ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ จับมือ 5 สมาคมวิชาชีพฯ ย้ำ "สเต็มเซลล์" ใช้รักษาได้เพียง 5 โรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ยันไม่มีรายงานว่าช่วยยืดชีวิต ชะลอความแก่ ความเสื่อมของร่างกาย หวังลดการถูกหลอกรักษา เตือนรักษาไม่ถูกโรคเกิดโทษสารพัด ทั้งหลอดเลือดอุดตัน มะเร็งชนิดรุนแรง และเสียชีวิต
ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวแถลงข่าวเรื่อง "แนวทางการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคทางอายุรกรรม" ร่วมกับสมาคมวิชาชีพด้านอายุรศาสตร์เฉพาะทางของประเทศไทย ด้านโรคระบบประสาทวิทยา โรคผิวหนัง โรคหัวใจ โรคไต และโรคระบบโลหิตวิทยา ว่า แม้หลายประเทศได้ค้นคว้าวิจัยเรื่องเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ (Stem Cell) มาหลายสิบปีแล้ว แต่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ร่วมกับเครือข่ายสมาคมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องขอยืนยันว่า จากองค์ความรู้ที่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น ยังคงจำกัดการรักษาเฉพาะการนำสเต็มเซลล์ที่ได้จากเซลล์ของไขกระดูกของผู้ป่วยเองหรือพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบโลหิตวิทยาบางโรคมาใช้เท่านั้น โดยโรคทางระบบโลหิตวิทยาที่แพทย์สามารถใช้สเต็มเซลล์รักษาและเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้มีเพียง 5 โรคเท่านั้น ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งมัยติเพิลมัยอิโลมา และโรคโลหิตจางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย
"ยังไม่มีผลการศึกษาที่ยืนยันได้ชัดเจนว่า สามารถนำสเต็มเซลล์มารักษาโรคอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถยืดชีวิต ชะลอความเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะ หรือช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยอย่างได้ผลในระยะยาว สำหรับกลุ่มโรคที่รักษาด้วยสเต็มเซลล์ยังไม่ได้ผลชัดเจน ได้แก่ โรคความเสื่อมของอวัยวะจากความชรา หรือจากโรคดั้งเดิมอื่น เช่น ความเสื่อมของสมอง หัวใจ ไต หรืออวัยวะอื่นๆ ของร่ายกาย ปัจจุบันองค์กรวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางต่างๆ ทั่วโลกยังไม่มีการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ไว้ในแนวทางเวชปฏิบัติของแพทย์สำหรับรักษาโรคต่างๆ ยกเว้น โรคทางโลหิตวิทยา 5 โรค ด้วยเหตุนี้การนำสเต็มเซลล์มาใช้รักษาอย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดโทษต่อผู้ป่วยที่ได้รับสเต็มเซลล์ผู้ป่วย" ศ.นพ.เกรียง กล่าว
ศ.นพ.เกรียง กล่าวอีกว่า การนำสเต็มเซลล์มารักษาอย่างไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยอาจเกิดอาการแพ้ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด มีการปนเปื้อนของสารเคมี สารโปรตีนแปลกปลอม เชื้อโรค หรือเซลล์แปลกปลอมในระหว่างกระบวนการเตรียมสเต็มเซลล์ที่ไม่ถูกวิธี และเคยมีรายงานการใช้สเต็มเซลล์อย่างไม่ถูกต้องในผู้ป่วยทั้งคนไทยและต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยเกิดเป็นโรคมะเร็งชนิดร้ายแรงหลังจากเข้ารับการรักษา และส่งผลถึงขั้นเสียชีวิต โดยการนำสเต็มเซลล์มาใช้อย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ เป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะผู้ป่วยมีแนวโน้มในการตั้งความหวังว่าจะเกิดผลดีจากการใช้สเต็มเซลล์เพื่อรักษา ซึ่งมากเกินกว่าที่องค์ความรู้ทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะมีให้ได้ จึงเกิดช่องว่างระหว่างผู้รู้กับผู้ไม่รู้ และระหว่างความหวังของผู้ป่วยที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับความเป็นจริงขององค์ความรู้ในปัจจุบัน จึงเป็นความสำคัญของการใช้สเต็มเซลล์โดยหากปราศจากองค์ความรู้ที่ถูกต้องและมาตรฐานวิชาชีพทางการแพทย์มารองรับ อาจมีผลกระทบต่อหลักของมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณ และอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพผู้ป่วย และไม่เกิดผลดีตามที่คาดหวังได้
ศ.นพ.เกรียง กล่าวด้วยว่า ด้วยเหตุนี้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยจึงร่วม 5 สมาคมวิชาชีพ แสดงจุดยืนร่วมกันว่า ไม่ควรนำสเต็มเซลล์ มาใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ นอกเหนือจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการรักษาโรคทางระบบโลหิตวิทยาจำนวน 5 กลุ่มโรคหากจะนำมาใช้ในมนุษย์ ก็ควรเป็นไปเพื่อการวิจัยที่มีโครงการวิจัยทดลองในมนุษย์ที่รองรับอย่างชัดเจน โดยโครงการวิจัยดังกล่าวต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบรับรองจริยธรรมการวิจัย ในมนุษย์อย่างถูกต้อง และต้องไม่มีการเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดทั้งสิ้นจากผู้ป่วยที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย
ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวแถลงข่าวเรื่อง "แนวทางการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคทางอายุรกรรม" ร่วมกับสมาคมวิชาชีพด้านอายุรศาสตร์เฉพาะทางของประเทศไทย ด้านโรคระบบประสาทวิทยา โรคผิวหนัง โรคหัวใจ โรคไต และโรคระบบโลหิตวิทยา ว่า แม้หลายประเทศได้ค้นคว้าวิจัยเรื่องเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ (Stem Cell) มาหลายสิบปีแล้ว แต่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ร่วมกับเครือข่ายสมาคมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องขอยืนยันว่า จากองค์ความรู้ที่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น ยังคงจำกัดการรักษาเฉพาะการนำสเต็มเซลล์ที่ได้จากเซลล์ของไขกระดูกของผู้ป่วยเองหรือพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบโลหิตวิทยาบางโรคมาใช้เท่านั้น โดยโรคทางระบบโลหิตวิทยาที่แพทย์สามารถใช้สเต็มเซลล์รักษาและเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้มีเพียง 5 โรคเท่านั้น ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งมัยติเพิลมัยอิโลมา และโรคโลหิตจางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย
"ยังไม่มีผลการศึกษาที่ยืนยันได้ชัดเจนว่า สามารถนำสเต็มเซลล์มารักษาโรคอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถยืดชีวิต ชะลอความเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะ หรือช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยอย่างได้ผลในระยะยาว สำหรับกลุ่มโรคที่รักษาด้วยสเต็มเซลล์ยังไม่ได้ผลชัดเจน ได้แก่ โรคความเสื่อมของอวัยวะจากความชรา หรือจากโรคดั้งเดิมอื่น เช่น ความเสื่อมของสมอง หัวใจ ไต หรืออวัยวะอื่นๆ ของร่ายกาย ปัจจุบันองค์กรวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางต่างๆ ทั่วโลกยังไม่มีการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ไว้ในแนวทางเวชปฏิบัติของแพทย์สำหรับรักษาโรคต่างๆ ยกเว้น โรคทางโลหิตวิทยา 5 โรค ด้วยเหตุนี้การนำสเต็มเซลล์มาใช้รักษาอย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดโทษต่อผู้ป่วยที่ได้รับสเต็มเซลล์ผู้ป่วย" ศ.นพ.เกรียง กล่าว
ศ.นพ.เกรียง กล่าวอีกว่า การนำสเต็มเซลล์มารักษาอย่างไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยอาจเกิดอาการแพ้ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด มีการปนเปื้อนของสารเคมี สารโปรตีนแปลกปลอม เชื้อโรค หรือเซลล์แปลกปลอมในระหว่างกระบวนการเตรียมสเต็มเซลล์ที่ไม่ถูกวิธี และเคยมีรายงานการใช้สเต็มเซลล์อย่างไม่ถูกต้องในผู้ป่วยทั้งคนไทยและต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยเกิดเป็นโรคมะเร็งชนิดร้ายแรงหลังจากเข้ารับการรักษา และส่งผลถึงขั้นเสียชีวิต โดยการนำสเต็มเซลล์มาใช้อย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ เป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะผู้ป่วยมีแนวโน้มในการตั้งความหวังว่าจะเกิดผลดีจากการใช้สเต็มเซลล์เพื่อรักษา ซึ่งมากเกินกว่าที่องค์ความรู้ทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะมีให้ได้ จึงเกิดช่องว่างระหว่างผู้รู้กับผู้ไม่รู้ และระหว่างความหวังของผู้ป่วยที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับความเป็นจริงขององค์ความรู้ในปัจจุบัน จึงเป็นความสำคัญของการใช้สเต็มเซลล์โดยหากปราศจากองค์ความรู้ที่ถูกต้องและมาตรฐานวิชาชีพทางการแพทย์มารองรับ อาจมีผลกระทบต่อหลักของมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณ และอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพผู้ป่วย และไม่เกิดผลดีตามที่คาดหวังได้
ศ.นพ.เกรียง กล่าวด้วยว่า ด้วยเหตุนี้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยจึงร่วม 5 สมาคมวิชาชีพ แสดงจุดยืนร่วมกันว่า ไม่ควรนำสเต็มเซลล์ มาใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ นอกเหนือจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการรักษาโรคทางระบบโลหิตวิทยาจำนวน 5 กลุ่มโรคหากจะนำมาใช้ในมนุษย์ ก็ควรเป็นไปเพื่อการวิจัยที่มีโครงการวิจัยทดลองในมนุษย์ที่รองรับอย่างชัดเจน โดยโครงการวิจัยดังกล่าวต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบรับรองจริยธรรมการวิจัย ในมนุษย์อย่างถูกต้อง และต้องไม่มีการเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดทั้งสิ้นจากผู้ป่วยที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย