ปัจจุบันการใช้ชีวิตของคนเราถูกจำกัดด้านพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมของคนเมือง จากการที่เคยใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติกลับกลายเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่แต่ในตึกทั้งวัน ทั้งการอาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่มีพื้นที่ภายนอกตัวบ้านมากนัก คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ แฟลต ตึกแถว และการต้องทำงานอยู่แต่ในตึกสูงหรืออาคารที่เปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวันไม่เคยได้รับอากาศจากธรรมชาติเลย จึงส่งผลให้บางคนเกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดต้นคอ ระคายจมูก หายใจขัด มีอาการภูมิแพ้ เป็นผื่นคันตามผิวหนัง
อาการเช่นนี้มักจะเป็นๆ หายๆ โดยถ้าเปลี่ยนสถานที่หรือย้ายออกไปอยู่ที่อื่นที่มีสภาพใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น อาการเหล่านี้อาจจะลดลงหรือหายไปเองได้ แต่เมื่อกลับมาอยู่ที่ตึกอีกก็จะกลับไปมีอาการป่วยเหมือนอย่างเดิมอีก ซึ่งอาการเช่นนี้เรียกกันว่าเป็น “โรคแพ้ตึก” (Sick Building Syndrome) นั่นเอง
ดังนั้น ถ้าคุณเป็นผู้หนึ่งที่มีอาการเช่นนี้ที่ใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องอยู่ในตึกทั้งวันทั้งคืน ถือว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคแพ้ตึกได้ ซึ่งองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่าโรคนี้กำลังเป็นภาวะที่คุกคามต่อสุขภาพของคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในตึกมากยิ่งขึ้นทุกวัน จึงต้องหาวิธีแก้ไขเพื่อไม่ให้สุขภาพของเราย่ำแย่
สาเหตุของการเป็นโรคแพ้ตึก
1.การระบายอากาศไม่ดี การที่ตึกมีการปิดประตูและหน้าต่างมิดชิดโดยเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ทำให้การถ่ายเทอากาศมีน้อย การหมุนเวียนอากาศในตึกจึงไม่ดึ ซึ่งส่งผลให้ภายในห้องขาดอากาศบริสุทธิ์ ทำให้คนที่อยู่ภายในนั้นมีปัญหาในเรื่องของระบบการหายใจและรับสารพิษจากสิ่งต่างๆ เช่น สารเคมีจากหมึกพิมพ์หรือจากกระดาษ เข้าไปในร่างกายโดยที่ไม่รู้ตัว
2.เชื้อโรคหรือสารพิษจากตัวคน การที่มีคนจำนวนมากมาแออัดอยู่รวมกันในสถานที่แห่งเดียวกันเป็นเวลานานๆ แน่นอนว่าเป็นการง่ายที่จะเกิดโรคติดต่อจากการไอ จาม ทำให้เชื้อโรควนเวียนกระจายอยู่ทั่วตึก และการได้รับสารพิษที่เกิดจากบุหรี่ที่คนในที่ทำงานสูบ
3.ภัยจากอุปกรณ์ภายในห้อง
-เครื่องปรับอากาศ ชีวิตของคนอยู่ในตึกมักจะนิยมใช้เครื่องปรับอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งประโยชน์หลักของแอร์ ก็คือการให้ความเย็น แต่ในขณะเดียวกันถ้าแอร์สกปรกไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างถูกสุขอนามัยแล้วก็จะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียที่แพร่กระจายทางอากาศ ส่งผลให้เกิดโรคภูมิแพ้ หอบหืด วัณโรค
- เฟอร์นิเจอร์ ม่าน เพดาน พรม ไม่ค่อยได้เปลี่ยน ไม่ค่อยได้ซักหรือไม่ค่อยได้ทำความสะอาดอย่างเหมาะสม จึงมีฝุ่น มีคราบเกาะอยู่ ซึ่งทำให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคนานาชนิด โดยเฉพาะพรมปูพื้นซึ่งมักมีส่วนผสมของฟอร์มัลดิไฮด์ที่ปล่อยสารเป็นไอระเหยซึ่งมีผลต่อระบบหายใจและทำให้ผิวหนังเกิดความระคายเคืองเป็นผื่นคัน
นอกจากนี้ สิ่งสกปรกในห้องน้ำ เชื้อโรคในลิฟต์ และขยะที่ถูกทิ้งค้างคืนไว้ในห้อง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยต่อสุขภาพของเราได้เช่นกัน
ซึ่งอาการเจ็บป่วยต่างๆที่เกิดขึ้นนี้เป็นการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุมาจากตึกเป็นพิษ ( Building Related Illness) ซึ่งอาจจะไม่ได้ทำให้คุณเจ็บป่วยในทันทีทันใด แต่จะทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอสะสมลงเรื่อยๆ จนถึงขั้นป่วยหนักในที่สุด
วิธีป้องกันการเกิดโรคแพ้ตึก
1.ควรเปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และควรให้มีแสงแดดส่องเข้ามาในห้องบ้าง
2.ควรมีการทำความสะอาดและล้างตู้แอร์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
3.ควรมีเครื่องฟอกอากาศภายในห้องและในสำนักงาน และในห้องครัวควรมีเครื่องดูดควัน
4.ควรทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ ม่าน พรม อย่างสม่ำเสมอ
5.ไม่สร้างมลพิษภายในห้องด้วยการไม่สูบบุหรี่ในห้องหรือในตัวอาคาร และเมื่อสูบบุหรี่เสร็จแล้วต้องทำความสะอาดมือและปากให้กลิ่นบุหรี่หมดไป
6.ควรมีอุปกรณ์ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคติดตัวไว้เสมอ เช่น กระดาษทิชชู่เปียก เจลล้างมือ สเปรย์ฆ่าเชื้อโรค
7.ทิ้งขยะทุกวันอย่าให้มีขยะตกค้างข้ามวันข้ามคืน และควรแยกถังขยะตามชนิด ทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะมีพิษ ขยะไม่มีพิษ ตลอดจนใช้ถังขยะที่มีฝาปิด และมีถุงดำใส่ไว้ให้เรียบร้อย
8.ปลูกต้นไม้ที่มีคุณสมบัติช่วยฟอกอากาศได้ดี เช่น ต้นเฟิร์นบอสตัน, ต้นเศรษฐีเรือนนอก, ต้นวาสนา
9.วันหยุดหรือยามว่างแทนที่จะไปเดินห้างควรไปท่องเที่ยวใกล้ชิดกับธรรมชาติบ้าง เช่น ไปนั่งเล่นสวนสาธารณะ ไปทะเล เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย
ยิ่งนับวันคนเราก็ยิ่งมีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเป็นอยู่มากขึ้น จากที่เคยอยู่อาศัยกันในบ้านเดี่ยวมีบริเวณให้เดินเล่น ก็กลายเป็นมาอยู่คอนโดตึกสูงๆ กัน จากที่เคยทำงานในอาคารโล่งๆ เปิดหน้าต่างรับลมเย็นตามธรรมชาติก็ต้องมาอยู่ในตึกรับลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศแทน ดังนั้น โรคแพ้ตึกและอาการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุมาจากตึกเป็นพิษก็จะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นเช่นกัน เราจึงควรหาวิธีป้องกันดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อเราจะได้มีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บไม่ป่วย จะได้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขนั่นเอง
อาการเช่นนี้มักจะเป็นๆ หายๆ โดยถ้าเปลี่ยนสถานที่หรือย้ายออกไปอยู่ที่อื่นที่มีสภาพใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น อาการเหล่านี้อาจจะลดลงหรือหายไปเองได้ แต่เมื่อกลับมาอยู่ที่ตึกอีกก็จะกลับไปมีอาการป่วยเหมือนอย่างเดิมอีก ซึ่งอาการเช่นนี้เรียกกันว่าเป็น “โรคแพ้ตึก” (Sick Building Syndrome) นั่นเอง
ดังนั้น ถ้าคุณเป็นผู้หนึ่งที่มีอาการเช่นนี้ที่ใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องอยู่ในตึกทั้งวันทั้งคืน ถือว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคแพ้ตึกได้ ซึ่งองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่าโรคนี้กำลังเป็นภาวะที่คุกคามต่อสุขภาพของคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในตึกมากยิ่งขึ้นทุกวัน จึงต้องหาวิธีแก้ไขเพื่อไม่ให้สุขภาพของเราย่ำแย่
สาเหตุของการเป็นโรคแพ้ตึก
1.การระบายอากาศไม่ดี การที่ตึกมีการปิดประตูและหน้าต่างมิดชิดโดยเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ทำให้การถ่ายเทอากาศมีน้อย การหมุนเวียนอากาศในตึกจึงไม่ดึ ซึ่งส่งผลให้ภายในห้องขาดอากาศบริสุทธิ์ ทำให้คนที่อยู่ภายในนั้นมีปัญหาในเรื่องของระบบการหายใจและรับสารพิษจากสิ่งต่างๆ เช่น สารเคมีจากหมึกพิมพ์หรือจากกระดาษ เข้าไปในร่างกายโดยที่ไม่รู้ตัว
2.เชื้อโรคหรือสารพิษจากตัวคน การที่มีคนจำนวนมากมาแออัดอยู่รวมกันในสถานที่แห่งเดียวกันเป็นเวลานานๆ แน่นอนว่าเป็นการง่ายที่จะเกิดโรคติดต่อจากการไอ จาม ทำให้เชื้อโรควนเวียนกระจายอยู่ทั่วตึก และการได้รับสารพิษที่เกิดจากบุหรี่ที่คนในที่ทำงานสูบ
3.ภัยจากอุปกรณ์ภายในห้อง
-เครื่องปรับอากาศ ชีวิตของคนอยู่ในตึกมักจะนิยมใช้เครื่องปรับอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งประโยชน์หลักของแอร์ ก็คือการให้ความเย็น แต่ในขณะเดียวกันถ้าแอร์สกปรกไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างถูกสุขอนามัยแล้วก็จะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียที่แพร่กระจายทางอากาศ ส่งผลให้เกิดโรคภูมิแพ้ หอบหืด วัณโรค
- เฟอร์นิเจอร์ ม่าน เพดาน พรม ไม่ค่อยได้เปลี่ยน ไม่ค่อยได้ซักหรือไม่ค่อยได้ทำความสะอาดอย่างเหมาะสม จึงมีฝุ่น มีคราบเกาะอยู่ ซึ่งทำให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคนานาชนิด โดยเฉพาะพรมปูพื้นซึ่งมักมีส่วนผสมของฟอร์มัลดิไฮด์ที่ปล่อยสารเป็นไอระเหยซึ่งมีผลต่อระบบหายใจและทำให้ผิวหนังเกิดความระคายเคืองเป็นผื่นคัน
นอกจากนี้ สิ่งสกปรกในห้องน้ำ เชื้อโรคในลิฟต์ และขยะที่ถูกทิ้งค้างคืนไว้ในห้อง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยต่อสุขภาพของเราได้เช่นกัน
ซึ่งอาการเจ็บป่วยต่างๆที่เกิดขึ้นนี้เป็นการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุมาจากตึกเป็นพิษ ( Building Related Illness) ซึ่งอาจจะไม่ได้ทำให้คุณเจ็บป่วยในทันทีทันใด แต่จะทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอสะสมลงเรื่อยๆ จนถึงขั้นป่วยหนักในที่สุด
วิธีป้องกันการเกิดโรคแพ้ตึก
1.ควรเปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และควรให้มีแสงแดดส่องเข้ามาในห้องบ้าง
2.ควรมีการทำความสะอาดและล้างตู้แอร์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
3.ควรมีเครื่องฟอกอากาศภายในห้องและในสำนักงาน และในห้องครัวควรมีเครื่องดูดควัน
4.ควรทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ ม่าน พรม อย่างสม่ำเสมอ
5.ไม่สร้างมลพิษภายในห้องด้วยการไม่สูบบุหรี่ในห้องหรือในตัวอาคาร และเมื่อสูบบุหรี่เสร็จแล้วต้องทำความสะอาดมือและปากให้กลิ่นบุหรี่หมดไป
6.ควรมีอุปกรณ์ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคติดตัวไว้เสมอ เช่น กระดาษทิชชู่เปียก เจลล้างมือ สเปรย์ฆ่าเชื้อโรค
7.ทิ้งขยะทุกวันอย่าให้มีขยะตกค้างข้ามวันข้ามคืน และควรแยกถังขยะตามชนิด ทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะมีพิษ ขยะไม่มีพิษ ตลอดจนใช้ถังขยะที่มีฝาปิด และมีถุงดำใส่ไว้ให้เรียบร้อย
8.ปลูกต้นไม้ที่มีคุณสมบัติช่วยฟอกอากาศได้ดี เช่น ต้นเฟิร์นบอสตัน, ต้นเศรษฐีเรือนนอก, ต้นวาสนา
9.วันหยุดหรือยามว่างแทนที่จะไปเดินห้างควรไปท่องเที่ยวใกล้ชิดกับธรรมชาติบ้าง เช่น ไปนั่งเล่นสวนสาธารณะ ไปทะเล เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย
ยิ่งนับวันคนเราก็ยิ่งมีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเป็นอยู่มากขึ้น จากที่เคยอยู่อาศัยกันในบ้านเดี่ยวมีบริเวณให้เดินเล่น ก็กลายเป็นมาอยู่คอนโดตึกสูงๆ กัน จากที่เคยทำงานในอาคารโล่งๆ เปิดหน้าต่างรับลมเย็นตามธรรมชาติก็ต้องมาอยู่ในตึกรับลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศแทน ดังนั้น โรคแพ้ตึกและอาการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุมาจากตึกเป็นพิษก็จะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นเช่นกัน เราจึงควรหาวิธีป้องกันดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อเราจะได้มีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บไม่ป่วย จะได้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขนั่นเอง