานีสูบน้ำบางซื่อบริเวณใกล้วัดแก้วฟ้าจุฬามณี