วงประชุมแร่ใยหินยันชนิดไครโซไทล์ก่อมะเร็งเฉพาะกลุ่มคนงานเหมือง และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ ไม่กระทบชุมชน ชี้เคสผู้ป่วยจากแร่ใยหินยังมีน้อย เตรียมปรับการคัดกรองโรคจากการทำงาน คาดเสนอผลการศึกษาเข้า ครม.ปลาย ส.ค.นี้
วันนี้ (29 ก.ค.) นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศึกษาข้อเท็จจริงผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการ ว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2554 เรื่องมาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน ขณะนี้ถือว่าไทยยกเลิกการใช้แร่ใยหินที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเป็นสารก่อมะเร็งทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงชนิดไครโซไทล์เพียงชนิดเดียว เนื่องจากเมื่อเทียบกับแร่ใยหินชนิดอื่นแล้ว มีโอกาสก่อให้เกิดมะเร็งได้น้อยกว่า นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าแร่ใยหินชนิดนี้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าก่อให้เกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอดเฉพาะกลุ่มคนงานเหมืองแร่ใยหิน และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินชนิดนี้เป็นส่วนประกอบเท่านั้น เนื่องจากมีการสัมผัสฝุ่นใยหินโดยตรง แต่หากมีมาตรการคุมระดับฝุ่นและการฟุ้งกระจายของแร่ใยหินให้ไม่เกิน 0.1 ไฟเบอร์ต่อซีซีต่อปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการก่ออันตรายต่อสุขภาพ ส่วนในพื้นที่ชุมชนนั้นยังไม่พบการฟุ้งกระจาย
นพ.ชาญวิทย์ กล่าวอีกว่า ส่วนข้อมูลการศึกษาเคสผู้ป่วยจากแร่ใยหินของประเทศไทยจากโรงพยาบาลโรคทรวงอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ยังมีจำนวนน้อยอยู่เพียง 12 ราย และที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับแร่ใยหินมีเพียง 5 รายเท่านั้น ซึ่งถือเป็นโอกาสดีในการปรับปรุงระบบการตรวจวินิจฉัยการคัดกรองและการเฝ้าระวังโรคจากแร่ใยหิน ซึ่งจะไม่จำเพาะเพียงแต่โรคนีร้เท่านั้น ยังรวมไปถึงโรคที่เกิดจากการทำงานอื่นๆ ด้วย
“หลังจากนี้จะมีการทำหนังสือเวียนไปยังคณะกรรมการทุกคน เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ตรงกัน หากไม่มีการแก้ไขรายงานการประชุม คาดว่าจะสามารถนำผลการศึกษาเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ได้ ภายในสิ้นเดือน ส.ค.2556” รองปลัด สธ.กล่าว
วันนี้ (29 ก.ค.) นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศึกษาข้อเท็จจริงผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการ ว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2554 เรื่องมาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน ขณะนี้ถือว่าไทยยกเลิกการใช้แร่ใยหินที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเป็นสารก่อมะเร็งทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงชนิดไครโซไทล์เพียงชนิดเดียว เนื่องจากเมื่อเทียบกับแร่ใยหินชนิดอื่นแล้ว มีโอกาสก่อให้เกิดมะเร็งได้น้อยกว่า นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าแร่ใยหินชนิดนี้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าก่อให้เกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอดเฉพาะกลุ่มคนงานเหมืองแร่ใยหิน และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินชนิดนี้เป็นส่วนประกอบเท่านั้น เนื่องจากมีการสัมผัสฝุ่นใยหินโดยตรง แต่หากมีมาตรการคุมระดับฝุ่นและการฟุ้งกระจายของแร่ใยหินให้ไม่เกิน 0.1 ไฟเบอร์ต่อซีซีต่อปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการก่ออันตรายต่อสุขภาพ ส่วนในพื้นที่ชุมชนนั้นยังไม่พบการฟุ้งกระจาย
นพ.ชาญวิทย์ กล่าวอีกว่า ส่วนข้อมูลการศึกษาเคสผู้ป่วยจากแร่ใยหินของประเทศไทยจากโรงพยาบาลโรคทรวงอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ยังมีจำนวนน้อยอยู่เพียง 12 ราย และที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับแร่ใยหินมีเพียง 5 รายเท่านั้น ซึ่งถือเป็นโอกาสดีในการปรับปรุงระบบการตรวจวินิจฉัยการคัดกรองและการเฝ้าระวังโรคจากแร่ใยหิน ซึ่งจะไม่จำเพาะเพียงแต่โรคนีร้เท่านั้น ยังรวมไปถึงโรคที่เกิดจากการทำงานอื่นๆ ด้วย
“หลังจากนี้จะมีการทำหนังสือเวียนไปยังคณะกรรมการทุกคน เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ตรงกัน หากไม่มีการแก้ไขรายงานการประชุม คาดว่าจะสามารถนำผลการศึกษาเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ได้ ภายในสิ้นเดือน ส.ค.2556” รองปลัด สธ.กล่าว