สธ.สั่งตั้งคณะกรรมการสอบ หลังพบ อภ.บรรจุยาสลับกัน 2 ตัว ในกลุ่มความดัน เผยกระจายไปแล้ว 7 โรงพยาบาล สั่งหยุดผลิต หยุดจ่ายยา เรียกคืนทั้งหมด ซัดอ้างผลิตช่วงกลางคืนไม่ใช่เหตุผลแก้ตัว ป้อง "หมอสุวัช" ผอ.อภ.คนใหม่ หวังไม่ใช่การดิสเครดิต เหตุเป็นล็อตผลิตช่วง มิ.ย.
นพ.ประดิษฐ สินธวรณงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีปัญหาการบรรจุยาขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) สลับกันในกลุ่มยาความดัน ระหว่างยา Isosorbide Dinitrate 10 มิลลิกรัม กับยา Amlodopine 5 มิลลิกรัม และกระจายไปยังโรงพยาบาลสังกัด สธ. ซึ่งเริ่มพบผิดสังเกตที่โรงพยาบาลมะการักษ์ จ.กาญจนบุรี และได้แจ้งมาทาง สธ. ว่า เรื่องนี้เภสัชกรประจำโรงพยาบาลเป็นผู้สังเกตเห็น ตนจึงสั่งการให้หยุดจ่ายยาและเรียกคืน พร้อมให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับ อภ.เร่งตรวจสอบเรื่องนี้ ล่าสุด อภ.ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากอะไร เนื่องจากมีการพูดกันว่าเกิดจากขั้นตอนการผลิตช่วงกลางคืน ซึ่งตนมองว่าไม่ใช่เหตุผล ดังนั้น จึงขอให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฯ และขอให้มีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม เพื่อให้เกิดความโปร่งใสด้วย พร้อมทั้งย้ำว่าเรื่องนี้ห้ามปิดบัง ต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้กับสาธารณชนทราบ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นการดิสเครดิตในช่วงผู้อำนวยการ อภ.เข้ารับตำแหน่งใหม่ด้วยหรือไม่ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า หวังว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหากเป็นจริงก็ดูจะไม่เป็นธรรมกับ นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการ อภ. เพราะช่วงที่มีปัญหาเป็นช่วงประมาณ มิ.ย. ก็ไม่น่าจะใช่ อย่างไรก็ตาม ขอให้มีการตรวจสอบก่อนดีกว่า
ด้าน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย. กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ยาจำนวนนี้กระจายไปแล้วจำนวน 6 แสนเม็ด เป็นยาล็อตหมายเลข F561217 ซึ่งบรรจุผิด โดยเป็นล็อตที่ผลิตและกระจายไปในช่วง ก.ค.ที่ผ่านมา เบื้องต้นกระจายไปโรงพยาบาล 7 แห่ง แต่พบปัญหา 5 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลมะการักษ์ จ.กาญจนบุรี โรงพยาบาลยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ โรงพยาบาลภูเขียว จ.ชัยภูมิ โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี และโรงพยาบาลโคกสำโรง จ.ลพบุรี ซึ่งพบว่า โรงพยาบาลเหล่านี้ได้กระจายยาให้กับผู้ป่วยไปบ้างแล้ว เบื้องต้นได้ประสานโรงพยาบาลหยุดจ่ายยาดังกล่าว และเรียกคืนยาล็อตทั้งหมด พร้อมทั้งตรวจสอบว่ามีผู้ป่วยที่รับยาสลับกันจำนวนเท่าใด
"จากหารือกับ อภ. เบื้องต้นผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงน่าจะสรุปได้ภายในสัปดาห์หน้า ส่วน อย.ได้ตั้งระดับความรุนแรงของปัญหาการผลิตยาครั้งนี้ที่ระดับ 2 ซึ่งยังไม่รุนแรงถึงระดับ 1 โดยระดับ 2 อย.ได้ประสาน อภ.หยุดผลิต หยุดจ่ายยา เรียกคืนยา สอบสวนข้อเท็จจริง และรายงานให้อย.ทราบต่อไป" เลขาธิการ อย. กล่าว
นพ.ประดิษฐ สินธวรณงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีปัญหาการบรรจุยาขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) สลับกันในกลุ่มยาความดัน ระหว่างยา Isosorbide Dinitrate 10 มิลลิกรัม กับยา Amlodopine 5 มิลลิกรัม และกระจายไปยังโรงพยาบาลสังกัด สธ. ซึ่งเริ่มพบผิดสังเกตที่โรงพยาบาลมะการักษ์ จ.กาญจนบุรี และได้แจ้งมาทาง สธ. ว่า เรื่องนี้เภสัชกรประจำโรงพยาบาลเป็นผู้สังเกตเห็น ตนจึงสั่งการให้หยุดจ่ายยาและเรียกคืน พร้อมให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับ อภ.เร่งตรวจสอบเรื่องนี้ ล่าสุด อภ.ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากอะไร เนื่องจากมีการพูดกันว่าเกิดจากขั้นตอนการผลิตช่วงกลางคืน ซึ่งตนมองว่าไม่ใช่เหตุผล ดังนั้น จึงขอให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฯ และขอให้มีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม เพื่อให้เกิดความโปร่งใสด้วย พร้อมทั้งย้ำว่าเรื่องนี้ห้ามปิดบัง ต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้กับสาธารณชนทราบ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นการดิสเครดิตในช่วงผู้อำนวยการ อภ.เข้ารับตำแหน่งใหม่ด้วยหรือไม่ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า หวังว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหากเป็นจริงก็ดูจะไม่เป็นธรรมกับ นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการ อภ. เพราะช่วงที่มีปัญหาเป็นช่วงประมาณ มิ.ย. ก็ไม่น่าจะใช่ อย่างไรก็ตาม ขอให้มีการตรวจสอบก่อนดีกว่า
ด้าน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย. กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ยาจำนวนนี้กระจายไปแล้วจำนวน 6 แสนเม็ด เป็นยาล็อตหมายเลข F561217 ซึ่งบรรจุผิด โดยเป็นล็อตที่ผลิตและกระจายไปในช่วง ก.ค.ที่ผ่านมา เบื้องต้นกระจายไปโรงพยาบาล 7 แห่ง แต่พบปัญหา 5 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลมะการักษ์ จ.กาญจนบุรี โรงพยาบาลยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ โรงพยาบาลภูเขียว จ.ชัยภูมิ โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี และโรงพยาบาลโคกสำโรง จ.ลพบุรี ซึ่งพบว่า โรงพยาบาลเหล่านี้ได้กระจายยาให้กับผู้ป่วยไปบ้างแล้ว เบื้องต้นได้ประสานโรงพยาบาลหยุดจ่ายยาดังกล่าว และเรียกคืนยาล็อตทั้งหมด พร้อมทั้งตรวจสอบว่ามีผู้ป่วยที่รับยาสลับกันจำนวนเท่าใด
"จากหารือกับ อภ. เบื้องต้นผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงน่าจะสรุปได้ภายในสัปดาห์หน้า ส่วน อย.ได้ตั้งระดับความรุนแรงของปัญหาการผลิตยาครั้งนี้ที่ระดับ 2 ซึ่งยังไม่รุนแรงถึงระดับ 1 โดยระดับ 2 อย.ได้ประสาน อภ.หยุดผลิต หยุดจ่ายยา เรียกคืนยา สอบสวนข้อเท็จจริง และรายงานให้อย.ทราบต่อไป" เลขาธิการ อย. กล่าว