กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พร้อมหน่วยงานต่างๆ ร่วมประชุมระดมความคิดเห็นด้านวิชาการ และจัดทำข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐาน ด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ คาดจะทำให้มีความชัดเจนและเหมาะสมกับปัจจุบันยิ่งขึ้น เชื่อสามารถนำไปปฏิบัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วันนี้ (22 ส.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดย สำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ได้จัดทำร่างข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เพื่อที่ประกาศใช้ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการร่วมกันศึกษา เพื่อจัดทำข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ 8 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ แบคทีเรีย ไวรัส รา ปรสิต พิษจากสัตว์ มาตรฐานห้องปฏิบัติการ และการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์
พญ.วารุณี จินารัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจะทำหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำร่างรายชื่อเชื้อโรคด้านต่างๆ และระดับความเสี่ยง รวมทั้งร่างข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการปฏิบัติ และมาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงเกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ รวมทั้งการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ มาตรฐานของภาชนะบรรจุเอกสารกำกับ ฉลาก เพื่อใช้ในการกำกับดูแลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ฉบับใหม่ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา
ดร.ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์ ผู้อำนวยการสำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การประชุมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ 8 คณะ และเจ้าหน้าที่สำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ จำนวน 110 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอร่างข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐาน ด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ แบคทีเรีย ไวรัส รา ปรสิต พิษจากสัตว์ มาตรฐานห้องปฏิบัติการ และการขนส่งเชื้อโรค และพิษจากสัตว์ รวมทั้งแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นด้านวิชาการ เพื่อให้หลักเกณฑ์ ข้อกำหนด เงื่อนไขดังกล่าว มีความเหมาะสมต่อการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยและตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
วันนี้ (22 ส.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดย สำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ได้จัดทำร่างข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เพื่อที่ประกาศใช้ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการร่วมกันศึกษา เพื่อจัดทำข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ 8 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ แบคทีเรีย ไวรัส รา ปรสิต พิษจากสัตว์ มาตรฐานห้องปฏิบัติการ และการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์
พญ.วารุณี จินารัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจะทำหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำร่างรายชื่อเชื้อโรคด้านต่างๆ และระดับความเสี่ยง รวมทั้งร่างข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการปฏิบัติ และมาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงเกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ รวมทั้งการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ มาตรฐานของภาชนะบรรจุเอกสารกำกับ ฉลาก เพื่อใช้ในการกำกับดูแลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ฉบับใหม่ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา
ดร.ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์ ผู้อำนวยการสำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การประชุมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ 8 คณะ และเจ้าหน้าที่สำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ จำนวน 110 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอร่างข้อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐาน ด้านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ แบคทีเรีย ไวรัส รา ปรสิต พิษจากสัตว์ มาตรฐานห้องปฏิบัติการ และการขนส่งเชื้อโรค และพิษจากสัตว์ รวมทั้งแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นด้านวิชาการ เพื่อให้หลักเกณฑ์ ข้อกำหนด เงื่อนไขดังกล่าว มีความเหมาะสมต่อการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยและตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย