นักจิตวิทยาแนะสร้างภูมิคุ้มใจแต่เด็ก ช่วยตั้งหลักเวลาเกิดสถานการณ์วิกฤตได้ก่อน ชี้ต้องสร้าง I have I can และ I am ให้แก่เด็กถูกช่วงเวลา ส่วนการฟื้นฟูจิตใจจากเหตุการณ์ช็อกชีวิตให้กลับมาดังเดิม ต้องอาศัยหลัก 4 ปรับ 3 เติม ด้านกรมสุขภาพจิตชี้ “อึดฮึดสู้” ช่วยได้
ดร.วิลาสินี ชัยสิทธิ์ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในงานบรรยายเรื่อง “ภูมิคุ้มใจ” ในงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตเรื่อง “จิตเวชศิริราช...ปันความรู้สู่ประชาชน” ว่า การจะป้องกันอาการเจ็บป่วยของร่างกายได้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งปัจจุบันอาศัยการฉีดวัคซีนต่างๆ ส่วนเรื่องของจิตใจ หากจะป้องกันไม่ให้อ่อนแอ หรือเกิดอารมณ์ทางลบต่างๆ ขึ้น เช่น ความเครียด ความโกรธ ความเสียใจ เป็นต้น ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างภูมิคุ้มใจขึ้นเช่นกัน ซึ่งสามารถสร้างได้ด้วยหลัก I have I can และ I am ตามช่วงวัยดังนี้ 1.ช่วงก่อนเข้าเรียน คือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนเข้าเรียน จะต้องทำให้เด็กมี I have คือ ต้องให้เขารู้สึกว่ามีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีชีวิตอยู่ อย่างเวลากลัวก็ต้องมีคนปลอบ 2.ช่วงเข้าโรงเรียน จะต้องสอนเขาด้วย I can คือฉันสามารถควบคุมทุกอย่างได้ เช่น คุมการขับถ่ายเองได้ คุมมัดกล้ามเนื้อได้ คือ เดินได้ วิ่งได้ ผูกเชือกรองเท้าเองได้ เป็นต้น และ 3.ช่วงวัยรุ่น ต้องสอนด้วย I am คือ ฉันเป็นใคร มีความสามารถหรือไม่สามารถเรื่องใด มีจุดเด่นเรื่องอะไร คือต้องรู้จักตัวเอง
“การสอนให้เด็กมี I have I can และ I am เมื่อเด็กโตขึ้นและเจอสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกแย่ เสียใจ ผิดหวังแบบสุดๆ เขาก็จะมีภูมิคุ้มใจที่ทำให้ชีวิตเขาไม่อ่อนแอ เขาจะคิดได้ว่าเขายังสิ่งแวดล้อมที่ยังเอื้อให้เขามีชีวิตที่ดีต่อไปได้ เมื่อเจอปัญหายังสามารถควบคุม จัดการ และแก้ไขได้ รวมถึงรู้ว่าตัวเองมีความสามารถในการจัดการปัญหาในระดับใด” ดร.วิลาสินี กล่าว
ดร.วิลาสินี กล่าวอีกว่า สำหรับการฟื้นตัวของจิตใจให้ดีดังเดิมนั้น เนื่องจากคนเรามีความเข้มแข็งทางจิตใจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมที่เป็นบริบท ทำให้เมื่อเจอเหตุการณ์วิกฤตทางจิตใจขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภัยพิบัติ วินาศภัย หรือความสูญเสียใดๆ ก็ตาม การฟื้นตัวของจิตใจหรือความยืดหยุ่นของจิตใจจึงไม่เท่ากัน ซึ่งทุกวันนี้ได้มีการนำแนวคิดเรื่องการฟื้นตัวหรือความยืดหยุ่นของจิตใจ (เรซิเลียนซ์ : Resilience) มาใช้รักษาผู้ที่เกิดภาวะวิกฤตทางจิตใจ ซึ่งเดิมทีแนวคิดนี้มาจากการวิจัยของนักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ ที่ทำงานเรื่องเด็กถูกทารุณกรรมในสหรัฐอเมริกา เพราะพบว่าเด็กที่อยู่ในสถานการณ์ทารุณกรรมเดียวกัน ทำไมเด็กจำนวนหนึ่งเสียคน แต่อีกส่วนไม่เสีย จึงทำการศึกษาในเรื่องนี้
ดร.วิลาสินี กล่าวด้วยว่า การฟื้นฟูจิตใจได้เร็วจะต้องอาศัยหลัก 4 ปรับ 3 เติม คือ 1.ปรับอารมณ์ ให้รับรู้ว่าเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง แล้วเรามีอารมณ์แบบใด โดยต้องรีบปรับอารมณ์ให้กลับมาเป็นปกติ 2.ปรับความคิด เช่น บางคนสูญเสียครอบครัว อาจจะรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ ตรงนี้ต้องปรับความคิดว่า เราจะต้องเป็นตัวแทนของคนในครอบครัวที่จะดำเนินชีวิตต่อไปแทนพวกเขา 3.ปรับพฤติกรรม เช่น หันมาทำหรือดูแลในสิ่งที่พ่อแม่ครอบครัวยังทำไม่สำเร็จ และ 4.ปรับเป้าหมายของชีวิต เช่น หากสูญเสียคนรักที่กำลังจะแต่งงานด้วย หากยังต้องการที่จะมีครอบครัว ก็ต้องตั้งเป้าหมายใหม่ว่ายังมีคนอื่นอีกที่ยังสามารถมาสร้างครอบครัวร่วมกับตนได้ ส่วน 3 เติม ได้แก่ 1.เติมศรัทธา โดยอาศัยสิ่งยึดเหนี่ยวต่างๆ ทางจิตใจ โดยเฉพาะเรื่องศาสนา 2.เติมความสัมพันธ์ คือ เมื่อเวลาทุกข์ก็มีคนคอยช่วยเหลือเป็นกำลังใจ และ 3.เติมใจให้เข้มแข็ง
ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เรื่องของภูมิคุ้มใจจะสร้างได้ต้องย้อนกลับไปที่การพัฒนาอารมณ์ตามวัย หากมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ตามวัยเป็นอย่างดี เมื่อเวลาเจอสถานการณ์ที่รุนแรงต่อจิตใจก็จะช่วยให้สงบนิ่งได้ก่อน ซึ่งเป็นเรื่องของความอึด อย่างไรก็ตาม แม้จะสงบนิ่งได้แต่จิตใจก็เจอวิกฤตจนรั่ว หรือแฟบไปแล้ว การฟื้นฟูจะต้องอาศัยความหวังว่าจะต้องเดินหน้าต่อไปให้ได้เป็นเรื่องของความฮึด และปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งเมื่อเรามีจิตใจที่สงบ มีความหวัง เราก็จะสามารถหาสาเหตุของปัญหาและทางแก้ไขได้ ตรงนี้เป็นเรื่องของการสู้กับปัญหา แต่ที่สำคัญหากผู้ที่เกิดวิกฤตทางจิตใจไม่พลังใจพอในการฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาเป็นเช่นเดิม คนรอบข้างหรือคนใกล้ชิดจะต้องช่วยเติมพลังใจให้เขาด้วยเช่นกัน
ดร.วิลาสินี ชัยสิทธิ์ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในงานบรรยายเรื่อง “ภูมิคุ้มใจ” ในงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตเรื่อง “จิตเวชศิริราช...ปันความรู้สู่ประชาชน” ว่า การจะป้องกันอาการเจ็บป่วยของร่างกายได้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งปัจจุบันอาศัยการฉีดวัคซีนต่างๆ ส่วนเรื่องของจิตใจ หากจะป้องกันไม่ให้อ่อนแอ หรือเกิดอารมณ์ทางลบต่างๆ ขึ้น เช่น ความเครียด ความโกรธ ความเสียใจ เป็นต้น ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างภูมิคุ้มใจขึ้นเช่นกัน ซึ่งสามารถสร้างได้ด้วยหลัก I have I can และ I am ตามช่วงวัยดังนี้ 1.ช่วงก่อนเข้าเรียน คือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนเข้าเรียน จะต้องทำให้เด็กมี I have คือ ต้องให้เขารู้สึกว่ามีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีชีวิตอยู่ อย่างเวลากลัวก็ต้องมีคนปลอบ 2.ช่วงเข้าโรงเรียน จะต้องสอนเขาด้วย I can คือฉันสามารถควบคุมทุกอย่างได้ เช่น คุมการขับถ่ายเองได้ คุมมัดกล้ามเนื้อได้ คือ เดินได้ วิ่งได้ ผูกเชือกรองเท้าเองได้ เป็นต้น และ 3.ช่วงวัยรุ่น ต้องสอนด้วย I am คือ ฉันเป็นใคร มีความสามารถหรือไม่สามารถเรื่องใด มีจุดเด่นเรื่องอะไร คือต้องรู้จักตัวเอง
“การสอนให้เด็กมี I have I can และ I am เมื่อเด็กโตขึ้นและเจอสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกแย่ เสียใจ ผิดหวังแบบสุดๆ เขาก็จะมีภูมิคุ้มใจที่ทำให้ชีวิตเขาไม่อ่อนแอ เขาจะคิดได้ว่าเขายังสิ่งแวดล้อมที่ยังเอื้อให้เขามีชีวิตที่ดีต่อไปได้ เมื่อเจอปัญหายังสามารถควบคุม จัดการ และแก้ไขได้ รวมถึงรู้ว่าตัวเองมีความสามารถในการจัดการปัญหาในระดับใด” ดร.วิลาสินี กล่าว
ดร.วิลาสินี กล่าวอีกว่า สำหรับการฟื้นตัวของจิตใจให้ดีดังเดิมนั้น เนื่องจากคนเรามีความเข้มแข็งทางจิตใจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมที่เป็นบริบท ทำให้เมื่อเจอเหตุการณ์วิกฤตทางจิตใจขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภัยพิบัติ วินาศภัย หรือความสูญเสียใดๆ ก็ตาม การฟื้นตัวของจิตใจหรือความยืดหยุ่นของจิตใจจึงไม่เท่ากัน ซึ่งทุกวันนี้ได้มีการนำแนวคิดเรื่องการฟื้นตัวหรือความยืดหยุ่นของจิตใจ (เรซิเลียนซ์ : Resilience) มาใช้รักษาผู้ที่เกิดภาวะวิกฤตทางจิตใจ ซึ่งเดิมทีแนวคิดนี้มาจากการวิจัยของนักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ ที่ทำงานเรื่องเด็กถูกทารุณกรรมในสหรัฐอเมริกา เพราะพบว่าเด็กที่อยู่ในสถานการณ์ทารุณกรรมเดียวกัน ทำไมเด็กจำนวนหนึ่งเสียคน แต่อีกส่วนไม่เสีย จึงทำการศึกษาในเรื่องนี้
ดร.วิลาสินี กล่าวด้วยว่า การฟื้นฟูจิตใจได้เร็วจะต้องอาศัยหลัก 4 ปรับ 3 เติม คือ 1.ปรับอารมณ์ ให้รับรู้ว่าเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง แล้วเรามีอารมณ์แบบใด โดยต้องรีบปรับอารมณ์ให้กลับมาเป็นปกติ 2.ปรับความคิด เช่น บางคนสูญเสียครอบครัว อาจจะรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ ตรงนี้ต้องปรับความคิดว่า เราจะต้องเป็นตัวแทนของคนในครอบครัวที่จะดำเนินชีวิตต่อไปแทนพวกเขา 3.ปรับพฤติกรรม เช่น หันมาทำหรือดูแลในสิ่งที่พ่อแม่ครอบครัวยังทำไม่สำเร็จ และ 4.ปรับเป้าหมายของชีวิต เช่น หากสูญเสียคนรักที่กำลังจะแต่งงานด้วย หากยังต้องการที่จะมีครอบครัว ก็ต้องตั้งเป้าหมายใหม่ว่ายังมีคนอื่นอีกที่ยังสามารถมาสร้างครอบครัวร่วมกับตนได้ ส่วน 3 เติม ได้แก่ 1.เติมศรัทธา โดยอาศัยสิ่งยึดเหนี่ยวต่างๆ ทางจิตใจ โดยเฉพาะเรื่องศาสนา 2.เติมความสัมพันธ์ คือ เมื่อเวลาทุกข์ก็มีคนคอยช่วยเหลือเป็นกำลังใจ และ 3.เติมใจให้เข้มแข็ง
ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เรื่องของภูมิคุ้มใจจะสร้างได้ต้องย้อนกลับไปที่การพัฒนาอารมณ์ตามวัย หากมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ตามวัยเป็นอย่างดี เมื่อเวลาเจอสถานการณ์ที่รุนแรงต่อจิตใจก็จะช่วยให้สงบนิ่งได้ก่อน ซึ่งเป็นเรื่องของความอึด อย่างไรก็ตาม แม้จะสงบนิ่งได้แต่จิตใจก็เจอวิกฤตจนรั่ว หรือแฟบไปแล้ว การฟื้นฟูจะต้องอาศัยความหวังว่าจะต้องเดินหน้าต่อไปให้ได้เป็นเรื่องของความฮึด และปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งเมื่อเรามีจิตใจที่สงบ มีความหวัง เราก็จะสามารถหาสาเหตุของปัญหาและทางแก้ไขได้ ตรงนี้เป็นเรื่องของการสู้กับปัญหา แต่ที่สำคัญหากผู้ที่เกิดวิกฤตทางจิตใจไม่พลังใจพอในการฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาเป็นเช่นเดิม คนรอบข้างหรือคนใกล้ชิดจะต้องช่วยเติมพลังใจให้เขาด้วยเช่นกัน