กรมวิทย์วิเคราะห์เชื้อมือเท้าปาก พบกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีเสี่ยงสุด รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 5-10 ปี ชูเป็นข้อมูลพื้นฐานวางแผนป้องกันควบคุมโรคได้
น.ส.รัตนา ตาเจริญเมือง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำเสนอการเฝ้าระวังไวรัสเอนเตอโร 71 และเอนเตอโรอื่นๆ ในผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก ของประเทศไทย ปี 2551-2555 ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ว่า โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคสำคัญที่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในหลายประเทศ โดยเฉพาะเอเชีย แปซิฟิก เช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา เวียดนาม และไทย ซึ่งแนวโน้มการเกิดโรครุนแรง และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในรายที่ติดเชื้อไวรัสเอนเตอโร 71 อาจมีอาการรุนแรงทางสมองจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก ได้ เช่น ไวรัสเอนเทอโรไวรัส 71 ไวรัสคอกซากี เอ ไวรัสคอกซากี บี และไวรัสเอสโฆ เป็นต้น
น.ส.รัตนา กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังโรค มือ เท้าปาก ทางห้องปฏิบัติการฝ่ายไวรัสระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ปี 2551-2555 มีตัวอย่างส่งตรวจ 4,515 ราย พบให้ผลบวกรวม 1,689 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.4 พบไวรัสเอนเตอโร 71 จำนวน 473 ราย คิดเป็นร้อยละ 28 และเอนเตอโรอื่นๆ จำนวน 1,216 ราย คิดเป็นร้อยละ 72 ส่วนชนิดอื่นที่พบมากที่สุด คือ ไวรัสคอกซากี เอ 16 คิดเป็นร้อยละ 35.8 นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ตามรายเดือน พบอัตราผลบวกมากเป็น 2 ช่วง คือ ระหว่าง มิ.ย.-ส.ค.และระหว่าง ธ.ค.-ก.พ.เมื่อแจกแจงตามผลอายุ พบว่า กลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี พบผลบวกมากที่สุด คือ ร้อยละ 41.2 ส่วนกลุ่มอายุ 5-10 ปี พบร้อยละ 19.4 กลุ่ม 10-15 ปี พบร้อยละ 15.8 และมากกว่า 15 ปี พบร้อยละ 11.4
“การวิเคราะห์และเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสนับสนุนการวางแผนควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ที่อาจก่อความรุนแรงในประเทศไทย และยังเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังไวรัสเอนเตอโร 71 สายพันธุ์ที่คาดว่าจะระบาดมาจากประเทศใกล้เคียงได้ เช่น จากการวิเคราะห์สายพันธุ์พบว่า เมื่อปี 2551 ความเหมือนของเชื้อคล้ายกับประเทศมาเลเซีย หรือบางปีเชื้อก็มีความคล้ายกับประเทศเวียดนาม เป็นต้น” น.ส.รัตนา กล่าว
น.ส.รัตนา ตาเจริญเมือง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำเสนอการเฝ้าระวังไวรัสเอนเตอโร 71 และเอนเตอโรอื่นๆ ในผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก ของประเทศไทย ปี 2551-2555 ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ว่า โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคสำคัญที่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในหลายประเทศ โดยเฉพาะเอเชีย แปซิฟิก เช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา เวียดนาม และไทย ซึ่งแนวโน้มการเกิดโรครุนแรง และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในรายที่ติดเชื้อไวรัสเอนเตอโร 71 อาจมีอาการรุนแรงทางสมองจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก ได้ เช่น ไวรัสเอนเทอโรไวรัส 71 ไวรัสคอกซากี เอ ไวรัสคอกซากี บี และไวรัสเอสโฆ เป็นต้น
น.ส.รัตนา กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังโรค มือ เท้าปาก ทางห้องปฏิบัติการฝ่ายไวรัสระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ปี 2551-2555 มีตัวอย่างส่งตรวจ 4,515 ราย พบให้ผลบวกรวม 1,689 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.4 พบไวรัสเอนเตอโร 71 จำนวน 473 ราย คิดเป็นร้อยละ 28 และเอนเตอโรอื่นๆ จำนวน 1,216 ราย คิดเป็นร้อยละ 72 ส่วนชนิดอื่นที่พบมากที่สุด คือ ไวรัสคอกซากี เอ 16 คิดเป็นร้อยละ 35.8 นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ตามรายเดือน พบอัตราผลบวกมากเป็น 2 ช่วง คือ ระหว่าง มิ.ย.-ส.ค.และระหว่าง ธ.ค.-ก.พ.เมื่อแจกแจงตามผลอายุ พบว่า กลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี พบผลบวกมากที่สุด คือ ร้อยละ 41.2 ส่วนกลุ่มอายุ 5-10 ปี พบร้อยละ 19.4 กลุ่ม 10-15 ปี พบร้อยละ 15.8 และมากกว่า 15 ปี พบร้อยละ 11.4
“การวิเคราะห์และเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสนับสนุนการวางแผนควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ที่อาจก่อความรุนแรงในประเทศไทย และยังเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังไวรัสเอนเตอโร 71 สายพันธุ์ที่คาดว่าจะระบาดมาจากประเทศใกล้เคียงได้ เช่น จากการวิเคราะห์สายพันธุ์พบว่า เมื่อปี 2551 ความเหมือนของเชื้อคล้ายกับประเทศมาเลเซีย หรือบางปีเชื้อก็มีความคล้ายกับประเทศเวียดนาม เป็นต้น” น.ส.รัตนา กล่าว