“กลุ่มรักษ์อโศก” ล่ารายชื่อต้านโครงการแก้ปัญหาจราจรถนนนอโศก เหตุไม่มีความชัดเจนในการก่อสร้าง ด้าน “ผุสดี” แจงนำเรื่องเข้าสภา กทม.เพื่อพิจารณาเน้นทำทุกอย่างตามกรอบกฎหมาย
เมื่อวันที่17 ส.ค.ที่สมาคมนามธารีสังคัต แห่งประเทศไทย กลุ่มรักษ์อโศก เปิดเวทีแสดงความคิดเห็นและร่วมลงรายชื่อคัดค้านโครงการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำรวจออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรถนนอโศกมนตรี โดยการสร้างถนนยกระดับจากถนนพระราม 9 ถึงบริเวณถนนสุขุมวิท โดยมี นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯ กทม., นายอนุชา บูรพชัยศรี ส.ส.กทม.พร้อมด้วย ส.ก. และ ส.ข.เขต และประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในโครงการ เข้าร่วมรับฟังโดยผู้เข้าร่วมประชุม ระบุว่า บริษัทที่ปรึกษาฯ ไม่มีความชัดเจน ทั้งรูปแบบการวางตอม่อ กรณีหากมีการก่อสร้างจริง จุดไหนหรือใครจะได้รับผลกระทบ ซึ่งยังคงคลุมเครืิอ รวมถึงทัศนียภาพที่เปลี่ยนไป และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็ยังหาคำตอบมาชี้แจงไม่ได้ พร้อมวอนขอผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ แสดงความจริงใจในการลงมาดูแลปัญหาและพูดคุยกับทางกลุ่ม
ด้าน นายอนุชา กล่าวว่า จากการพูดคุยร่วมกับ ผอ.สำนักการโยธา (สนย.) เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการดังกล่่าว ทราบว่าจากหลักกายภาพของถนนวงแหวนชั้นในปัจจุบันมีความกว้างถึง 30-40 เมตร ขณะที่ถนนอโศกมนตรีกว้างเพียง 19 เมตร ซึ่งมีลักษณะเป็นคอขวด จึงมีแนวคิดที่จะขยาย หรือเพิ่มถนนเพื่อรองรับปริมาณรถที่มีมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาทำถนนยกระดับ แทนการขยายถนนเนื่องจากติดอาคารสูง พร้อมกันนี้ยืนยันว่า โครงการดังกล่าวอยู่ในช่วงของการศึกษารายละเอียดเท่านั้น ยังไม่มีการออกแบบแปลนจากวิศวกร เป็นเพียงการจำลองภาพเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ ซึ่งยืนยันได้ว่ายังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการตัดสินว่าจะต้องเดินหน้าทำโครงการในทันที รวมถึงยังไม่มีการลงลึกถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเวนคืนแต่อย่างใด
ด้าน นางผุสดี กล่าวชี้แจงว่า การทำงานของบริษัทที่ปรึกษาฯ เป็นขั้นเป็นตอน โดยจะต้องให้เวลาบริษัทที่ปรึกษาฯ สรุปโครงการให้ผู้ว่าฯ กทม.ก่อนจะประชุมผู้บริหาร เพื่อเข้าที่ประชุมสภา กทม.ให้ช่วยพิจารณา จึงไม่สามารถตัดสินได้ในขณะนี้ แต่ทั้งนี้ จะต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ด้านนายกิตติพันธ์ ใจดี ตัวแทนกลุ่มรักษ์อโศก กล่าวว่า ขณะนี้สามารถล่ารายชื่อผู้คัดค้านโครงการได้ประมาณ 1 พันรายชื่อ และหลังจากนี้จะให้ผู้มีส่วนได้เสียในโครงการทั้งหมดไปเก็บรายละเอียด โดยจะเน้นสาระ 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ข้อคัดค้านที่มีต่อบริษัทที่ปรึกษาฯ เพื่อโต้แย้งว่า การก่อสร้างจะไม่สามารถแก้ไขจราจรได้ 2.ข้อกังวล หรือข้อเรียกร้องที่มีต่อ กทม.คือการปกปิดข้อมูล โดยไม่ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้ข่าวสาร และ 3.เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาอื่น เช่น เสนอให้ยกระดับสะพานข้ามคลองแสนแสบขึ้น เพื่อให้เป็นจุดกลับรถ ห้ามไม่ให้มีการเลี้ยวตัดเข้าอาคาร จะลดการชะลอตัวของจราจร ซึ่งในวันเสาร์ที่ 21 ก.ย.56 จะนำข้อมูลจากทุกฝ่ายมารวบรวม ก่อนจะสรุปเพื่อนำไปยื่นถึง ผู้ว่าฯ กทม.ต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้มีการจัดหาบริษัทผู้รับเหมารายใหญ่เพื่อเตรียมก่อสร้างถนนยกระดับไว้เรียบร้อย ขัดกับขั้นตอนการดำเนินงาน โดยจะต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็น ก่อนจะนำเข้าสภา กทม.เพื่อจัดสรรหางบประมาณ และจัดหาผู้รับเหมา จึงทำให้กลุ่มรักษ์อโศก เกิดความไม่ไว้วางใจในกระบวนการของรัฐที่ไม่โปร่งใส จึงต้องเดินหน้าเพื่อคัดค้านโครงการฯให้ถึงที่สุด
เมื่อวันที่17 ส.ค.ที่สมาคมนามธารีสังคัต แห่งประเทศไทย กลุ่มรักษ์อโศก เปิดเวทีแสดงความคิดเห็นและร่วมลงรายชื่อคัดค้านโครงการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำรวจออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรถนนอโศกมนตรี โดยการสร้างถนนยกระดับจากถนนพระราม 9 ถึงบริเวณถนนสุขุมวิท โดยมี นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯ กทม., นายอนุชา บูรพชัยศรี ส.ส.กทม.พร้อมด้วย ส.ก. และ ส.ข.เขต และประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในโครงการ เข้าร่วมรับฟังโดยผู้เข้าร่วมประชุม ระบุว่า บริษัทที่ปรึกษาฯ ไม่มีความชัดเจน ทั้งรูปแบบการวางตอม่อ กรณีหากมีการก่อสร้างจริง จุดไหนหรือใครจะได้รับผลกระทบ ซึ่งยังคงคลุมเครืิอ รวมถึงทัศนียภาพที่เปลี่ยนไป และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็ยังหาคำตอบมาชี้แจงไม่ได้ พร้อมวอนขอผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ แสดงความจริงใจในการลงมาดูแลปัญหาและพูดคุยกับทางกลุ่ม
ด้าน นายอนุชา กล่าวว่า จากการพูดคุยร่วมกับ ผอ.สำนักการโยธา (สนย.) เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการดังกล่่าว ทราบว่าจากหลักกายภาพของถนนวงแหวนชั้นในปัจจุบันมีความกว้างถึง 30-40 เมตร ขณะที่ถนนอโศกมนตรีกว้างเพียง 19 เมตร ซึ่งมีลักษณะเป็นคอขวด จึงมีแนวคิดที่จะขยาย หรือเพิ่มถนนเพื่อรองรับปริมาณรถที่มีมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาทำถนนยกระดับ แทนการขยายถนนเนื่องจากติดอาคารสูง พร้อมกันนี้ยืนยันว่า โครงการดังกล่าวอยู่ในช่วงของการศึกษารายละเอียดเท่านั้น ยังไม่มีการออกแบบแปลนจากวิศวกร เป็นเพียงการจำลองภาพเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ ซึ่งยืนยันได้ว่ายังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการตัดสินว่าจะต้องเดินหน้าทำโครงการในทันที รวมถึงยังไม่มีการลงลึกถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเวนคืนแต่อย่างใด
ด้าน นางผุสดี กล่าวชี้แจงว่า การทำงานของบริษัทที่ปรึกษาฯ เป็นขั้นเป็นตอน โดยจะต้องให้เวลาบริษัทที่ปรึกษาฯ สรุปโครงการให้ผู้ว่าฯ กทม.ก่อนจะประชุมผู้บริหาร เพื่อเข้าที่ประชุมสภา กทม.ให้ช่วยพิจารณา จึงไม่สามารถตัดสินได้ในขณะนี้ แต่ทั้งนี้ จะต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ด้านนายกิตติพันธ์ ใจดี ตัวแทนกลุ่มรักษ์อโศก กล่าวว่า ขณะนี้สามารถล่ารายชื่อผู้คัดค้านโครงการได้ประมาณ 1 พันรายชื่อ และหลังจากนี้จะให้ผู้มีส่วนได้เสียในโครงการทั้งหมดไปเก็บรายละเอียด โดยจะเน้นสาระ 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ข้อคัดค้านที่มีต่อบริษัทที่ปรึกษาฯ เพื่อโต้แย้งว่า การก่อสร้างจะไม่สามารถแก้ไขจราจรได้ 2.ข้อกังวล หรือข้อเรียกร้องที่มีต่อ กทม.คือการปกปิดข้อมูล โดยไม่ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้ข่าวสาร และ 3.เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาอื่น เช่น เสนอให้ยกระดับสะพานข้ามคลองแสนแสบขึ้น เพื่อให้เป็นจุดกลับรถ ห้ามไม่ให้มีการเลี้ยวตัดเข้าอาคาร จะลดการชะลอตัวของจราจร ซึ่งในวันเสาร์ที่ 21 ก.ย.56 จะนำข้อมูลจากทุกฝ่ายมารวบรวม ก่อนจะสรุปเพื่อนำไปยื่นถึง ผู้ว่าฯ กทม.ต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้มีการจัดหาบริษัทผู้รับเหมารายใหญ่เพื่อเตรียมก่อสร้างถนนยกระดับไว้เรียบร้อย ขัดกับขั้นตอนการดำเนินงาน โดยจะต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็น ก่อนจะนำเข้าสภา กทม.เพื่อจัดสรรหางบประมาณ และจัดหาผู้รับเหมา จึงทำให้กลุ่มรักษ์อโศก เกิดความไม่ไว้วางใจในกระบวนการของรัฐที่ไม่โปร่งใส จึงต้องเดินหน้าเพื่อคัดค้านโครงการฯให้ถึงที่สุด