สปสช.จับมือ สธ.พัฒนาเครือข่ายดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ช่วยผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา ลดรอคิวฉายแสงและเคมีบำบัด ชูเขต 10 อุบลฯ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร จัดเครือข่ายดูแลผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาเร็วดูแลรักษาครบวงจรในเขต ลดระยะเวลารอคิว ช่วยผู้ป่วยได้รักษาเร็วขึ้น
วันนี้ (29 ส.ค.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังนำคณะสื่อมวลชนศึกษาดูงานการจัดระบบบริการสาธารณสุขเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี และโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ จ.อุบลราชธานี พร้อมความร่วมมือกับเทศบาลเมืองศรีสะเกษในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทยมาตั้งแต่ปี 2542 ในปี 2554 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง 61,082 คน ไทยพบผู้ป่วยมะเร็งประมาณ 150 คนต่อประชากรแสนคน มะเร็งที่พบบ่อยในเพศชาย คือ มะเร็งตับ และมะเร็งปอด ในเพศหญิง คือ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับ ขณะที่องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ประเทศไทยในปี 2563 หรืออีก 7 ปี จะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 148,729 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็ง 95,804 ราย และอีก 17 ปี หรือปี 2573 จะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 176,301 คน และมีผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิต 120,689 คน ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษา สปสช.ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พัฒนาเครือข่ายโรคมะเร็ง เชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลเพื่อรักษาใกล้บ้านผู้ป่วยมากที่สุด ตั้งแต่การคัดกรอง วินิจฉัยเบื้องต้น ส่งต่อ และการดูแลพักฟื้นเยียวยาระยะสุดท้าย
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้ารับบริการโรคมะเร็งในทุกจังหวัด โดยเฉพาะเคมีบำบัด มีอัตราการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร้อยละ 90 สำหรับรังสีรักษาสามารถส่งต่อและรอคอยการรักษาไม่เกิน 2 เดือน มีโรงพยาบาลระดับตติยภูมิด้านโรคมะเร็งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 35 แห่งครอบคลุมทั่วประเทศ โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหามะเร็งที่สำคัญ คือ มะเร็งท่อน้ำดี มีผู้ป่วยประมาณ 10,000 รายในแต่ละปี แต่สามารถให้การผ่าตัดได้เพียง 300 คนต่อปี เนื่องจากผู้ป่วย 1 รายใช้เวลาผ่าตัด 8 ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้การจัดเครือข่ายดูแลผู้ป่วยมะเร็งจึงมีความจำเป็น เพราะจะทำให้นำทรัพยากร และจุดแข็งของแต่ละรพ.มาเสริมแรงกันได้ ดังเช่นที่การดำเนินงานของเขต 10 ที่มี รพ.สรรพสิทธิประสงค์ และ รพ.มะเร็งอุบลราชธานี เป็นรพ.ระดับตติยภูมิขั้นสูงเป็นแม่ข่ายร่วมกับรพ.ระดับอื่นในเขต
พญ.กนกวรรณ มิ่งขวัญ แพทย์ผู้ชำนาญการพิเศษ รพ.โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กล่าวว่า อุบลราชธานีอยู่ในเขตบริการสุขภาพที่ 10 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร) จากการวิเคราะห์อัตราการเสียชีวิตพบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง โดยพบมากคือมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากอัตราตาย 33.54 รายต่อแสนประชากรในปี 2550 เพิ่มเป็น 42.86 รายต่อแสนประชากรในปี 2553 ดังนั้นการจัดเครือข่ายดูแลผู้ป่วยมะเร็งในระดับจังหวัดและระดับเขตจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งในเขต 10 นี้ มีรพ.สรรพสิทธิประสงค์ และรพ.มะเร็งอุบลราชธานี เป็น รพ.แม่ข่าย
พญ.กนกวรรณ กล่าวต่อว่า การรักษาแต่ละราย มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูง เครื่องมือและยาราคาแพง ใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง รพ.สรรพสิทธิประสงค์ มีความพร้อมด้านการผ่าตัด เคมีบำบัด เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ส่วน รพ.มะเร็งอุบลราชธานี มีความพร้อมด้านเคมีบำบัด รังสีรักษา การรักษาประคับประคอง และการผ่าตัดบางโรค ดังนั้นเพื่อให้การรักษาครบถ้วนแล้วเสร็จภายในเขต จึงต้องอาศัยความร่วมมือการส่งต่อระหว่าง รพ.ให้บริการแก่ผู้ป่วยในส่วนที่ขาด โดยได้จัดตั้งเป็นเครือข่ายบริการด้านโรคมะเร็งครอบคลุมทั้งในจังหวัดตั้งแต่ปี 2547 และขยายในระดับเขตอีก 4 จังหวัด ผลการดำเนินงานพบว่าสามารถลดการส่งต่อผู้ป่วยนอกเขตลงได้ จากที่ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ เคยส่งต่อนอกเขต 89 รายในปี 2554 ลดลงเหลือ 55 รายในปี 2555 และลดระยะเวลารอคอยการผ่าตัดจาก 7-14 วัน เหลือ 2-3 วัน โดยนำผู้ป่วยจาก รพ.สรรพสิทธิประสงค์ ไปผ่าที่ รพ.มะเร็งอุบลฯช่วยลดความแออัดใน รพ.และผู้ป่วย
นพ.พงศธร ศุภอรรถกร โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง รพ.สรรพสิทธิประสงค์ นำผู้ป่วยและตามไปผ่าตัดที่ รพ.มะเร็งอุบลราชธานี ทำให้ลดระยะเวลารอคอยผ่าตัดจาก 7-14 วัน เหลือ 2-3 วัน ลดความแออัดที่ รพ.ศูนย์สรรพสิทธิประสงค์ (จำนวนผู้ป่วยผ่าตัด 1 ม.ค.56 - 30มิ.ย.56 เท่ากับ 30 ราย) ผู้ป่วยสามารถเลือกผ่าตัดมะเร็งบางโรค เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ ใน รพ.ใกล้บ้าน ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนมารับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาที่ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ หรือ รพ.มะเร็งอุบลฯได้
นายแพทย์พงศธร กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นยังมีระบบส่งต่อเพื่อรับรังสีรักษาโดยผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินด้านมะเร็งได้รับการฉายรังสี ภายใน 1-3 วัน การรักษาด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ มีระบบ fast tract หรือช่องทางด่วนลดระยะเวลารอคอย จากเดิม 1 เดือน ลดเหลือ 7 ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มีระบบส่งต่อเพื่อการดูแลประคับประคองใกล้บ้าน ทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป-กลับมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปี 2555 มีผู้ป่วยมะเร็งรักษาแบบประคับประคองประมาณ 900 ราย และมีการประสานความร่วมมือดูแลผู้ป่วยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เช่น การส่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายกลับบ้านโดยรถขององค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (โครงการพาคนรักกลับบ้าน) และประสานตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีร่วมกับเทศบาลเมืองศรีสะเกษ เพื่อค้นหาผู้ป่วยและให้การรักษาแต่ระยะเริ่มต้นก่อนจะลุกลามรักษายากและส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย
วันนี้ (29 ส.ค.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังนำคณะสื่อมวลชนศึกษาดูงานการจัดระบบบริการสาธารณสุขเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี และโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ จ.อุบลราชธานี พร้อมความร่วมมือกับเทศบาลเมืองศรีสะเกษในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทยมาตั้งแต่ปี 2542 ในปี 2554 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง 61,082 คน ไทยพบผู้ป่วยมะเร็งประมาณ 150 คนต่อประชากรแสนคน มะเร็งที่พบบ่อยในเพศชาย คือ มะเร็งตับ และมะเร็งปอด ในเพศหญิง คือ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับ ขณะที่องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ประเทศไทยในปี 2563 หรืออีก 7 ปี จะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 148,729 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็ง 95,804 ราย และอีก 17 ปี หรือปี 2573 จะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 176,301 คน และมีผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิต 120,689 คน ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษา สปสช.ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พัฒนาเครือข่ายโรคมะเร็ง เชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลเพื่อรักษาใกล้บ้านผู้ป่วยมากที่สุด ตั้งแต่การคัดกรอง วินิจฉัยเบื้องต้น ส่งต่อ และการดูแลพักฟื้นเยียวยาระยะสุดท้าย
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้ารับบริการโรคมะเร็งในทุกจังหวัด โดยเฉพาะเคมีบำบัด มีอัตราการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร้อยละ 90 สำหรับรังสีรักษาสามารถส่งต่อและรอคอยการรักษาไม่เกิน 2 เดือน มีโรงพยาบาลระดับตติยภูมิด้านโรคมะเร็งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 35 แห่งครอบคลุมทั่วประเทศ โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหามะเร็งที่สำคัญ คือ มะเร็งท่อน้ำดี มีผู้ป่วยประมาณ 10,000 รายในแต่ละปี แต่สามารถให้การผ่าตัดได้เพียง 300 คนต่อปี เนื่องจากผู้ป่วย 1 รายใช้เวลาผ่าตัด 8 ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้การจัดเครือข่ายดูแลผู้ป่วยมะเร็งจึงมีความจำเป็น เพราะจะทำให้นำทรัพยากร และจุดแข็งของแต่ละรพ.มาเสริมแรงกันได้ ดังเช่นที่การดำเนินงานของเขต 10 ที่มี รพ.สรรพสิทธิประสงค์ และ รพ.มะเร็งอุบลราชธานี เป็นรพ.ระดับตติยภูมิขั้นสูงเป็นแม่ข่ายร่วมกับรพ.ระดับอื่นในเขต
พญ.กนกวรรณ มิ่งขวัญ แพทย์ผู้ชำนาญการพิเศษ รพ.โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กล่าวว่า อุบลราชธานีอยู่ในเขตบริการสุขภาพที่ 10 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร) จากการวิเคราะห์อัตราการเสียชีวิตพบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง โดยพบมากคือมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากอัตราตาย 33.54 รายต่อแสนประชากรในปี 2550 เพิ่มเป็น 42.86 รายต่อแสนประชากรในปี 2553 ดังนั้นการจัดเครือข่ายดูแลผู้ป่วยมะเร็งในระดับจังหวัดและระดับเขตจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งในเขต 10 นี้ มีรพ.สรรพสิทธิประสงค์ และรพ.มะเร็งอุบลราชธานี เป็น รพ.แม่ข่าย
พญ.กนกวรรณ กล่าวต่อว่า การรักษาแต่ละราย มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูง เครื่องมือและยาราคาแพง ใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง รพ.สรรพสิทธิประสงค์ มีความพร้อมด้านการผ่าตัด เคมีบำบัด เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ส่วน รพ.มะเร็งอุบลราชธานี มีความพร้อมด้านเคมีบำบัด รังสีรักษา การรักษาประคับประคอง และการผ่าตัดบางโรค ดังนั้นเพื่อให้การรักษาครบถ้วนแล้วเสร็จภายในเขต จึงต้องอาศัยความร่วมมือการส่งต่อระหว่าง รพ.ให้บริการแก่ผู้ป่วยในส่วนที่ขาด โดยได้จัดตั้งเป็นเครือข่ายบริการด้านโรคมะเร็งครอบคลุมทั้งในจังหวัดตั้งแต่ปี 2547 และขยายในระดับเขตอีก 4 จังหวัด ผลการดำเนินงานพบว่าสามารถลดการส่งต่อผู้ป่วยนอกเขตลงได้ จากที่ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ เคยส่งต่อนอกเขต 89 รายในปี 2554 ลดลงเหลือ 55 รายในปี 2555 และลดระยะเวลารอคอยการผ่าตัดจาก 7-14 วัน เหลือ 2-3 วัน โดยนำผู้ป่วยจาก รพ.สรรพสิทธิประสงค์ ไปผ่าที่ รพ.มะเร็งอุบลฯช่วยลดความแออัดใน รพ.และผู้ป่วย
นพ.พงศธร ศุภอรรถกร โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง รพ.สรรพสิทธิประสงค์ นำผู้ป่วยและตามไปผ่าตัดที่ รพ.มะเร็งอุบลราชธานี ทำให้ลดระยะเวลารอคอยผ่าตัดจาก 7-14 วัน เหลือ 2-3 วัน ลดความแออัดที่ รพ.ศูนย์สรรพสิทธิประสงค์ (จำนวนผู้ป่วยผ่าตัด 1 ม.ค.56 - 30มิ.ย.56 เท่ากับ 30 ราย) ผู้ป่วยสามารถเลือกผ่าตัดมะเร็งบางโรค เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ ใน รพ.ใกล้บ้าน ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนมารับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาที่ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ หรือ รพ.มะเร็งอุบลฯได้
นายแพทย์พงศธร กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นยังมีระบบส่งต่อเพื่อรับรังสีรักษาโดยผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินด้านมะเร็งได้รับการฉายรังสี ภายใน 1-3 วัน การรักษาด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ มีระบบ fast tract หรือช่องทางด่วนลดระยะเวลารอคอย จากเดิม 1 เดือน ลดเหลือ 7 ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มีระบบส่งต่อเพื่อการดูแลประคับประคองใกล้บ้าน ทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป-กลับมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปี 2555 มีผู้ป่วยมะเร็งรักษาแบบประคับประคองประมาณ 900 ราย และมีการประสานความร่วมมือดูแลผู้ป่วยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เช่น การส่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายกลับบ้านโดยรถขององค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (โครงการพาคนรักกลับบ้าน) และประสานตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีร่วมกับเทศบาลเมืองศรีสะเกษ เพื่อค้นหาผู้ป่วยและให้การรักษาแต่ระยะเริ่มต้นก่อนจะลุกลามรักษายากและส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย