นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันตก ยันเปิดเออีซีไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรม ชี้แรงงานไทยทักษะบริการดี อาจต้องเน้นภาษาเพิ่ม ห่วงธุรกิจ SME ที่มีเงินทุนน้อย
นายวสันต์ กิตติกุล นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันตก กล่าวว่า แม้จะมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เชื่อว่าภาคธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันตกจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่น่ากังวลคือกลุ่มภาคธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) กว่า 1,000 แห่งจากโรงแรมในภาคตะวันตกที่มีอยู่กว่า 2,000 แห่ง ว่าจะรองรับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันไม่ไหวเนื่องจากมีต้นทุนในการทำธุรกิจไม่มากนัก อีกทั้งขณะนี้ประเทศฟิลิปินส์ พม่า ลาว กัมพูชา ก็มีความสนใจการทำธุรกิจด้านโรงแรม ซึ่งเกรงว่าจะดึงพนักงานที่มีทักษะฝีมือในระดับหัวหน้างานของไทยไปทำงานด้วย แต่ธุรกิจโรงแรมด้านตะวันตกก็มีการวางแผนในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.)ในการอบรมทักษะฝีมือและภาษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดให้กับแรงงานระดับปฏิบัติการให้สามารถขึ้นเป็นระดับหัวหน้าได้ เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของแรงงาน
นายวสันต์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีความกังวลในเรื่องแรงงานประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสามารถด้านภาษาจะเข้ามาแย่งงานแรงงานไทย เนื่องจากยอมรับค่าแรงที่ไม่ถึง 300 บาท ซึ่งธุรกิจโรงแรมภาคตะวันตกมีการหารือร่วมกัน และได้ข้อสรุปว่ายังคงมีนโยบายจ้างแรงงานไทยทำงานในธุรกิจโรงแรมต่อ แต่เมื่อมีการเปิดเออีซี และมีแรงงานต่างชาติมาสมัครงานทางภาคธุรกิจโรงแรม ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ จึงมีมาตรการในการคัดกรองโดยการทดสอบทักษะฝีมือตามมาตรฐานที่สมาคมโรงแรมไทยกำหนดไว้ว่าผ่านหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าแรงงานไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพราะหากมองในเรื่องของการบริการประเทศไทยก็ถือว่าอยู่ในลำดับต้นๆของเอเชียส่วนในเรื่องของภาษาก็สามารถที่จะพัฒนากันได้ โดยเฉพาะ 4 แผนกหลักๆ ได้แก่ แผนกอาหารและเครื่องดื่ม แผนกครัว และแผนกต้อนรับ ซึ่งปัจจุบันภาคธุรกิจโรงแรมไทยก็มีการพัฒนาทั้งทักษะและภาษามาอย่างต่อเนื่อง
นายวสันต์ กิตติกุล นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันตก กล่าวว่า แม้จะมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เชื่อว่าภาคธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันตกจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่น่ากังวลคือกลุ่มภาคธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) กว่า 1,000 แห่งจากโรงแรมในภาคตะวันตกที่มีอยู่กว่า 2,000 แห่ง ว่าจะรองรับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันไม่ไหวเนื่องจากมีต้นทุนในการทำธุรกิจไม่มากนัก อีกทั้งขณะนี้ประเทศฟิลิปินส์ พม่า ลาว กัมพูชา ก็มีความสนใจการทำธุรกิจด้านโรงแรม ซึ่งเกรงว่าจะดึงพนักงานที่มีทักษะฝีมือในระดับหัวหน้างานของไทยไปทำงานด้วย แต่ธุรกิจโรงแรมด้านตะวันตกก็มีการวางแผนในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.)ในการอบรมทักษะฝีมือและภาษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดให้กับแรงงานระดับปฏิบัติการให้สามารถขึ้นเป็นระดับหัวหน้าได้ เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของแรงงาน
นายวสันต์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีความกังวลในเรื่องแรงงานประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสามารถด้านภาษาจะเข้ามาแย่งงานแรงงานไทย เนื่องจากยอมรับค่าแรงที่ไม่ถึง 300 บาท ซึ่งธุรกิจโรงแรมภาคตะวันตกมีการหารือร่วมกัน และได้ข้อสรุปว่ายังคงมีนโยบายจ้างแรงงานไทยทำงานในธุรกิจโรงแรมต่อ แต่เมื่อมีการเปิดเออีซี และมีแรงงานต่างชาติมาสมัครงานทางภาคธุรกิจโรงแรม ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ จึงมีมาตรการในการคัดกรองโดยการทดสอบทักษะฝีมือตามมาตรฐานที่สมาคมโรงแรมไทยกำหนดไว้ว่าผ่านหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าแรงงานไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพราะหากมองในเรื่องของการบริการประเทศไทยก็ถือว่าอยู่ในลำดับต้นๆของเอเชียส่วนในเรื่องของภาษาก็สามารถที่จะพัฒนากันได้ โดยเฉพาะ 4 แผนกหลักๆ ได้แก่ แผนกอาหารและเครื่องดื่ม แผนกครัว และแผนกต้อนรับ ซึ่งปัจจุบันภาคธุรกิจโรงแรมไทยก็มีการพัฒนาทั้งทักษะและภาษามาอย่างต่อเนื่อง