วิจัยปัญหาสุราพบเหล้ามีเกร่อ หาดื่มง่าย เป็นปัจจัยสร้างนักดื่มหน้าใหม่เพิ่ม ด้านเกาหลีวิจัยพบคนดื่มเป็นวัฒนธรรม เร่งแก้ถ่ายทอดการดี่ม ชี้ต้องทำให้คนไทยเข้าถึงการบำบัดการติดสุรา
ผศ.ดร.สุรศักดิ์ ไชยสงค์ นักวิจัยสำนักนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรองผู้จัดการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) กล่าวถึง "การควบคุมและจัดการปัญหาจากการบริโภคแอลกอฮอล์" ภายในการประชุมนานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 21 ว่า จากผลสำรวจ International Alcohol Control in Thailand ปี 2555-2556 จากประชาชน 6,260 คนใน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ พิจิตร ชลบุรี ชัยนาท ขอนแก่น มหาสารคาม สุราษฎร์ธานี สตูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างดื่มสุรา 5,817 คน คิดเป็นร้อยละ 92.9 โดยร้อยละ 41 เป็นผู้ที่ดื่มติดต่อกันมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป และ 2 ใน 3 ของผู้ดื่มมักจะดื่มในสถานที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น เทศกาลงานบุญในวัด ใกล้สถานศึกษา โดยมีปัจจัยที่เอื้อต่อการติดเหล้า ได้แก่ ติดนิสัยชอบดื่มบนรถ ร้อยละ 8.1 ซื้อได้ทุกเวลา ร้อยละ 7.2 และหาซื้อได้ง่าย ร้อยละ 6.8 เป็นต้น เหล่านี้เป็นเหตุผลทำให้อัตรานักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชนมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้าน ศ.ดร.ซังซู ชุน ผู้อำนวยการสถาบันจัดการปัญหาสุราแห่งเกาหลีใต้ (Korean Institute of Alcohol Problems : KIAP) กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาการบริโภคแอลกอฮอล์ในประเทศเกาหลีใต้ ว่า จากผลสำรวจจำนวนประชากรที่ดื่มสุราในกลุ่มสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) พบว่า คนเกาหลีใต้มีอัตราการดื่มเหล้า ร้อยละ 17.1 สูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนมากถึง ร้อยละ 32.7 โดยมีสาเหตุหลักมาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนเกาหลีที่นิยมดื่ม โดยมีวัฒนธรรมการสั่งสอนลักษณะนิสัยเพื่อสร้างวัฒนธรรมการดื่มที่ดีภายในครอบครัว จากการถ่ายทอดของรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก ซึ่งร้อยละ 47.9 เห็นด้วยว่าต้องแก้ปัญหานี้
พญ.พันธ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ ผู้จัดการแผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.) กล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่ติดสุรา ว่าที่ผ่านมาการจัดการปัญหาจะตั้งเป้าการรักษาไปที่ผู้ป่วยที่มีอาการติดสุราในระดับรุนแรง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่อยู่บนยอดพีระมิดคือ มีจำนวนน้อยที่สุดในกลุ่มผู้ปัญหาการดื่มสุรา แต่ต้องใช้ทรัพยากรและความสามารถในการดูแลรักษาค่อนข้างสูง ดังนั้น การดูแลคนที่ปัญหาการดื่มสุราควรจะต้องดูแลตั้งแต่เริ่มมีปัญหาหรือคนที่เพิ่งเริ่มติดสุรา ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหานี้ง่ายขึ้น ด้วยการเสริมแนวทางการเลิกดื่มสุราตั้งแต่ยังเพิ่งเริ่มติดสุรา เปลี่ยนจากการรักษาเป็นการบำบัด และสร้างโอกาสการเข้าถึงการรักษาให้ครอบคลุมทุกสถานบริการสุขภาพทั่วประเทศ เพราะพบช่องว่างการเข้าถึงการรักษาโรคติดสุราสูงถึง ร้อยละ 98 นับเป็นภาระโรคอันดับหนึ่งในประเทศไทย
นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หากดูจากตัวอย่างของประเทศเกาหลีใต้ พบว่า ปัญหาแอลกอฮอล์เป็นปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทยโดยมีจำนวนประชากรกว่า 5 ล้านคนที่ประสบปัญหาจากการดื่มสุราและไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษา เนื่องจากสถานการณ์การให้บริการสุขภาพนั้นไม่มีการจัดการกับปัญหานี้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีการพัฒนาอาการติดสุราจากระดับน้อยไปจนถึงขั้นติดสุรารุนแรง ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการแก้ไขปัญหา โดยกลไกสำคัญในการแก้ปัญหา คือ การลงทุนในมาตรการที่ได้ผลและคุ้มค่า และจริงจังในการแก้ปัญหา
ผศ.ดร.สุรศักดิ์ ไชยสงค์ นักวิจัยสำนักนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรองผู้จัดการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) กล่าวถึง "การควบคุมและจัดการปัญหาจากการบริโภคแอลกอฮอล์" ภายในการประชุมนานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 21 ว่า จากผลสำรวจ International Alcohol Control in Thailand ปี 2555-2556 จากประชาชน 6,260 คนใน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ พิจิตร ชลบุรี ชัยนาท ขอนแก่น มหาสารคาม สุราษฎร์ธานี สตูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างดื่มสุรา 5,817 คน คิดเป็นร้อยละ 92.9 โดยร้อยละ 41 เป็นผู้ที่ดื่มติดต่อกันมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป และ 2 ใน 3 ของผู้ดื่มมักจะดื่มในสถานที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น เทศกาลงานบุญในวัด ใกล้สถานศึกษา โดยมีปัจจัยที่เอื้อต่อการติดเหล้า ได้แก่ ติดนิสัยชอบดื่มบนรถ ร้อยละ 8.1 ซื้อได้ทุกเวลา ร้อยละ 7.2 และหาซื้อได้ง่าย ร้อยละ 6.8 เป็นต้น เหล่านี้เป็นเหตุผลทำให้อัตรานักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชนมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้าน ศ.ดร.ซังซู ชุน ผู้อำนวยการสถาบันจัดการปัญหาสุราแห่งเกาหลีใต้ (Korean Institute of Alcohol Problems : KIAP) กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาการบริโภคแอลกอฮอล์ในประเทศเกาหลีใต้ ว่า จากผลสำรวจจำนวนประชากรที่ดื่มสุราในกลุ่มสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) พบว่า คนเกาหลีใต้มีอัตราการดื่มเหล้า ร้อยละ 17.1 สูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนมากถึง ร้อยละ 32.7 โดยมีสาเหตุหลักมาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนเกาหลีที่นิยมดื่ม โดยมีวัฒนธรรมการสั่งสอนลักษณะนิสัยเพื่อสร้างวัฒนธรรมการดื่มที่ดีภายในครอบครัว จากการถ่ายทอดของรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก ซึ่งร้อยละ 47.9 เห็นด้วยว่าต้องแก้ปัญหานี้
พญ.พันธ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ ผู้จัดการแผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.) กล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่ติดสุรา ว่าที่ผ่านมาการจัดการปัญหาจะตั้งเป้าการรักษาไปที่ผู้ป่วยที่มีอาการติดสุราในระดับรุนแรง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่อยู่บนยอดพีระมิดคือ มีจำนวนน้อยที่สุดในกลุ่มผู้ปัญหาการดื่มสุรา แต่ต้องใช้ทรัพยากรและความสามารถในการดูแลรักษาค่อนข้างสูง ดังนั้น การดูแลคนที่ปัญหาการดื่มสุราควรจะต้องดูแลตั้งแต่เริ่มมีปัญหาหรือคนที่เพิ่งเริ่มติดสุรา ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหานี้ง่ายขึ้น ด้วยการเสริมแนวทางการเลิกดื่มสุราตั้งแต่ยังเพิ่งเริ่มติดสุรา เปลี่ยนจากการรักษาเป็นการบำบัด และสร้างโอกาสการเข้าถึงการรักษาให้ครอบคลุมทุกสถานบริการสุขภาพทั่วประเทศ เพราะพบช่องว่างการเข้าถึงการรักษาโรคติดสุราสูงถึง ร้อยละ 98 นับเป็นภาระโรคอันดับหนึ่งในประเทศไทย
นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หากดูจากตัวอย่างของประเทศเกาหลีใต้ พบว่า ปัญหาแอลกอฮอล์เป็นปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทยโดยมีจำนวนประชากรกว่า 5 ล้านคนที่ประสบปัญหาจากการดื่มสุราและไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษา เนื่องจากสถานการณ์การให้บริการสุขภาพนั้นไม่มีการจัดการกับปัญหานี้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีการพัฒนาอาการติดสุราจากระดับน้อยไปจนถึงขั้นติดสุรารุนแรง ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการแก้ไขปัญหา โดยกลไกสำคัญในการแก้ปัญหา คือ การลงทุนในมาตรการที่ได้ผลและคุ้มค่า และจริงจังในการแก้ปัญหา