โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
บ้านจะมั่นคงได้ก็ด้วยอาศัยฐานรากที่แข็งแรง เมืองจะมั่นคงได้ก็ต้องมีประชากรที่มีคุณภาพ เช่นกันกว่าเด็กทารกตัวน้อยๆ ตีนเท่าฝาหอยคนหนึ่งจะโตขึ้นมาเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมได้ ก็จำเป็นที่จะต้องผ่านการเลี้ยงดูปลูกฝังที่ดีเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนวัยเรียน หรือที่เรียกกันว่า “ช่วงปฐมวัย” คือเด็กช่วงอายุระหว่าง 0-5 ปี ว่ากันว่า ช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญที่สุดในการพัฒนาให้เด็กโตขึ้นมามีสติปัญญา (ไอคิว) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) ที่สูง เพราะหากเลยจากวัยนี้ไปแล้วสมองจะพัฒนาน้อยลง เมื่อเป็นเช่นนี้บทบาทสำคัญของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยจึงชี้ชัดไปที่เหล่าบรรดาศูนย์เด็กเล็กทั้งหลายที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย
คำถามคือ...แล้วทุกวันนี้ศูนย์เด็กเล็กต่างๆ เขากำลังสอนอะไรให้แก่ลูกหลานของเราบ้าง
เมื่อเร็วๆ นี้ กรมอนามัย พาลงพื้นที่ชมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กกมลา จ.ภูเก็ต ซึ่งมีการพัฒนามาตรฐานทุกด้านเพื่อดูแลเด็กก่อนวัยเรียน จากคำบอกเล่าของนายเสนาะ พลอยขาว ประธานกรรมการศูนย์เด็กเล็กกมลา ทำให้ทราบว่าศูนย์เด็กเล็กส่วนใหญ่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลเด็กในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกพ่อแม่ทิ้งไว้กับปู่ย่าตายาย เพราะต้องเดินทางไปทำงานไม่สามารถกระเตงลูกไปด้วยได้ อย่างศูนย์เด็กเล็กกมลาเองก็จัดตั้งขึ้นด้วยแนวคิดดังกล่าว
ส่วนการเรียนการสอนนั้น น.ส.กาญจนา อิสลาม ครูผู้ดูแลเด็กรักษาการตำแหน่งหัวหน้าศูนย์เด็กเล็กกมลา เล่าให้ฟังว่า ศูนย์เด็กเล็กกมลามีทั้งหมด 12 ห้องเรียน คุณครูทุกคนจบการศึกษาด้านปฐมวัยมาโดยเฉพาะ เราจึงเห็นความสำคัญของเด็กวัยดังกล่าวหลายด้าน จึงพยายามพัฒนาเด็กให้มีสุขภาวะที่ดี ซึ่งขณะนี้ที่ศูนย์ฯมีการดำเนินกิจกรรม 10 โครงการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
1.โครงการเด็กไทยไม่กินหวาน เป็นโครงการที่ทำกันทั่วประเทศ
2.โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็ก ตรงนี้มีที่มาจากปัญหาการกินหวาน จึงต้องส่งเสริมสุขภาพเด็กด้วยการออกกำลังกาย มีการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีความสมบูรณ์ขึ้น
3.โครงการดูแลกำจัดเหา จะดำเนินการ 2 ครั้งคือ ช่วง มิ.ย.จะสำรวจเด็กแต่ละห้องว่าใครเป็นหรือไม่เป็นเหา จากนั้นจะติดต่อให้ รพ.สต.แนะนำยาเบื่อเหา จากนั้นจะมีการสำรวจอีกครั้งว่าเหาลดลงหรือไม่
4.โครงการพืชผักไร้ดิน เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักคุณค่าของผัก โดยให้เด็กมีส่วนร่วมปลูกและเฝ้าเติบโต เมื่องอกงามดีแล้วก็จะมีการเก็บผักไปขาย และใช้รับประทานเป็นอาหารกลางวัน
5.โครงการปลูกพืชผักสวนครัว วัตถุประสงค์คล้ายกับโครงการพืชผักไร้ดิน
6.โครงการป้องกันโรคติดต่อจากแมลง โยเฉพาะโรคไข้เลือดออก จะมีการเชิญเจ้าหน้าที่ ครู มาให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครอง
7.โครงการซ้อมอพยพหนีภัย โดยจะจัดอบรมครูก่อน แล้วจึงนำมาให้เด็กปฏิบัติจริงในสภาพเสมือนจริงที่สุด
8.โครงการสื่อสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมจัดการสื่อ ด้านสุขภาพ อาหาร และรู้จักสื่อที่ใช้สอนทั้งที่บ้านและโรงเรียน
9.โครงการเยี่ยมบ้าน ตรงนี้จะทำให้รู้พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่บ้านของเด็ก หากพบว่าไม่ถูกสุขลักษณะก็จะมาปรับพฤติกรรมเด็กที่ศูนย์ฯ
และ 10.โครงการหนูน้อยฟันสวย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ รพ.ป่าตองมาตรวจ หากพบว่าเด็กมีปัญหาสุขภาพช่องปากก็จะแจ้งผู้ปกครองให้รักษาอย่างทันท่วงที
“นอกจาก 10 โครงการนี้แล้ว สิ่งที่ศูนย์เด็กเล็กกมลาเน้นเป็นพิเศษ คือเรื่องของการใช้ห้องน้ำ โดยการใช้สื่อการเรียนการสอน เช่น โปสเตอร์การ์ตูนเรื่องการล้างมือ การใช้ส้วม ให้เด็กได้ทำตาม เพราะเชื่อว่าหากปลูกฝังให้เด็กรู้จักการใช้ห้องน้ำอย่างถูกสุขลักษณะนิสัยตั้งแต่เนิ่นๆ จะเกิดความเคยชินและใช้ห้องน้ำได้ถูกสุขลักษณะทั้งที่บ้านและที่อื่นๆ ไปจนโต สามารถลดปัญหาในอนาคตและป้องกันโรคต่างๆ ได้”
บ้านจะมั่นคงได้ก็ด้วยอาศัยฐานรากที่แข็งแรง เมืองจะมั่นคงได้ก็ต้องมีประชากรที่มีคุณภาพ เช่นกันกว่าเด็กทารกตัวน้อยๆ ตีนเท่าฝาหอยคนหนึ่งจะโตขึ้นมาเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมได้ ก็จำเป็นที่จะต้องผ่านการเลี้ยงดูปลูกฝังที่ดีเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนวัยเรียน หรือที่เรียกกันว่า “ช่วงปฐมวัย” คือเด็กช่วงอายุระหว่าง 0-5 ปี ว่ากันว่า ช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญที่สุดในการพัฒนาให้เด็กโตขึ้นมามีสติปัญญา (ไอคิว) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) ที่สูง เพราะหากเลยจากวัยนี้ไปแล้วสมองจะพัฒนาน้อยลง เมื่อเป็นเช่นนี้บทบาทสำคัญของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยจึงชี้ชัดไปที่เหล่าบรรดาศูนย์เด็กเล็กทั้งหลายที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย
คำถามคือ...แล้วทุกวันนี้ศูนย์เด็กเล็กต่างๆ เขากำลังสอนอะไรให้แก่ลูกหลานของเราบ้าง
เมื่อเร็วๆ นี้ กรมอนามัย พาลงพื้นที่ชมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กกมลา จ.ภูเก็ต ซึ่งมีการพัฒนามาตรฐานทุกด้านเพื่อดูแลเด็กก่อนวัยเรียน จากคำบอกเล่าของนายเสนาะ พลอยขาว ประธานกรรมการศูนย์เด็กเล็กกมลา ทำให้ทราบว่าศูนย์เด็กเล็กส่วนใหญ่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลเด็กในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกพ่อแม่ทิ้งไว้กับปู่ย่าตายาย เพราะต้องเดินทางไปทำงานไม่สามารถกระเตงลูกไปด้วยได้ อย่างศูนย์เด็กเล็กกมลาเองก็จัดตั้งขึ้นด้วยแนวคิดดังกล่าว
ส่วนการเรียนการสอนนั้น น.ส.กาญจนา อิสลาม ครูผู้ดูแลเด็กรักษาการตำแหน่งหัวหน้าศูนย์เด็กเล็กกมลา เล่าให้ฟังว่า ศูนย์เด็กเล็กกมลามีทั้งหมด 12 ห้องเรียน คุณครูทุกคนจบการศึกษาด้านปฐมวัยมาโดยเฉพาะ เราจึงเห็นความสำคัญของเด็กวัยดังกล่าวหลายด้าน จึงพยายามพัฒนาเด็กให้มีสุขภาวะที่ดี ซึ่งขณะนี้ที่ศูนย์ฯมีการดำเนินกิจกรรม 10 โครงการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
1.โครงการเด็กไทยไม่กินหวาน เป็นโครงการที่ทำกันทั่วประเทศ
2.โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็ก ตรงนี้มีที่มาจากปัญหาการกินหวาน จึงต้องส่งเสริมสุขภาพเด็กด้วยการออกกำลังกาย มีการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีความสมบูรณ์ขึ้น
3.โครงการดูแลกำจัดเหา จะดำเนินการ 2 ครั้งคือ ช่วง มิ.ย.จะสำรวจเด็กแต่ละห้องว่าใครเป็นหรือไม่เป็นเหา จากนั้นจะติดต่อให้ รพ.สต.แนะนำยาเบื่อเหา จากนั้นจะมีการสำรวจอีกครั้งว่าเหาลดลงหรือไม่
4.โครงการพืชผักไร้ดิน เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักคุณค่าของผัก โดยให้เด็กมีส่วนร่วมปลูกและเฝ้าเติบโต เมื่องอกงามดีแล้วก็จะมีการเก็บผักไปขาย และใช้รับประทานเป็นอาหารกลางวัน
5.โครงการปลูกพืชผักสวนครัว วัตถุประสงค์คล้ายกับโครงการพืชผักไร้ดิน
6.โครงการป้องกันโรคติดต่อจากแมลง โยเฉพาะโรคไข้เลือดออก จะมีการเชิญเจ้าหน้าที่ ครู มาให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครอง
7.โครงการซ้อมอพยพหนีภัย โดยจะจัดอบรมครูก่อน แล้วจึงนำมาให้เด็กปฏิบัติจริงในสภาพเสมือนจริงที่สุด
8.โครงการสื่อสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมจัดการสื่อ ด้านสุขภาพ อาหาร และรู้จักสื่อที่ใช้สอนทั้งที่บ้านและโรงเรียน
9.โครงการเยี่ยมบ้าน ตรงนี้จะทำให้รู้พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่บ้านของเด็ก หากพบว่าไม่ถูกสุขลักษณะก็จะมาปรับพฤติกรรมเด็กที่ศูนย์ฯ
และ 10.โครงการหนูน้อยฟันสวย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ รพ.ป่าตองมาตรวจ หากพบว่าเด็กมีปัญหาสุขภาพช่องปากก็จะแจ้งผู้ปกครองให้รักษาอย่างทันท่วงที
“นอกจาก 10 โครงการนี้แล้ว สิ่งที่ศูนย์เด็กเล็กกมลาเน้นเป็นพิเศษ คือเรื่องของการใช้ห้องน้ำ โดยการใช้สื่อการเรียนการสอน เช่น โปสเตอร์การ์ตูนเรื่องการล้างมือ การใช้ส้วม ให้เด็กได้ทำตาม เพราะเชื่อว่าหากปลูกฝังให้เด็กรู้จักการใช้ห้องน้ำอย่างถูกสุขลักษณะนิสัยตั้งแต่เนิ่นๆ จะเกิดความเคยชินและใช้ห้องน้ำได้ถูกสุขลักษณะทั้งที่บ้านและที่อื่นๆ ไปจนโต สามารถลดปัญหาในอนาคตและป้องกันโรคต่างๆ ได้”