xs
xsm
sm
md
lg

วัยรุ่นเมืองกรุงกว่า 80% ยกนักกีฬา-นักร้อง-ดารา ประพฤติดีเป็น “ไอดอล”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วัยรุ่นไทยกว่า 82% เผยเอาแบบอย่างนักกีฬา-นักร้อง-นักแสดง ที่ทำตัวดี พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่าหากทำตัวไม่ดีจะส่งผลต่อตัวนักกีฬา-นักร้อง-นักแสดงเอง และครอบครัวอีก 74.9% ระบุว่าสังคมไม่ควรให้โอกาส เพราะพฤติกรรมเกิดซ้ำซาก
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
สำนักวิจัยสยามอินเตอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษา เปิดเผยความคิดเห็นโดยกลุ่มสำรวจเป็นเยาวชนไทยในกรุงเทพมหานคร ต่อข่าวการแสดงพฤติกรรมทางลบของนักร้อง-นักแสดง-นักกีฬา อายุระหว่าง 15-25 ปี จำนวน 1,036 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นในระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม-3 สิงหาคม 2556

เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนดังที่แสดงต่อสาธารณชน เยาวชนไทยส่วนใหญ่ติดตามข่าวการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักกีฬา-นักแสดง-นักร้อง ร้อยละ 82.92 จากการสำรวจสามารถสรุปได้ว่า ภาพลักษณ์ที่ดีของนักกีฬา-นักแสดง-นักร้อง ในความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง 3 อันดับสูงสุด ได้แก่ เป็นผู้ที่ใช้ความสามารถที่มีของตนเองในทางที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 82.14 เป็นแบบอย่าง/แรงบันดาลใจให้กับเยาวชนได้ปฏิบัติตาม คิดเป็นร้อยละ 80.01 และเป็นตัวอย่างให้กับสังคมในการปฏิบัติตัว คิดเป็นร้อยละ 74.03 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.75 และร้อยละ 69.31
ระบุว่า ภาพลักษณ์ที่ดีของนักกีฬา-นักแสดง-นักร้อง คือ ต้องเป็นผู้ที่สร้างความสุขให้กับคนไทยทุกคน และเป็นผู้ที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ตามลำดับ
 
สำหรับความคิดเห็นต่อข่าวเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักกีฬา-นักแสดง-นักร้อง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 78.28 ให้ความสนใจติดตามรายละเอียดข่าวประเภทดังกล่าว ส่วนความรู้สึกเมื่อได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักกีฬา-นักแสดง-นักร้อง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 31.27 รู้สึกสงสัยในข้อเท็จจริง ขณะที่เกือบหนึ่งในสี่ หรือคิดเป็นร้อยละ 24.33 รู้สึกโกรธ/โมโห และร้อยละ 12.26 รู้สึกเฉยๆ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 84.17 ระบุว่า ข่าวเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักกีฬา-นักแสดง-นักร้อง จะสร้างผลเสียให้กับตัวบุคคลที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมเอง ร้อยละ 81.95 ระบุว่าจะสร้างผลเสียให้กับครอบครัว ขณะที่ร้อยละ 78.67 ระบุว่าจะสร้างความเสียหายต่อประเภทกีฬา/ความบันเทิงที่เกี่ยวข้อง และร้อยละ 70.94 ระบุว่าจะสร้างความเสื่อมเสียให้กับประเทศชาติ ขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 38.71 ระบุว่าการเผยแพร่ภาพข่าวเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักกีฬา-นักแสดง-นักร้อง อาจส่งผลให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมเลียนแบบบ้าง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.89 ระบุว่าไม่ส่งผลเลย อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสี่ หรือคิดเป็นร้อยละ 24.23 ระบุว่าส่งผลมาก สำหรับความคิดเห็นต่อการให้โอกาสของสังคมกับนักกีฬา-นักแสดง-นักร้อง ที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม แต่ออกมาแสดงความสำนึกและยอมรับผิดนั้น กลุ่มตัวอย่างประมาณสามในสี่ หรือคิดเป็นร้อยละ 75.39 ระบุว่า สังคมควรให้โอกาสต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่ หรือร้อยละ 77.32 ระบุว่าจำเป็นต้องลงโทษนักกีฬา-นักแสดง-นักร้อง ตามกฎหมายหรือข้อกำหนดถึงแม้นักกีฬา-นักแสดง-นักร้องผู้นั้นจะออกมายอมรับผิดและแสดงความสำนึกกับการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างถึงเกือบสามในสี่ หรือคิดเป็นร้อยละ 74.9 ระบุว่า สังคมไม่สมควรให้โอกาสกับนักกีฬา-นักแสดง-นักร้องที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เพราะเกิดซ้ำซากและบ่อยครั้ง


กำลังโหลดความคิดเห็น