ระยะเวลา 10 ปี เป็นเวลาที่ไม่มาก แต่ก็ไม่น้อย แต่สำหรับองค์กรหนึ่งที่ตั้งอยู่และทำงานเพื่อสุขภาพของประชาชนมาได้นานเช่นนี้ถือว่าไม่ธรรมดา องค์กรที่ว่าก็คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือที่ร้จักกันดีในนาม “สสส.”
นับตั้งแต่ตั้ง สสส.ขึ้นมา เห็นได้ชัดว่ามีผลงานการสร้างเสริมสุขภาพที่เข้าตา และติดอยู่ในจิตใจของประชาชนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นรับน้องปลอดเหล้า งดเหล้าเข้าพรรษา ไม่เมา ไม่ขับ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงเฉพาะแต่เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น โปรเจกต์ต่างๆ สุขภาพอื่นๆ ก็มีไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุหรี่ อุบัติเหตุ สุขภาวะในที่ทำงาน และนวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ ที่มีเป้าเพื่อชนกับโรคที่เกิดจากพฤติกรรม จนทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ
นอกจาก สสส.แล้ว ในเวทีระดับโลกก็เห็นเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นงานสาธารณสุขที่สำคัญเช่นกัน โดยล่าสุดในงานประชุมนานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 21 (The 21th IUHPE World Conference on Health Promotion 2013) ซึ่งประเทศไทย โดย สสส.ได้รับคัดเลือกจากสมาพันธ์นานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการศึกษา (IUHPE) ให้เป็นเจ้าภาพการประชุมภายใต้หัวข้อ “การลงทุนที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพ” ระหว่างวันที่ 25-29 ส.ค.2556 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 2,000 คน จากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ณ ศูนย์การประชุมพีช พัทยา จ.ชลบุรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการกองทุน สสส.ได้กล่าวเปิดการประชุมว่า
“แม้การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร การขยายตัวของเมือง และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะช่วยให้มนุษย์มีสุขภาพดีขึ้น แต่ก็ส่งผลเชิงลบต่อสุขภาพได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพสามารถเกิดขึ้นได้ในประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ไม่ออกกำลังกาย การบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงจำเป็นต้องหาทางออกและแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี เพราะประชาชนมีสุขภาพดีจะเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานของความเจริญทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมของประเทศ”
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนทางด้านสาธารณสุข ซึ่งผลการวิจัยก็พบว่าการลงทุนด้านอุบัติเหตุของ สสส.1 บาท สามารถคืนกำไรให้แก่สังคมได้ถึง 130 บาท ทำให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของการลงทุนมากขึ้น ซึ่งนายกิตติรัตน์ ก็ระบุว่า รัฐบาลเองก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านสาธารณสุขและการสร้างเสริมสุขภาพเช่นกัน เพราะถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะสร้างความมั่นคงของการพัฒนาประเทศ
“การลงทุนในระบบสาธารณสุขเป็นองค์ประกอบสำคัญของการปฏิรูประบบสาธารณสุขในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยประเทศไทยถือเป็นหนึ่งที่ประสบความสำเร็จด้านงานสาธารณสุขตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) ที่ได้ริเริ่มปฏิรูปและพัฒนาระบบสาธารณสุขมาตั้งแต่ 10 ปีแล้ว โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทย ซึ่งการก่อตั้ง สสส.ถือเป็นความสำเร็จหนึ่งในกลไกสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพที่มีความสำคัญของไทย โดยมีการประเมินการทำงานจากผู้เชี่ยวชาญระดับสากลว่า สามารถขับเคลื่อนงานได้บรรลุเป้าหมาย เป็นองค์กรนวัตกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพที่ทำงานกับทุกภาคส่วนในสังคมจากรากหญ้าถึงระดับชาติให้มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างครอบคลุม 99% ของประชากรไทย”
เมื่อรองนายกฯออกมาการันตีเช่นนี้แล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่า บทบาทของ สสส.มีความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของคนไทย และมีผลต่อเนื่องให้ประชาชนมีศักยภาพพร้อมในการขับเคลื่อนประเทศให้เจริญต่อไป แน่ชัดได้ว่าข่าวคราวการการยุบรวมองค์กรตระกูล ส ไม่ว่าจะเป็น สสส. สวรส. สช. หรือ สปสช.คงเป็นไปได้ยาก และเชื่อได้ว่าต่อไปอนาคตของ สสส.คงมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจนขึ้นภายหลังจากการประชุมในครั้งนี้
นับตั้งแต่ตั้ง สสส.ขึ้นมา เห็นได้ชัดว่ามีผลงานการสร้างเสริมสุขภาพที่เข้าตา และติดอยู่ในจิตใจของประชาชนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นรับน้องปลอดเหล้า งดเหล้าเข้าพรรษา ไม่เมา ไม่ขับ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงเฉพาะแต่เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น โปรเจกต์ต่างๆ สุขภาพอื่นๆ ก็มีไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุหรี่ อุบัติเหตุ สุขภาวะในที่ทำงาน และนวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ ที่มีเป้าเพื่อชนกับโรคที่เกิดจากพฤติกรรม จนทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ
นอกจาก สสส.แล้ว ในเวทีระดับโลกก็เห็นเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นงานสาธารณสุขที่สำคัญเช่นกัน โดยล่าสุดในงานประชุมนานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 21 (The 21th IUHPE World Conference on Health Promotion 2013) ซึ่งประเทศไทย โดย สสส.ได้รับคัดเลือกจากสมาพันธ์นานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการศึกษา (IUHPE) ให้เป็นเจ้าภาพการประชุมภายใต้หัวข้อ “การลงทุนที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพ” ระหว่างวันที่ 25-29 ส.ค.2556 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 2,000 คน จากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ณ ศูนย์การประชุมพีช พัทยา จ.ชลบุรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการกองทุน สสส.ได้กล่าวเปิดการประชุมว่า
“แม้การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร การขยายตัวของเมือง และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะช่วยให้มนุษย์มีสุขภาพดีขึ้น แต่ก็ส่งผลเชิงลบต่อสุขภาพได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพสามารถเกิดขึ้นได้ในประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ไม่ออกกำลังกาย การบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงจำเป็นต้องหาทางออกและแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี เพราะประชาชนมีสุขภาพดีจะเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานของความเจริญทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมของประเทศ”
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนทางด้านสาธารณสุข ซึ่งผลการวิจัยก็พบว่าการลงทุนด้านอุบัติเหตุของ สสส.1 บาท สามารถคืนกำไรให้แก่สังคมได้ถึง 130 บาท ทำให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของการลงทุนมากขึ้น ซึ่งนายกิตติรัตน์ ก็ระบุว่า รัฐบาลเองก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านสาธารณสุขและการสร้างเสริมสุขภาพเช่นกัน เพราะถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะสร้างความมั่นคงของการพัฒนาประเทศ
“การลงทุนในระบบสาธารณสุขเป็นองค์ประกอบสำคัญของการปฏิรูประบบสาธารณสุขในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยประเทศไทยถือเป็นหนึ่งที่ประสบความสำเร็จด้านงานสาธารณสุขตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) ที่ได้ริเริ่มปฏิรูปและพัฒนาระบบสาธารณสุขมาตั้งแต่ 10 ปีแล้ว โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทย ซึ่งการก่อตั้ง สสส.ถือเป็นความสำเร็จหนึ่งในกลไกสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพที่มีความสำคัญของไทย โดยมีการประเมินการทำงานจากผู้เชี่ยวชาญระดับสากลว่า สามารถขับเคลื่อนงานได้บรรลุเป้าหมาย เป็นองค์กรนวัตกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพที่ทำงานกับทุกภาคส่วนในสังคมจากรากหญ้าถึงระดับชาติให้มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างครอบคลุม 99% ของประชากรไทย”
เมื่อรองนายกฯออกมาการันตีเช่นนี้แล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่า บทบาทของ สสส.มีความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของคนไทย และมีผลต่อเนื่องให้ประชาชนมีศักยภาพพร้อมในการขับเคลื่อนประเทศให้เจริญต่อไป แน่ชัดได้ว่าข่าวคราวการการยุบรวมองค์กรตระกูล ส ไม่ว่าจะเป็น สสส. สวรส. สช. หรือ สปสช.คงเป็นไปได้ยาก และเชื่อได้ว่าต่อไปอนาคตของ สสส.คงมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจนขึ้นภายหลังจากการประชุมในครั้งนี้