พฤติกรรมที่เห็นจนชินตาของหนุ่มสาวออฟฟิศยุคนี้ เห็นจะไม่พ้นการนั่งทำงานอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหลายชั่วโมงติดต่อกัน อันเนื่องมาจากลักษณะหรือรูปแบบการทำงานที่บังคับให้เราต้องนั่งอยู่ในท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดโรคร้ายคุกคามคนเมืองวัยทำงานขึ้นโรคหนึ่ง นั่นก็คือ "ออฟฟิศซินโดรม"
แม้โรคนี้จะเป็นที่รู้จักและพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง แต่คนส่วนใหญ่ยังมองข้ามและขาดข้อมูลที่ดีในการรับมือ เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และที่ปรึกษาคลินิกระงับปวด โรงพยาบาลศิริราช และอดีตนายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย อธิบายภายในงานเวิร์กชอปสุขภาพดีในหัวข้อ “รอบรู้เรื่องปวด” (Know Your Pain) จัดโดยบริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาการปวด รวมถึงแนวทางป้องกันและรักษาก่อนลุกลาม ว่า อาการออฟฟิศซินโดรม คืออาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เกินวันละ 6 ชั่วโมง โดยไม่ลุกไปผ่อนคลายหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ
"สภาพแวดล้อมในการทำงานก็เป็นอีกส่วนที่ควรให้ความใส่ใจ โดยควรปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย และปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา นอกจากนี้ ยังต้องรู้จักและรู้เท่าทันอาการปวด เริ่มต้นด้วยวิธีป้องกันง่ายๆ คือหมั่นออกกำลังกายและบริหารเพื่อจัดโครงสร้างร่างกาย แต่ก็ต้องอาศัยความใส่ใจและความสม่ำเสมออย่างมาก"
รศ.นพ.ประดิษฐ์ กล่าวอีกว่า คนทำงานส่วนใหญ่มักจะละเลยสัญญาณเตือนของอาการปวดกล้ามเนื้อแบบออฟฟิศซินโดรม ท้ายที่สุดแล้วอาการอาจลุกลามร้ายแรงจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำงานของผู้ป่วย และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นการลงทุนระยะยาว เพื่อความสุขและสุขภาพที่ดีในอนาคต
ด้าน นพ.พิชัย คณิตจรัสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อาการไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบถึงภาพรวมด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย อย่างประเทศอังกฤษ พบว่า มีผู้ป่วยจากอาการปวดเรื้อรังเกือบ 8 ล้านคน และอาการปวดหลัง คือ สาเหตุสำคัญอันดับ 2 ที่ทำให้ต้องลาหยุดงาน หรือไม่สามารถปฏิบัติงานตามปกติได้ ส่วนสหรัฐอเมริกามีรายงานว่า อาการปวดส่งผลกระทบต่อมูลค่าการผลิตในประเทศปี 2553 ประมาณ 297-335 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
"สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2554 พบว่า คนวัยทำงานออกกำลังกายน้อยกว่าคนวัยอื่นอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ คนวัยทำงานเพียง 23.7% เท่านั้นที่ออกกำลังกาย นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารไม่ครบ 5 หมู่ การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่"
อย่างไรก็ตาม อาการปวดสามารถบรรเทาได้ด้วยการยืดหยุ่นร่างกาย นายชิษณุพงศ์ ยะอ้อน นักวิทยาศาสตร์กายภาพ ระบุว่า ท่าบริหารจัดโครงสร้างและยืดหยุ่นร่างกายอย่างถูกวิธี สามารถช่วยให้หนุ่มสาวออฟฟิศบรรเทาอาการปวดเฉพาะส่วนซึ่งเกิดจากออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่งท่าบริหารอย่างง่ายที่สามารถนำไปปฏิบัติตามที่ทำงานได้ง่ายและบ่อยครั้ง มีทั้งหมด 6 ท่า ซึ่งจะช่วยเพิ่มสมรรถนะและความยืดหยุ่น รวมถึงผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ ไหล่ สะบัก หลัง และขา
ทั้งนี้ นายชิษณุพงศ์ ได้สาธิตท่าบริหารทั้ง 6 ท่า ดังนี้
ท่าที่ 1: บริหารต้นคอ เริ่มต้นด้วยการไขว้แขนขวาไปด้านหลัง เอียงคอไปด้านซ้าย แล้วเอื้อมมือซ้ายข้ามศีรษะไปวางแนบด้านข้างของศีรษะด้านขวา แล้วทำเช่นเดียวกันนี้กับอีกข้างหนึ่ง
ท่าที่ 2: บริหารบ่าและไหล่ ยืนตัวตรง ประสานมือเหยียดแขนไปข้างหน้า ก้มศีรษะพร้อมกับยืดตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ค้างไว้แล้วนับ 1-10
ท่าที่ 3: บริหารสะบักและหน้าอก ยืนตัวตรง กางแขนทั้งสองข้างออกในลักษณะตั้งฉาก แล้วค่อยๆ ดึงแขนไปด้านหลัง
ท่าที่ 4: บริหารขาด้านหลังและหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ชูแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ แล้วค่อยๆ ก้มตัวลงเอามือทั้งสองข้างวางแนบพื้นหรือแตะปลายเท้า โดยไม่งอเข่า
ท่าที่ 5: บริหารขาด้านหลัง น่อง และหลังส่วนล่าง ทำต่อเนื่องจากท่าที่ 4 โดยยังอยู่ในท่าก้มตัว สอดมือทั้งสองไว้ด้านหลัง หัวเข่า แล้วค่อยๆ งอเข่าทั้งสองข้าง ค้างไว้แล้วนับ 1-10
และ ท่าที่ 6: บริหารหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ ประสานมือเอาไว้ แล้วค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลัง
แม้โรคนี้จะเป็นที่รู้จักและพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง แต่คนส่วนใหญ่ยังมองข้ามและขาดข้อมูลที่ดีในการรับมือ เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และที่ปรึกษาคลินิกระงับปวด โรงพยาบาลศิริราช และอดีตนายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย อธิบายภายในงานเวิร์กชอปสุขภาพดีในหัวข้อ “รอบรู้เรื่องปวด” (Know Your Pain) จัดโดยบริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาการปวด รวมถึงแนวทางป้องกันและรักษาก่อนลุกลาม ว่า อาการออฟฟิศซินโดรม คืออาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เกินวันละ 6 ชั่วโมง โดยไม่ลุกไปผ่อนคลายหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ
"สภาพแวดล้อมในการทำงานก็เป็นอีกส่วนที่ควรให้ความใส่ใจ โดยควรปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย และปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา นอกจากนี้ ยังต้องรู้จักและรู้เท่าทันอาการปวด เริ่มต้นด้วยวิธีป้องกันง่ายๆ คือหมั่นออกกำลังกายและบริหารเพื่อจัดโครงสร้างร่างกาย แต่ก็ต้องอาศัยความใส่ใจและความสม่ำเสมออย่างมาก"
รศ.นพ.ประดิษฐ์ กล่าวอีกว่า คนทำงานส่วนใหญ่มักจะละเลยสัญญาณเตือนของอาการปวดกล้ามเนื้อแบบออฟฟิศซินโดรม ท้ายที่สุดแล้วอาการอาจลุกลามร้ายแรงจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำงานของผู้ป่วย และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นการลงทุนระยะยาว เพื่อความสุขและสุขภาพที่ดีในอนาคต
ด้าน นพ.พิชัย คณิตจรัสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อาการไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบถึงภาพรวมด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย อย่างประเทศอังกฤษ พบว่า มีผู้ป่วยจากอาการปวดเรื้อรังเกือบ 8 ล้านคน และอาการปวดหลัง คือ สาเหตุสำคัญอันดับ 2 ที่ทำให้ต้องลาหยุดงาน หรือไม่สามารถปฏิบัติงานตามปกติได้ ส่วนสหรัฐอเมริกามีรายงานว่า อาการปวดส่งผลกระทบต่อมูลค่าการผลิตในประเทศปี 2553 ประมาณ 297-335 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
"สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2554 พบว่า คนวัยทำงานออกกำลังกายน้อยกว่าคนวัยอื่นอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ คนวัยทำงานเพียง 23.7% เท่านั้นที่ออกกำลังกาย นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารไม่ครบ 5 หมู่ การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่"
อย่างไรก็ตาม อาการปวดสามารถบรรเทาได้ด้วยการยืดหยุ่นร่างกาย นายชิษณุพงศ์ ยะอ้อน นักวิทยาศาสตร์กายภาพ ระบุว่า ท่าบริหารจัดโครงสร้างและยืดหยุ่นร่างกายอย่างถูกวิธี สามารถช่วยให้หนุ่มสาวออฟฟิศบรรเทาอาการปวดเฉพาะส่วนซึ่งเกิดจากออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่งท่าบริหารอย่างง่ายที่สามารถนำไปปฏิบัติตามที่ทำงานได้ง่ายและบ่อยครั้ง มีทั้งหมด 6 ท่า ซึ่งจะช่วยเพิ่มสมรรถนะและความยืดหยุ่น รวมถึงผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ ไหล่ สะบัก หลัง และขา
ทั้งนี้ นายชิษณุพงศ์ ได้สาธิตท่าบริหารทั้ง 6 ท่า ดังนี้
ท่าที่ 1: บริหารต้นคอ เริ่มต้นด้วยการไขว้แขนขวาไปด้านหลัง เอียงคอไปด้านซ้าย แล้วเอื้อมมือซ้ายข้ามศีรษะไปวางแนบด้านข้างของศีรษะด้านขวา แล้วทำเช่นเดียวกันนี้กับอีกข้างหนึ่ง
ท่าที่ 2: บริหารบ่าและไหล่ ยืนตัวตรง ประสานมือเหยียดแขนไปข้างหน้า ก้มศีรษะพร้อมกับยืดตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ค้างไว้แล้วนับ 1-10
ท่าที่ 3: บริหารสะบักและหน้าอก ยืนตัวตรง กางแขนทั้งสองข้างออกในลักษณะตั้งฉาก แล้วค่อยๆ ดึงแขนไปด้านหลัง
ท่าที่ 4: บริหารขาด้านหลังและหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ชูแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ แล้วค่อยๆ ก้มตัวลงเอามือทั้งสองข้างวางแนบพื้นหรือแตะปลายเท้า โดยไม่งอเข่า
ท่าที่ 5: บริหารขาด้านหลัง น่อง และหลังส่วนล่าง ทำต่อเนื่องจากท่าที่ 4 โดยยังอยู่ในท่าก้มตัว สอดมือทั้งสองไว้ด้านหลัง หัวเข่า แล้วค่อยๆ งอเข่าทั้งสองข้าง ค้างไว้แล้วนับ 1-10
และ ท่าที่ 6: บริหารหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ ประสานมือเอาไว้ แล้วค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลัง