กพร.ตั้งคณะอนุกรรมการ 6 ชุด เร่งจัดทำหลักสูตรติวเข้มแรงงานด้านท่องเที่ยวเเละโรงแรมให้ได้มาตรฐานฝีมือตามข้อตกลงอาเซียนรองรับเออีซี ชี้มี 6 กลุ่มอาชีพ 32 ตำแหน่งงาน ตั้งเป้าเสร็จเดือน มี.ค.ปีหน้า
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กพร.มีนโยบายพัฒนาแรงงานไทยสาขาท่องเที่ยวและโรงแรมใน 32 ตำแหน่งงาน อันเป็นสาขาวิชาชีพลำดับที่ 8 ในการที่ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน (เอซี) 10 ประเทศ ร่วมกันจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (MRAs) ด้านคุณสมบัติวิชาชีพโดยยึดมาตรฐานของประเทศออสเตรเลียเป็นหลัก ซึ่งประเทศไทยโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กท.) ได้ลงนามยอมรับข้อตกลงดังกล่าวไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2555 และเป็นหน่วยงานหลักกำกับดูแล MRAs สาขาท่องเที่ยวและโรงแรมซึ่งมี 32 ตำแหน่งงานทั้งนี้ กท.ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแล 2 ชุดคือ คณะกรรมการแห่งชาติบุคลากรท่องเที่ยวกับคณะกรรมการคุณสมบัติบุคลากรด้านท่องเที่ยวขึ้น ซึ่งคณะกรรมการชุดหลังนี้มีคณะอนุกรรมการ 6 คณะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มแรกโรงแรมแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ แม่บ้านโรงแรม ผู้ให้บริการส่วนหน้า ผู้ประกอบอาหารในครัวและผู้ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มมีทั้งหมด 23 ตำแหน่งงาน ส่วนกลุ่มที่สองท่องเที่ยวแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ ผู้ติดต่อกับนักท่องเที่ยว (ทราเวลเอเยนซี) และผู้จัดการเดินทางให้นักท่องเที่ยว (ทัวร์โอเปอเรชัน) มีทั้งสิ้น 9 ตำแหน่งงาน
อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า ในส่วนของ กพร.ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เป็นกรรมการคุณสมบัติบุคลากรด้านท่องเที่ยวได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้จัดทำหลักสูตรอบรมพัฒนาทักษะวิชาชีพและภาษาต่างประเทศให้แก่แรงงานไทยสาขาท่องเที่ยวและโรงแรมใน 32 ตำแหน่งงานเพื่อให้มีมาตรฐานวิชาชีพเป็นไปตาม MRAs ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 6 ชุดเพื่อจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมสาขาวิชาชีพท่องเที่ยวและโรงแรมใน 6 กลุ่มอาชีพ 32 ตำแหน่งงาน โดยให้ กพร.ไปเพิ่มตัวแทนสภาวิชาชีพ สมาคมภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมเข้ามาเป็นคณะอนุกรรมการให้มากขึ้น เนื่องจากรายชื่อคณะอนุกรรมการส่วนใหญ่ที่เสนอมานั้นเป็นนักวิชาการ
“กพร.จะเร่งจัดทำหลักสูตรอบรม 1 หลักสูตรต่อ 1 ตำแหน่งงาน คาดว่าแต่ละหลักสูตรน่าจะใช้เวลาฝึกอบรมซึ่งครอบคลุมทั้งทักษะวิชาชีพ และภาษาต่างประเทศอยู่ระหว่าง 60-120 วัน และตั้งเป้าหมายจะจัดทำหลักสูตรทั้งหมดให้เสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ.2557 หลังจากนั้นนำมาใช้อบรมแรงงานไทยสาขาท่องเที่ยวและโรงแรม ผู้ประกอบการสามารถส่งพนักงานเข้ารับการอบรมโดยสนับสนุนค่าวิทยากรและวัสดุ อุปกรณ์ในการฝึก หรือแรงงานก็สามารถสมัครเข้ารับการฝึกอบรมได้เองที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน (ศฝจ.) จังหวัดต่างๆ” นายนคร กล่าว
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กพร.มีนโยบายพัฒนาแรงงานไทยสาขาท่องเที่ยวและโรงแรมใน 32 ตำแหน่งงาน อันเป็นสาขาวิชาชีพลำดับที่ 8 ในการที่ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน (เอซี) 10 ประเทศ ร่วมกันจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (MRAs) ด้านคุณสมบัติวิชาชีพโดยยึดมาตรฐานของประเทศออสเตรเลียเป็นหลัก ซึ่งประเทศไทยโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กท.) ได้ลงนามยอมรับข้อตกลงดังกล่าวไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2555 และเป็นหน่วยงานหลักกำกับดูแล MRAs สาขาท่องเที่ยวและโรงแรมซึ่งมี 32 ตำแหน่งงานทั้งนี้ กท.ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแล 2 ชุดคือ คณะกรรมการแห่งชาติบุคลากรท่องเที่ยวกับคณะกรรมการคุณสมบัติบุคลากรด้านท่องเที่ยวขึ้น ซึ่งคณะกรรมการชุดหลังนี้มีคณะอนุกรรมการ 6 คณะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มแรกโรงแรมแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ แม่บ้านโรงแรม ผู้ให้บริการส่วนหน้า ผู้ประกอบอาหารในครัวและผู้ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มมีทั้งหมด 23 ตำแหน่งงาน ส่วนกลุ่มที่สองท่องเที่ยวแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ ผู้ติดต่อกับนักท่องเที่ยว (ทราเวลเอเยนซี) และผู้จัดการเดินทางให้นักท่องเที่ยว (ทัวร์โอเปอเรชัน) มีทั้งสิ้น 9 ตำแหน่งงาน
อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า ในส่วนของ กพร.ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เป็นกรรมการคุณสมบัติบุคลากรด้านท่องเที่ยวได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้จัดทำหลักสูตรอบรมพัฒนาทักษะวิชาชีพและภาษาต่างประเทศให้แก่แรงงานไทยสาขาท่องเที่ยวและโรงแรมใน 32 ตำแหน่งงานเพื่อให้มีมาตรฐานวิชาชีพเป็นไปตาม MRAs ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 6 ชุดเพื่อจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมสาขาวิชาชีพท่องเที่ยวและโรงแรมใน 6 กลุ่มอาชีพ 32 ตำแหน่งงาน โดยให้ กพร.ไปเพิ่มตัวแทนสภาวิชาชีพ สมาคมภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมเข้ามาเป็นคณะอนุกรรมการให้มากขึ้น เนื่องจากรายชื่อคณะอนุกรรมการส่วนใหญ่ที่เสนอมานั้นเป็นนักวิชาการ
“กพร.จะเร่งจัดทำหลักสูตรอบรม 1 หลักสูตรต่อ 1 ตำแหน่งงาน คาดว่าแต่ละหลักสูตรน่าจะใช้เวลาฝึกอบรมซึ่งครอบคลุมทั้งทักษะวิชาชีพ และภาษาต่างประเทศอยู่ระหว่าง 60-120 วัน และตั้งเป้าหมายจะจัดทำหลักสูตรทั้งหมดให้เสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ.2557 หลังจากนั้นนำมาใช้อบรมแรงงานไทยสาขาท่องเที่ยวและโรงแรม ผู้ประกอบการสามารถส่งพนักงานเข้ารับการอบรมโดยสนับสนุนค่าวิทยากรและวัสดุ อุปกรณ์ในการฝึก หรือแรงงานก็สามารถสมัครเข้ารับการฝึกอบรมได้เองที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน (ศฝจ.) จังหวัดต่างๆ” นายนคร กล่าว