อินเดียกะเทาะปัญหาเด็กไทยอ่านหนังสือน้อย เพราะไม่มีการเลือกวรรณกรรมดีๆ ให้อ่าน แนะเสิร์ฟวรรณกรรมร่วมสมัย ที่มีการถ่ายทอดวิถีชีวิตสังคมให้เหมาะสมกับช่วงอายุ จะช่วยพัฒนาการอ่านได้มาก สศร.เล็งประสาน ศธ.เอาอย่าง แนะ ส.นักเขียนเปิดโลกวรรณกรรมในโซเชียลเน็ตเวิร์ก
นายเขมชาติ เทพไชย ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวในงานเสวนาเปิดโลกวรรณกรรมไทย-อินเดีย ว่า วธ.และกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ได้ลงนามในแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับ อินเดีย สศร.จึงได้เชิญนักกวีอินเดีย เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักเขียนไทย-อินเดีย ขึ้น เพื่อให้นักเขียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมอง ตลอดจนทัศนคติที่มีต่อการสร้างสรรค์งานวรรณกรรมร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอินเดีย มีผลผลิตงานวรรณกรรมมากมายที่แปลเป็นภาษาอื่นๆ และได้รับความสนใจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ก็รับวรรณกรรมเก่าแก่ของอินเดียมาแปลเพื่อศึกษา โดยเฉพาะเรื่องรามายณะ มหาภารตะ และงานกวีร่วมสมัยต่างๆ จึงเป็นโอกาสอันดีที่สองประเทศจะได้เปิดโอกาสให้นักเขียนและนักวิชาการวรรณกรรมของไทยได้รับทราบข้อมูล หรือองค์ความรู้ทางวรรณศิลป์ เพื่อประกอบการศึกษาและการทำงาน เพื่อได้แง่มุมที่เป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรม และส่งผลไปสู่ความร่วมมือทางวรรณศิลป์อื่นๆ ในอนาคตด้วย
ผอ.สศร.กล่าวต่อไปว่า งานวรรณกรรมร่วมสมัยของอินเดีย ได้ถ่ายทอดวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมถึงความไม่เท่าเทียมทางสังคม และความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม และ ขนบธรรมเนียมประเพณี ออกมา ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ตนคิดว่าวรรณกรรม จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถสร้างความเข้าใจในบริบทความแตกต่าง ระหว่างประเทศ และยังถ่ายทอดเสนอแนะทางออกให้กับสังคมของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากการหารือร่วมกัน พบว่าในด้านการเรียนการสอนของประเทศอินเดีย กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการคัดเลือกหนังสือดีๆ ให้แก่สถาบันการศึกษาเพื่อให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสได้เรียนรู้งานวรรณกรรมของประเทศตนเอง ในขณะที่ประเทศไทย เห็นว่า เด็กและเยาวชนมีโอกาสเข้าถึงงานวรรณกรรมน้อยมาก ดังนั้น จึงได้หารือถึงการส่งเสริมงานวรรณกรรมให้เข้าถึงสถานศึกษา ซึ่งทางอินเดียได้แนะนำ สศร.ว่า ควรจะคัดวรรณกรรมร่วมสมัย ที่มีเนื้อหาดี มีประโยชน์ และเหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงอายุ จัดส่งไปยังสถานศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาการอ่านมากขึ้น พร้อมทั้งประสานกับการทรวงศึกษาธิการ ประเมินผลการอ่านของเด็กด้วย
“สศร.จะประสานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อหาแนวทางสอดแทรกวรรณกรรมร่วมสมัยสู่สถานศึกษา ในรูปแบบสร้างกิจกรรมร่วมกับการเรียนการสอนในสายการศึกษาสามัญ การศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษานอกระบบ ได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งประสานกับสถาบันการอ่าน สมาคมนักเขียน เพื่อเปิดโลกวรรณกรรมในระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเข้าถึงการอ่านของเด็กและเยาวชน” นายเขมชาติ กล่าว
นายเขมชาติ เทพไชย ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวในงานเสวนาเปิดโลกวรรณกรรมไทย-อินเดีย ว่า วธ.และกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ได้ลงนามในแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับ อินเดีย สศร.จึงได้เชิญนักกวีอินเดีย เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักเขียนไทย-อินเดีย ขึ้น เพื่อให้นักเขียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมอง ตลอดจนทัศนคติที่มีต่อการสร้างสรรค์งานวรรณกรรมร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอินเดีย มีผลผลิตงานวรรณกรรมมากมายที่แปลเป็นภาษาอื่นๆ และได้รับความสนใจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ก็รับวรรณกรรมเก่าแก่ของอินเดียมาแปลเพื่อศึกษา โดยเฉพาะเรื่องรามายณะ มหาภารตะ และงานกวีร่วมสมัยต่างๆ จึงเป็นโอกาสอันดีที่สองประเทศจะได้เปิดโอกาสให้นักเขียนและนักวิชาการวรรณกรรมของไทยได้รับทราบข้อมูล หรือองค์ความรู้ทางวรรณศิลป์ เพื่อประกอบการศึกษาและการทำงาน เพื่อได้แง่มุมที่เป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรม และส่งผลไปสู่ความร่วมมือทางวรรณศิลป์อื่นๆ ในอนาคตด้วย
ผอ.สศร.กล่าวต่อไปว่า งานวรรณกรรมร่วมสมัยของอินเดีย ได้ถ่ายทอดวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมถึงความไม่เท่าเทียมทางสังคม และความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม และ ขนบธรรมเนียมประเพณี ออกมา ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ตนคิดว่าวรรณกรรม จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถสร้างความเข้าใจในบริบทความแตกต่าง ระหว่างประเทศ และยังถ่ายทอดเสนอแนะทางออกให้กับสังคมของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากการหารือร่วมกัน พบว่าในด้านการเรียนการสอนของประเทศอินเดีย กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการคัดเลือกหนังสือดีๆ ให้แก่สถาบันการศึกษาเพื่อให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสได้เรียนรู้งานวรรณกรรมของประเทศตนเอง ในขณะที่ประเทศไทย เห็นว่า เด็กและเยาวชนมีโอกาสเข้าถึงงานวรรณกรรมน้อยมาก ดังนั้น จึงได้หารือถึงการส่งเสริมงานวรรณกรรมให้เข้าถึงสถานศึกษา ซึ่งทางอินเดียได้แนะนำ สศร.ว่า ควรจะคัดวรรณกรรมร่วมสมัย ที่มีเนื้อหาดี มีประโยชน์ และเหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงอายุ จัดส่งไปยังสถานศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาการอ่านมากขึ้น พร้อมทั้งประสานกับการทรวงศึกษาธิการ ประเมินผลการอ่านของเด็กด้วย
“สศร.จะประสานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อหาแนวทางสอดแทรกวรรณกรรมร่วมสมัยสู่สถานศึกษา ในรูปแบบสร้างกิจกรรมร่วมกับการเรียนการสอนในสายการศึกษาสามัญ การศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษานอกระบบ ได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งประสานกับสถาบันการอ่าน สมาคมนักเขียน เพื่อเปิดโลกวรรณกรรมในระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเข้าถึงการอ่านของเด็กและเยาวชน” นายเขมชาติ กล่าว