หมอวิทิตพร้อมทนายความและกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เตรียมเดินทางไปศาลปกครองเช้าวันที่ 26 สค. 2556 ยื่นเอกสารคำชี้แจงเพิ่มเติมขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองให้ยกเลิกมติ ครม.ที่ให้เลิกจ้าง โต้มติบอร์ดองค์การเภสัชกรรมทุกประเด็น
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล อดีต ผอ.องค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า จำเป็นต้องยื่นฟ้องเพื่อขอความยุติธรรมจากศาลปกครอง และเพื่อปกป้องความมั่นคงของระบบยาของประเทศ ไม่ให้ถูกครอบงำโดยผู้มีอำนาจที่มีเจตนาเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจยาข้ามชาติ และธุรกิจเอกชน รวมทั้งปกป้องการแสวงหาประโยชน์ของนักการเมืองจากองค์การเภสัชกรรมที่เป็นรัฐวิสาหกิจมูลค่าขายปีละหมื่นกว่าล้านบาท
“การบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือขององค์การเภสัชกรรม และสร้างความวุ่นวายในการบริหารงานภายใน เป็นเวลาต่อเนื่องกว่าครึ่งปีที่ผ่านมาของผู้มีอำนาจทางการเมืองและอดีตข้าราชการเกษียณที่ขายวิญญาณพร้อมทำตามใบสั่งโดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่จะกระทบต่อผู้ป่วย และต่อระบบยาของประเทศ กำลังส่งผลทำให้โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนที่เป็นความมั่นคงของประเทศหยุดชะงัก ทำให้ยอดขายโดยรวมขององค์การเภสัชกรรมปีนี้และปีหน้ามีแนวโน้มถดถอย วัคซีนที่มีความจำเป็นในการป้องกันโรคของเด็กและประชาชนกลุ่มอายุต่างๆ รวมทั้งยาที่สำคัญที่องค์การเภสัชกรรมจัดหาให้กับ สปสช.เริ่มมีปัญหาการจัดหา มีความเสี่ยงกับการขาดแคลน โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจหลายหมื่นคน กำลังมีความเสี่ยงขาดแคลน โดยไม่มีผู้บริหารคนใดกล้าตัดสินใจดำเนินการ เพราะมีไอ้โม้งที่มีอำนาจทางการเมืองคอยสั่งการกำกับสั่งการอยู่ข้างหลัง” อดีต ผอ.องค์การเภสัชกรรมกล่าว
แหล่งข่าวจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่าขณะนี้องค์การเภสัชกรรม กำลังถูกฝูงเหลือบเข้าแสวงหาประโยชน์ มีการเสนอแต่งตั้ง ผอ.คนใหม่ที่ไม่เคยมีผลงานด้านบริหารโดดเด่น เติบโตมาจากจังหวัดสระแก้ว คนในกระทรวงเรียกมิสเตอร์เยส
“เร็วๆ นี้ มีการแต่งตั้งผู้ใกล้ชิดนักการเมืองหลายคนเป็นบอร์ดองค์การเภสัชกรรม เพิ่มเติม และเมื่อวันที่ 29 ก.ค.2556 ที่เพิ่งผ่านมา บอร์ดองค์การเภสัชกรรม ก็เพิ่งมีมติเพิ่มค่าตอบแทนและเบี้ยประชุมให้พวกตนเองมากขึ้นเป็นสามเท่าตัว ตั้งเป้าให้ทุกคนได้อย่างน้อยคนละสามหมื่นบาทต่อเดือน โดยอ้างว่ามติ ครม.เปิดช่องให้ทำได้ สร้างความไม่พอใจให้กับ จนท.องค์การเภสัชกรรม อย่างมาก” แหล่งข่าวกล่าว
ด้านกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ นำโดย น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา กล่าวว่าทางกลุ่มกำลังจับตาบทบาทองค์การเภสัชกรรม ที่กำลังเปลี่ยนไปภายในการสั่งการของผู้มีอำนาจทางการเมืองว่าจะทำให้ระบบยาของประเทศ รวมทั้งการจัดหายาละลายลิ่มเลือด ยาโรคเอดส์ และยามะเร็ง ราคาต่ำที่องค์การเภสัชกรรม เคยดำเนินการภายใต้มาตรการบังคับสิทธิโดยรัฐหรือที่เรียกว่า CL จะถูกยกเลิกด้วยการลดบทบาทความเข้มแข็งขององค์การเภสัชกรรมลง
“ได้ข่าวว่ายาละลายลิ่มเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจกำลังถูกไอ้โม้งกำกับให้ขาดตลาด เพื่อให้องค์การเภสัชกรรม ต้องกลับไปจัดหายาราคาสูงเท่ากับก่อนทำ CL ทำให้ สปสช.ต้องเพิ่มงบประมาณอีกปีละหลายร้อยล้านบาท และบริษัทยาเอกชนได้ประโยชน์” น.ส.สุรีรัตน์ กล่าว
น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวต่อว่า เวลา 11.00 น.วันที่ 26 ส.ค.ทางกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพจะไปร่วมให้กำลังใจหมอวิทิต ที่ศาลปกครอง และตอนบ่ายจะแถลงข่าวถึงปัญหาความถดถอยของระบบหลักประกันสุขภาพและการปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข ในยุคสมัยที่มี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็นรัฐมนตรี
คดีนี้หมอวิทิตได้ยื่นฟ้อง ครม.และ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม ต่อศาลปกครอง เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 ตามคดีหมายเลขดำที่ 1421 /2556 และ องค์การเภสัชกรรม ได้ยื่นเอกสารชี้แจงตามคำสั่งศาลปกครองเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2556 คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลเพื่อออกคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองและบรรเทาทุกข์ชั่วคราว
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล อดีต ผอ.องค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า จำเป็นต้องยื่นฟ้องเพื่อขอความยุติธรรมจากศาลปกครอง และเพื่อปกป้องความมั่นคงของระบบยาของประเทศ ไม่ให้ถูกครอบงำโดยผู้มีอำนาจที่มีเจตนาเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจยาข้ามชาติ และธุรกิจเอกชน รวมทั้งปกป้องการแสวงหาประโยชน์ของนักการเมืองจากองค์การเภสัชกรรมที่เป็นรัฐวิสาหกิจมูลค่าขายปีละหมื่นกว่าล้านบาท
“การบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือขององค์การเภสัชกรรม และสร้างความวุ่นวายในการบริหารงานภายใน เป็นเวลาต่อเนื่องกว่าครึ่งปีที่ผ่านมาของผู้มีอำนาจทางการเมืองและอดีตข้าราชการเกษียณที่ขายวิญญาณพร้อมทำตามใบสั่งโดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่จะกระทบต่อผู้ป่วย และต่อระบบยาของประเทศ กำลังส่งผลทำให้โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนที่เป็นความมั่นคงของประเทศหยุดชะงัก ทำให้ยอดขายโดยรวมขององค์การเภสัชกรรมปีนี้และปีหน้ามีแนวโน้มถดถอย วัคซีนที่มีความจำเป็นในการป้องกันโรคของเด็กและประชาชนกลุ่มอายุต่างๆ รวมทั้งยาที่สำคัญที่องค์การเภสัชกรรมจัดหาให้กับ สปสช.เริ่มมีปัญหาการจัดหา มีความเสี่ยงกับการขาดแคลน โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจหลายหมื่นคน กำลังมีความเสี่ยงขาดแคลน โดยไม่มีผู้บริหารคนใดกล้าตัดสินใจดำเนินการ เพราะมีไอ้โม้งที่มีอำนาจทางการเมืองคอยสั่งการกำกับสั่งการอยู่ข้างหลัง” อดีต ผอ.องค์การเภสัชกรรมกล่าว
แหล่งข่าวจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่าขณะนี้องค์การเภสัชกรรม กำลังถูกฝูงเหลือบเข้าแสวงหาประโยชน์ มีการเสนอแต่งตั้ง ผอ.คนใหม่ที่ไม่เคยมีผลงานด้านบริหารโดดเด่น เติบโตมาจากจังหวัดสระแก้ว คนในกระทรวงเรียกมิสเตอร์เยส
“เร็วๆ นี้ มีการแต่งตั้งผู้ใกล้ชิดนักการเมืองหลายคนเป็นบอร์ดองค์การเภสัชกรรม เพิ่มเติม และเมื่อวันที่ 29 ก.ค.2556 ที่เพิ่งผ่านมา บอร์ดองค์การเภสัชกรรม ก็เพิ่งมีมติเพิ่มค่าตอบแทนและเบี้ยประชุมให้พวกตนเองมากขึ้นเป็นสามเท่าตัว ตั้งเป้าให้ทุกคนได้อย่างน้อยคนละสามหมื่นบาทต่อเดือน โดยอ้างว่ามติ ครม.เปิดช่องให้ทำได้ สร้างความไม่พอใจให้กับ จนท.องค์การเภสัชกรรม อย่างมาก” แหล่งข่าวกล่าว
ด้านกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ นำโดย น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา กล่าวว่าทางกลุ่มกำลังจับตาบทบาทองค์การเภสัชกรรม ที่กำลังเปลี่ยนไปภายในการสั่งการของผู้มีอำนาจทางการเมืองว่าจะทำให้ระบบยาของประเทศ รวมทั้งการจัดหายาละลายลิ่มเลือด ยาโรคเอดส์ และยามะเร็ง ราคาต่ำที่องค์การเภสัชกรรม เคยดำเนินการภายใต้มาตรการบังคับสิทธิโดยรัฐหรือที่เรียกว่า CL จะถูกยกเลิกด้วยการลดบทบาทความเข้มแข็งขององค์การเภสัชกรรมลง
“ได้ข่าวว่ายาละลายลิ่มเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจกำลังถูกไอ้โม้งกำกับให้ขาดตลาด เพื่อให้องค์การเภสัชกรรม ต้องกลับไปจัดหายาราคาสูงเท่ากับก่อนทำ CL ทำให้ สปสช.ต้องเพิ่มงบประมาณอีกปีละหลายร้อยล้านบาท และบริษัทยาเอกชนได้ประโยชน์” น.ส.สุรีรัตน์ กล่าว
น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวต่อว่า เวลา 11.00 น.วันที่ 26 ส.ค.ทางกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพจะไปร่วมให้กำลังใจหมอวิทิต ที่ศาลปกครอง และตอนบ่ายจะแถลงข่าวถึงปัญหาความถดถอยของระบบหลักประกันสุขภาพและการปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข ในยุคสมัยที่มี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็นรัฐมนตรี
คดีนี้หมอวิทิตได้ยื่นฟ้อง ครม.และ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม ต่อศาลปกครอง เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 ตามคดีหมายเลขดำที่ 1421 /2556 และ องค์การเภสัชกรรม ได้ยื่นเอกสารชี้แจงตามคำสั่งศาลปกครองเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2556 คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลเพื่อออกคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองและบรรเทาทุกข์ชั่วคราว