xs
xsm
sm
md
lg

กทม.ผุดโครงการกระตุ้นการอ่านในเด็ก นำร่องดุสิต-ราษฎร์บูรณะ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กทม.เร่งกระตุ้นการอ่านในเด็ก นำร่องดุสิต-ราษฎร์บูรณะ วอนทุกฝ่ายปลุกนิสัยอ่านยั่งยืนพร้อมผลักดันเป็นนโยบายอย่างยั่งยืน

วันนี้ (1 ส.ค.) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็ก (Book Start) ตามโครงการรณรงค์ให้กรุงเทพฯเป็นมหานครแห่งการอ่าน (Bangkok Read for Life) ในพื้นที่นำร่องเขตดุสิต และเขตราษฎร์บูรณะ รวมถึงสรุปผลการวิจัย สรุปผลการจัดกิจกรรม และมอบผลงานให้กับห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ดุสิต และห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้เขตราษฎร์บูรณะ

นางนินนาท กล่าวว่า ที่ผ่านมามามีคำติติงว่า กทม.ใช้เงินมากมาย แต่ผลความสำเร็จยังน้อย ซึ่งจริงๆ แล้วคนอ่านหนังสือน้อย กทม.ไม่ได้สร้างขึ้น แต่เป็นมานานแล้ว หากจะเปลี่ยนนิสัยหรือพฤติกรรมเป็นเรื่องยากมาก โดยเฉพาะเรื่องการอ่านเป็นเรื่องที่ผู้คนบ้านเมืองเราไม่ค่อยชอบ ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่าง อาทิ สภาพภูมิประเทศบ้านเราก็สบาย ลมแรง แต่ก่อนหนังสือดีๆ ก็มีน้อย ทำให้บางครั้งคนก็ไม่ได้อ่านหนังสือ จึงสะสมการไม่ได้อ่านหนังสือมาเรื่อยๆ

นางนินนาท กล่าวต่อว่า วันนี้ กทม.ไม่โทษใคร แต่ กทม.จะสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้น ดังนั้นทุกอย่างจึงต้องค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งโครงการนี้จึงจำเป็นการส่งเสริมการอ่านอย่างยั่งยืน โดยทำตามแนวพระราชดำริค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม ตนขอให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานอย่าเสียกำลังใจตามที่สังคมติติง ขอให้มีกำลังใจต่อสู้กับแรงกดดัน เพื่อให้สิ่งที่ถูกติไปเพิ่มในสิ่งที่ทำให้ก้าวหน้า

ด้านรศ.ดร.ปัทมาวดี เล่ห์มงคล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัย กล่าวสรุปผลการศึกษาการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็ก ว่า โครงการนี้มีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาฯ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ครอบครัว (โรงพยาบาล) ประกอบด้วย แม่ตั้งครรภ์ และแม่ที่มีลูกวัยแรกเกิดถึง 3 ปี 2.ชุมชน ประกอบด้วย เยาวชน ประชาชน 3.โรงเรียนอนุบาล-ประถม ประกอบด้วย ครู ครูบรรณารักษ์ ครูพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นักเรียน ผู้ปกครอง โดย 1.ในกิจกรรมส่งเสริมการอ่านระดับครอบครัวโรงพยาบาลสร้างสมอง มีการมอบชุดหนังสือเล่มแรก (Book Start) แก่แม่ตั้งครรภ์ การอ่านสร้างสรรค์ รวมถึงอบรมแม่ที่มีลูก 0-3 ปี และมอบชุดหนังสือเล่มแรก(Book Start) แก่แม่ที่มีลูก 0-3 ปี ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ทั้งกลุ่มแม่ตั้งครรภ์และกลุ่มแม่ที่มีลูกวัย 0-3 ปี มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

รศ.ดร.ปัทมาวดี กล่าวต่อว่า 2.กิจกรรมส่งเสริมการอ่านระดับชุมชนทอดน่อง ท่องชุมชน มีเยาวชน 13-18 ปี สำรวจของดีในชุมชนตนเอง จากข้อมูลพบว่า เยาวชนและประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งเขตดุสิตและเขตราษฎร์บูรณะมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในระดับมากถึงมากที่สุด และ 3.กิจกรรมส่งเสริมการอ่านระดับโรงเรียนเสริมศักยภาพบุคลากร มีการอบรมครูระดับอนุบาล-ประถมศึกษา ในฐานการเรียนรู้ต้นแบบ ระดับอนุบาล-ประถมต้นสุดยอดจินตนาการจากนักอ่านรุ่นเยาว์ จากข้อมูลพบว่า ครู และผู้เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อการอบรมในระดับมากทุกรายการ โดยมีข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มระยะเวลาอบรม

รศ.ดร.ปัทมาวดี กล่าวว่า ทั้งนี้ ภาพรวมสรุปผลการวิจัย 1.การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านทั้งในระดับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทุกกลุ่มเป้าหมายได้ครบถ้วน ตามที่กาหนด 2.การกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการอ่าน ต้องมีกิจกรรมเสริมหลากหลายและครอบคลุม จึงจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม 3.การสร้างการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งด้านส่งเสริมการอ่านของกรุงเทพมหานคร ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นองค์รวม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทาให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ 4.เกิดกิจกรรมต้นแบบ(model) การส่งเสริมการอ่านในเด็ก เพื่อนำไปเป็นแนวปฏิบัติสาหรับการดาเนินงานระยะที่ 2 ของกทม.

รศ.ดร.ปัทมาวดี กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอแนะควรสร้างพื้นฐานที่วัยเด็กเล็กและควรจัดอย่างสม่าเสมอ ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในเชิงของการสร้างวัฒนธรรม 2.การสร้างสภาพแวดล้อมและโอกาสด้านการอ่านที่มีคุณภาพ ครอบครัวและผู้เกี่ยวข้องมีบทบาทสำคัญ จึงควรสร้างความรู้ความเข้าใจและวิธีการส่งเสริมการอ่านสาหรับเด็กให้อย่างสม่ำเสมอ 3.การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็กและเยาวชน กลุ่มอายุ 10-12 ปี และ 13-18 ปี ควรจัดอย่างต่อเนื่องในระบบโรงเรียน รวมทั้งควรมีรูปแบบที่หลากหลาย ทันสมัย สอดคล้องกับความสนใจตามวัย 4.การขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ต้องผสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งในระดับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม จริงจัง และต่อเนื่อง โดยการผลักดันให้เป็นนโยบายที่ชัดเจนของ กทม.
 

กำลังโหลดความคิดเห็น