สมาคม ร.ร.เอกชน พบ “จาตุรนต์” วอนยกเลิกคำนวณเพิ่มเงินเดือนครูจากค่าเฉลี่ย แนะคำนวณตามความจริง พร้อมเผยการสอบครูของ ร.ร.รัฐทำให้ ร.ร.เอกชนมีปัญหาสมองไหล รวมไปถึงการขยายห้องเรียน ม.1 และ ม.4 ทำให้เด็กหันมาเลือกเรียน ร.ร.เอกชนและสายอาชีพลดลง
ดร.จิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์ นายกสมาคมสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนพร้อมด้วยคณะผู้แทนจาก 14 สมาคมการศึกษาเอกชนของไทยได้เข้าพบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ดังนี้ ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้บุคลากรภาครัฐที่จบระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินเดือน 15,000 บาท ทำให้โรงเรียนเอกชนต้องปรับเงินเดือนเพิ่มให้กับครูที่มีเงินเดือนไม่ถึงอัตราดังกล่าวคิดเป็น 59.95% ซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตทั้งโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก เพราะฉะนั้นจึงอยากขอให้ นายจาตุรนต์ หาแนวทางการสนับสนุนการปรับเพิ่มเงินเดือนครูโดยการคำนวณจากสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่จากค่าเฉลี่ย
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นในการเพิ่มเงินอุดหนุนรายบุคคลทุกระดับการศึกษาให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ซึ่งสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้คำนวณไว้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 อัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายบุคคลและค่าธรรมเนียมการศึกษา ปัจจุบัน 11,060 บาท ซึ่งจากการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่าควรปรับเพิ่มเป็น 14,900 บาท เพิ่มขึ้น 3,834 บาท โรงเรียนเอกชนก็จะรักษาสภาพได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ปรับเพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบันด้วย
“อยากเรียกร้องให้โรงเรียนรัฐเลื่อนการรับสมัครครูในช่วงกลางปีออกไปเป็นปิดภาคการศึกษา (มี.ค.-เม.ย.) แทน เพราะนี่เป็นปัญหาใหญมากของโรงเรียนเอกชน เพราะครูที่โรงเรียนรัฐส่วนใหญ่ไปจากเรา เพราะล้วนแต่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและจบระดับปริญญาตรีตามที่กำหนด ซึ่งส่งผลกระทบมากต่อการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนทั้งต่อตัวเด็กที่เสียโอกาสในการเรียนรู้และปัญหาในการหาครูมาสอนกลางปี ขณะเดียวกัน การขยายห้องเรียนเพิ่มมากขึ้นของโรงเรียนรัฐบาล ทั้งในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ มัธยมศึกษาปีที่ 4 ยังเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้นักเรียนเลือกเรียนโรงเรียนเอกชนทั้งสายสามัญและสายอาชีพน้อยลงด้วย” นายกสมาคม กล่าว
ด้าน นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ทราบว่าสถานศึกษาเอกชนประสบปัญหาในหลายเรื่องที่รอการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบ ผลกระทบบางด้านจากนโยบายมาตรการของรัฐบาล ทั้งที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุน เกิดปัญหาสมองไหล หรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน จึงขอให้เอกชนคิดหาวิธี หรืออาจจะจัดเวิร์กชอปเพื่อรับฟังความคิดเห็น รวบรวมประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาเอกชนทั้งหมด ทั้งในแง่ผลกระทบและความต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ และนำเสนอมากลับมาเพื่อจะได้หาเวลาจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นร่วมกันจากทุกส่วน เพื่อที่จะได้รับฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึง และครอบคลุมทุกประเด็นปัญหา
ดร.จิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์ นายกสมาคมสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนพร้อมด้วยคณะผู้แทนจาก 14 สมาคมการศึกษาเอกชนของไทยได้เข้าพบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ดังนี้ ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้บุคลากรภาครัฐที่จบระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินเดือน 15,000 บาท ทำให้โรงเรียนเอกชนต้องปรับเงินเดือนเพิ่มให้กับครูที่มีเงินเดือนไม่ถึงอัตราดังกล่าวคิดเป็น 59.95% ซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตทั้งโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก เพราะฉะนั้นจึงอยากขอให้ นายจาตุรนต์ หาแนวทางการสนับสนุนการปรับเพิ่มเงินเดือนครูโดยการคำนวณจากสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่จากค่าเฉลี่ย
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นในการเพิ่มเงินอุดหนุนรายบุคคลทุกระดับการศึกษาให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ซึ่งสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้คำนวณไว้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 อัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายบุคคลและค่าธรรมเนียมการศึกษา ปัจจุบัน 11,060 บาท ซึ่งจากการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่าควรปรับเพิ่มเป็น 14,900 บาท เพิ่มขึ้น 3,834 บาท โรงเรียนเอกชนก็จะรักษาสภาพได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ปรับเพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบันด้วย
“อยากเรียกร้องให้โรงเรียนรัฐเลื่อนการรับสมัครครูในช่วงกลางปีออกไปเป็นปิดภาคการศึกษา (มี.ค.-เม.ย.) แทน เพราะนี่เป็นปัญหาใหญมากของโรงเรียนเอกชน เพราะครูที่โรงเรียนรัฐส่วนใหญ่ไปจากเรา เพราะล้วนแต่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและจบระดับปริญญาตรีตามที่กำหนด ซึ่งส่งผลกระทบมากต่อการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนทั้งต่อตัวเด็กที่เสียโอกาสในการเรียนรู้และปัญหาในการหาครูมาสอนกลางปี ขณะเดียวกัน การขยายห้องเรียนเพิ่มมากขึ้นของโรงเรียนรัฐบาล ทั้งในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ มัธยมศึกษาปีที่ 4 ยังเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้นักเรียนเลือกเรียนโรงเรียนเอกชนทั้งสายสามัญและสายอาชีพน้อยลงด้วย” นายกสมาคม กล่าว
ด้าน นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ทราบว่าสถานศึกษาเอกชนประสบปัญหาในหลายเรื่องที่รอการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบ ผลกระทบบางด้านจากนโยบายมาตรการของรัฐบาล ทั้งที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุน เกิดปัญหาสมองไหล หรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน จึงขอให้เอกชนคิดหาวิธี หรืออาจจะจัดเวิร์กชอปเพื่อรับฟังความคิดเห็น รวบรวมประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาเอกชนทั้งหมด ทั้งในแง่ผลกระทบและความต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ และนำเสนอมากลับมาเพื่อจะได้หาเวลาจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นร่วมกันจากทุกส่วน เพื่อที่จะได้รับฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึง และครอบคลุมทุกประเด็นปัญหา