ครม.ขึ้นภาษีเหล้า สสส.รายได้เพิ่มกว่า 200 ล้านบาท เตรียมหารือใช้งบ คาดส่งเสริมสุขภาพผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำเมา ชมรัฐบาลขึ้นภาษีเป็นเรื่องดี แต่ควรขึ้นภาษีเหล้าขาวด้วย เหตุเป็นแชมป์การดื่มคนไทย แต่ขึ้นภาษีน้อย หวั่นเบียร์แพงหันมาดื่มมากขึ้น แนะขึ้นภาษีไปเลย 10%
วันนี้ (6 ก.ย.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. ให้สัมภาษณ์กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเพิ่มภาษีเหล้าเฉลี่ย 7-15 % หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ สสส.มีรายรับจากภาษีเหล้าเพิ่มขึ้นประมาณ 200 ล้านบาท ว่า คณะกรรมการกองทุน สสส.จะประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการใช้เงินดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด เบื้องต้นจะประชุมภายในสิ้น ก.ย.นี้ โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพผู้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้หญิง และเด็ก แต่ต้องรอการพิจารณาของคณะกรรมการฯก่อน อย่างไรก็ตาม แม้การปรับอัตราภาษีครั้งนี้ถือว่าส่งผลดีในภาพรวม เพราะมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายประเภทปรับราคาสูงขึ้น ทำให้การเข้าถึงยากขึ้น โดยเฉพาะเยาวชน แต่ในส่วนของสุราขาว อยากให้ปรับมากกว่านี้ เพราะที่ผ่านมาแทบไม่เคยขึ้นภาษี และการปรับขึ้นในครั้งนี้ก็ยังน้อย โดยสุราขาวมีดีกรี 40 ดีกรี ราคาเดิมขาย 90 บาท ปรับเพิ่มเป็น 90.92 บาท ถือว่าไม่มากเลย
“ที่ผ่านมาสุราขาวถือเป็นแชมป์ในการดื่มเหล้าของคนไทยกว่า 30% จนปัจจุบันสูสีกับเบียร์ แต่เมื่อขึ้นภาษีครั้งนี้ ทำให้เบียร์มีราคาสูงขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าคนไทยอาจเทไปดื่มสุราขาวก็ได้” ผู้จัดการ สสส.กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี สสส.ถูกโจมตีเรื่องการทุ่มงบโฆษณามากเกินไป ทพ.กฤษดากล่าวว่า องค์การอนามัยโลกระบุว่า การทำ Mass Media สื่อโฆษณา เป็นการรณรงค์ที่ได้ผลทำให้เยาวชนรู้ถึงพิษภัยเหล้ามากขึ้น โดย สสส.ใช้งบแค่ 7% จากงบทั้งหมดหรือประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งไม่มากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของหน่วยงานอื่น พบว่างบประมาณของ สสส.คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของงบประมาณด้านสุขภาพของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 1 ของงบประมาณค่าใช้จ่ายสุขภาพภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 4.5 ของงบประมาณกระทรวงสาธารณสุข และคิดเป็นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เท่านั้น นอกจากนี้ อยากทำความเข้าใจในเรื่องการให้ทุนในการขับเคลื่อนรณรงค์แก่หน่วยงานต่างๆ ว่า มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน มีคณะกรรมการ นักวิชาการในการตัดสิน ไม่ใช่อนุมัติงบผ่านง่ายๆ ซึ่งที่ผ่านมา สสส.พิจารณาทุนโครงการต่างๆ เพียง 10% ส่วนใหญ่ 90% เป็นการทำงานเชิงรุกรณรงค์ในพื้นที่
ผศ.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย จะดื่มเหล้าขาวประมาณ 30% และเบียร์เริ่มอยู่ในอัตราใกล้เคียงกัน ซึ่งในส่วนของเหล้าขาวนั้น พบว่าไม่มีการขยับเพดานภาษีมาเป็นเวลานาน แม้ขณะนี้จะมีการคิดฐานภาษีแบบใหม่ก็ยังทำให้ราคาปรับขึ้นกว่าเดิมไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องปรับในส่วนดังกล่าวเพื่อชดเชยความต่างของภาษีที่ผ่านมา ซึ่งควรปรับประมาณ 10% อย่างไรก็ตาม อัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนและหลังมี สสส. รวมทั้งการใช้มาตรการต่างๆ เช่น เคมเปญงดเหล้าเข้าพรรษา รับน้องปลอดเหล้า หรือ การมี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เห็นได้ชัดเจนว่าอัตราการบริโภคของประชาชนและการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเพื่อการดื่มนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
วันนี้ (6 ก.ย.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. ให้สัมภาษณ์กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเพิ่มภาษีเหล้าเฉลี่ย 7-15 % หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ สสส.มีรายรับจากภาษีเหล้าเพิ่มขึ้นประมาณ 200 ล้านบาท ว่า คณะกรรมการกองทุน สสส.จะประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการใช้เงินดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด เบื้องต้นจะประชุมภายในสิ้น ก.ย.นี้ โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพผู้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้หญิง และเด็ก แต่ต้องรอการพิจารณาของคณะกรรมการฯก่อน อย่างไรก็ตาม แม้การปรับอัตราภาษีครั้งนี้ถือว่าส่งผลดีในภาพรวม เพราะมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายประเภทปรับราคาสูงขึ้น ทำให้การเข้าถึงยากขึ้น โดยเฉพาะเยาวชน แต่ในส่วนของสุราขาว อยากให้ปรับมากกว่านี้ เพราะที่ผ่านมาแทบไม่เคยขึ้นภาษี และการปรับขึ้นในครั้งนี้ก็ยังน้อย โดยสุราขาวมีดีกรี 40 ดีกรี ราคาเดิมขาย 90 บาท ปรับเพิ่มเป็น 90.92 บาท ถือว่าไม่มากเลย
“ที่ผ่านมาสุราขาวถือเป็นแชมป์ในการดื่มเหล้าของคนไทยกว่า 30% จนปัจจุบันสูสีกับเบียร์ แต่เมื่อขึ้นภาษีครั้งนี้ ทำให้เบียร์มีราคาสูงขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าคนไทยอาจเทไปดื่มสุราขาวก็ได้” ผู้จัดการ สสส.กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี สสส.ถูกโจมตีเรื่องการทุ่มงบโฆษณามากเกินไป ทพ.กฤษดากล่าวว่า องค์การอนามัยโลกระบุว่า การทำ Mass Media สื่อโฆษณา เป็นการรณรงค์ที่ได้ผลทำให้เยาวชนรู้ถึงพิษภัยเหล้ามากขึ้น โดย สสส.ใช้งบแค่ 7% จากงบทั้งหมดหรือประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งไม่มากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของหน่วยงานอื่น พบว่างบประมาณของ สสส.คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของงบประมาณด้านสุขภาพของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 1 ของงบประมาณค่าใช้จ่ายสุขภาพภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 4.5 ของงบประมาณกระทรวงสาธารณสุข และคิดเป็นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เท่านั้น นอกจากนี้ อยากทำความเข้าใจในเรื่องการให้ทุนในการขับเคลื่อนรณรงค์แก่หน่วยงานต่างๆ ว่า มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน มีคณะกรรมการ นักวิชาการในการตัดสิน ไม่ใช่อนุมัติงบผ่านง่ายๆ ซึ่งที่ผ่านมา สสส.พิจารณาทุนโครงการต่างๆ เพียง 10% ส่วนใหญ่ 90% เป็นการทำงานเชิงรุกรณรงค์ในพื้นที่
ผศ.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย จะดื่มเหล้าขาวประมาณ 30% และเบียร์เริ่มอยู่ในอัตราใกล้เคียงกัน ซึ่งในส่วนของเหล้าขาวนั้น พบว่าไม่มีการขยับเพดานภาษีมาเป็นเวลานาน แม้ขณะนี้จะมีการคิดฐานภาษีแบบใหม่ก็ยังทำให้ราคาปรับขึ้นกว่าเดิมไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องปรับในส่วนดังกล่าวเพื่อชดเชยความต่างของภาษีที่ผ่านมา ซึ่งควรปรับประมาณ 10% อย่างไรก็ตาม อัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนและหลังมี สสส. รวมทั้งการใช้มาตรการต่างๆ เช่น เคมเปญงดเหล้าเข้าพรรษา รับน้องปลอดเหล้า หรือ การมี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เห็นได้ชัดเจนว่าอัตราการบริโภคของประชาชนและการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเพื่อการดื่มนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ