กสร.ชี้ช่วงปลายปีนายจ้าง-ลูกจ้างขัดแย้ง “เงินโบนัส” มากสุด ห่วงบริษัทผลิตรถยนต์เหตุยอดสั่งซื้อลดลงทำโบนัสหด แนะนายจ้างใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์ป้องกันข้อขัดแย้ง เรียกประชุม พนง.ทั้งบริษัทชี้แจงผลประกอบการ-กำไรให้เข้าใจ
วันนี้ (19 ก.ย.) นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวถึงกรณีที่สหภาพแรงงานไทยเรยอน บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเส้นใยสังเคราะห์จากน้ำมัน มีพนักงานประมาณ 1,000 คน และใช้สิทธินัดหยุดงานประมาณ 800 คนว่า บริษัท ไทยเรยอน และสหภาพแรงงาน มีกำหนดยื่นข้อเรียกร้องต่อกัน 3 ปี/ครั้ง โดยในปีนี้สหภาพแรงงานยื่นข้อเสนอทั้งหมด 35 ข้อ สาระสำคัญคือ เรื่องการปรับค่าจ้างประจำปี ค่าครองชีพ และเงินโบนัส โดยบริษัทปรับลดเงินโบนัสประจำปี 2556 ลงจากเดิมที่ 136 วัน เป็นการกำหนดขั้นโบนัสตามอายุงานคือ 1-2 ปี ได้โบนัส 30 วัน 2-4 ปี ได้โบนัส 35 วัน และ 4 ปีขึ้นไปได้โบนัส 45 วัน โดยตั้งเงื่อนไขว่าหากมีกำไรจากผลประกอบการเป็นจำนวนมากก็จะแบ่งเงินกำไรมา 5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเฉลี่ยจ่ายเป็นเงินโบนัสเพิ่มเติมให้แก่พนักงาน ซึ่งจากการคาดการณ์ของบริษัทหากสามารถทำกำไรได้ถึง 1,700 ล้านบาท พนักงานจะได้รับเงินโบนัสถึง 170 วัน แต่สหภาพแรงงานยังไม่มั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันว่าจะสามารถทำกำไรได้มาก จึงขอให้บริษัทจ่ายโบนัสในอัตราเดิม
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า จากการสอบถามผู้บริหารบริษัท ไทยเรยอน ถึงสาเหตุที่ต้องปรับลดเงินโบนัสก็ได้รับอธิบายว่า เนื่องมาจากบริษัทมีคู่แข่งที่สำคัญคือประเทศจีน ที่มีศักยภาพในการผลิตที่มากกว่า ค่าแรงถูกกว่า ทำให้มีต้นทุนที่ถูกกว่าประเทศไทย บริษัทจึงจำเป็นต้องปรับลดการจ่ายโบนัส เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ ขณะนี้พนักงานบริษัท ไทยเรยอน ได้นัดหยุดงานตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.เป็นต้นไปจนกว่าการเจรจากันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจะได้ข้อยุติ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิหยุดงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2544 อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของ กสร.ได้เข้าไปช่วยไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งเพื่อให้ได้ข้อยุติให้เป็นที่น่าพอใจของทั้งสองฝ่ายโดยเร็วที่สุด
รองอธิบดี กสร.กล่าวด้วยว่า แต่ละปีในช่วงปลายปีจะมีสหภาพแรงงานของบริษัทต่างๆ ประมาณ 400 แห่งยื่นข้อเรียกร้องประจำปี เช่น เงินโบนัส การขึ้นเงินเดือนประจำปี ขณะนี้ที่มีปัญหามากที่สุดเรื่องของเงินโบนัส โดยตอนนี้มี 4 บริษัทที่มีข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงินโบนัสคือ บริษัท ไทยเรยอน และอีก 3 แห่งเป็นบริษัทประกอบกิจการด้านเซรามิก ขนส่ง และสิ่งทอ และที่น่าห่วงคือบริษัทผลิตรถยนต์ เนื่องจากปีที่แล้วขายรถยนต์ได้มาก เนื่องจากนโยบายโครงการรถยนต์คันแรก ทำให้มีกำไรเยอะ และจ่ายโบนัสได้มาก แต่ปีนี้ขายรถยนต์ได้น้อยลง ทำให้กำไรลดลงและจ่ายเงินโบนัสได้ลดลง
ทั้งนี้ ส่วนกรณีข้อเรียกร้องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้มากกว่าวันละ 300 บาท ซึ่งมติคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556-2558 ขณะนี้กระแสเรียกร้องจากลูกจ้างในเรื่องนี้มีน้อยมาก เพราะต่างเข้าใจดีว่านายจ้างมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น และมองว่าหากนายจ้างอยู่ได้ลูกจ้างก็อยู่ได้ แต่อยากให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือ เช่น การควบคุมราคาสินค้าและค่าครองชีพ
“ตามหลักการจ่ายโบนัสนั้น ถ้าบริษัทมีกำไรมากก็จะจ่ายมาก แต่ถ้าหากมีกำไรน้อยก็จ่ายน้อย จึงอยากให้บริษัทต่างๆ ใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์เรียกประชุมชี้แจงให้พนักงานทั้งบริษัทเพื่อให้เข้าใจถึงสถานการณ์ธุรกิจ และผลประกอบการในปีนี้บริษัทว่า มีกำไรมากน้อยแค่ไหนและสามารถจ่ายเงินโบนัสได้มากขึ้น เท่าเดิมหรือลดลงแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่มาแจ้งช่วงเวลาที่ใกล้จะจ่ายเงินโบนัส จะทำให้ลูกจ้างไม่เข้าใจและผิดหวังว่าทำไมไม่ได้เงินโบนัสเท่าเดิม ผมเคยสอบถามเรื่องนี้กับผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่บางแห่ง เขาก็ให้เหตุผลว่าถ้าแจ้งพนักงานแต่เนิ่นๆ กลัวพนักงานจะท้อแท้ ไม่มีกำลังใจในการทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากไม่พูดคุยกันให้เข้าใจกันแต่แรก จะทำให้ลูกจ้างหวาดระแวง ไม่ไว้ใจและเกิดข้อขัดแย้งขึ้นได้” นายสุวิทย์ กล่าว
วันนี้ (19 ก.ย.) นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวถึงกรณีที่สหภาพแรงงานไทยเรยอน บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเส้นใยสังเคราะห์จากน้ำมัน มีพนักงานประมาณ 1,000 คน และใช้สิทธินัดหยุดงานประมาณ 800 คนว่า บริษัท ไทยเรยอน และสหภาพแรงงาน มีกำหนดยื่นข้อเรียกร้องต่อกัน 3 ปี/ครั้ง โดยในปีนี้สหภาพแรงงานยื่นข้อเสนอทั้งหมด 35 ข้อ สาระสำคัญคือ เรื่องการปรับค่าจ้างประจำปี ค่าครองชีพ และเงินโบนัส โดยบริษัทปรับลดเงินโบนัสประจำปี 2556 ลงจากเดิมที่ 136 วัน เป็นการกำหนดขั้นโบนัสตามอายุงานคือ 1-2 ปี ได้โบนัส 30 วัน 2-4 ปี ได้โบนัส 35 วัน และ 4 ปีขึ้นไปได้โบนัส 45 วัน โดยตั้งเงื่อนไขว่าหากมีกำไรจากผลประกอบการเป็นจำนวนมากก็จะแบ่งเงินกำไรมา 5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเฉลี่ยจ่ายเป็นเงินโบนัสเพิ่มเติมให้แก่พนักงาน ซึ่งจากการคาดการณ์ของบริษัทหากสามารถทำกำไรได้ถึง 1,700 ล้านบาท พนักงานจะได้รับเงินโบนัสถึง 170 วัน แต่สหภาพแรงงานยังไม่มั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันว่าจะสามารถทำกำไรได้มาก จึงขอให้บริษัทจ่ายโบนัสในอัตราเดิม
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า จากการสอบถามผู้บริหารบริษัท ไทยเรยอน ถึงสาเหตุที่ต้องปรับลดเงินโบนัสก็ได้รับอธิบายว่า เนื่องมาจากบริษัทมีคู่แข่งที่สำคัญคือประเทศจีน ที่มีศักยภาพในการผลิตที่มากกว่า ค่าแรงถูกกว่า ทำให้มีต้นทุนที่ถูกกว่าประเทศไทย บริษัทจึงจำเป็นต้องปรับลดการจ่ายโบนัส เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ ขณะนี้พนักงานบริษัท ไทยเรยอน ได้นัดหยุดงานตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.เป็นต้นไปจนกว่าการเจรจากันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจะได้ข้อยุติ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิหยุดงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2544 อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของ กสร.ได้เข้าไปช่วยไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งเพื่อให้ได้ข้อยุติให้เป็นที่น่าพอใจของทั้งสองฝ่ายโดยเร็วที่สุด
รองอธิบดี กสร.กล่าวด้วยว่า แต่ละปีในช่วงปลายปีจะมีสหภาพแรงงานของบริษัทต่างๆ ประมาณ 400 แห่งยื่นข้อเรียกร้องประจำปี เช่น เงินโบนัส การขึ้นเงินเดือนประจำปี ขณะนี้ที่มีปัญหามากที่สุดเรื่องของเงินโบนัส โดยตอนนี้มี 4 บริษัทที่มีข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงินโบนัสคือ บริษัท ไทยเรยอน และอีก 3 แห่งเป็นบริษัทประกอบกิจการด้านเซรามิก ขนส่ง และสิ่งทอ และที่น่าห่วงคือบริษัทผลิตรถยนต์ เนื่องจากปีที่แล้วขายรถยนต์ได้มาก เนื่องจากนโยบายโครงการรถยนต์คันแรก ทำให้มีกำไรเยอะ และจ่ายโบนัสได้มาก แต่ปีนี้ขายรถยนต์ได้น้อยลง ทำให้กำไรลดลงและจ่ายเงินโบนัสได้ลดลง
ทั้งนี้ ส่วนกรณีข้อเรียกร้องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้มากกว่าวันละ 300 บาท ซึ่งมติคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556-2558 ขณะนี้กระแสเรียกร้องจากลูกจ้างในเรื่องนี้มีน้อยมาก เพราะต่างเข้าใจดีว่านายจ้างมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น และมองว่าหากนายจ้างอยู่ได้ลูกจ้างก็อยู่ได้ แต่อยากให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือ เช่น การควบคุมราคาสินค้าและค่าครองชีพ
“ตามหลักการจ่ายโบนัสนั้น ถ้าบริษัทมีกำไรมากก็จะจ่ายมาก แต่ถ้าหากมีกำไรน้อยก็จ่ายน้อย จึงอยากให้บริษัทต่างๆ ใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์เรียกประชุมชี้แจงให้พนักงานทั้งบริษัทเพื่อให้เข้าใจถึงสถานการณ์ธุรกิจ และผลประกอบการในปีนี้บริษัทว่า มีกำไรมากน้อยแค่ไหนและสามารถจ่ายเงินโบนัสได้มากขึ้น เท่าเดิมหรือลดลงแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่มาแจ้งช่วงเวลาที่ใกล้จะจ่ายเงินโบนัส จะทำให้ลูกจ้างไม่เข้าใจและผิดหวังว่าทำไมไม่ได้เงินโบนัสเท่าเดิม ผมเคยสอบถามเรื่องนี้กับผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่บางแห่ง เขาก็ให้เหตุผลว่าถ้าแจ้งพนักงานแต่เนิ่นๆ กลัวพนักงานจะท้อแท้ ไม่มีกำลังใจในการทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากไม่พูดคุยกันให้เข้าใจกันแต่แรก จะทำให้ลูกจ้างหวาดระแวง ไม่ไว้ใจและเกิดข้อขัดแย้งขึ้นได้” นายสุวิทย์ กล่าว