บุหรี่ไม่เพียงก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สูบเพียงอย่างเดียว แต่ควันบุหรี่ยังสามารถเข้าไปสู่ร่างกายของคนที่ไม่ได้สูบได้ด้วย นั่นเพราะควันบุหรี่ในอากาศ ยังคงเต็มไปด้วยสารพิษอันตรายต่างๆ หากรับเข้าไปในปริมาณมากก็จะเป็นการทำลายสุขภาพ จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
หายนะประเภทนี้กำลังเป็นที่น่าวิตกในสังคม เพราะหลายคนก็ไม่อยากเป็นมะเร็งหรือเสียชีวิต ทั้งที่ตัวเองไม่ได้สูบบุหรี่ พอเห็นใครสูบเป็นต้องร้องยี้ และอาจหันมาถามเหมือนในโฆษณาว่า “คุณมาทำร้ายฉันทำไม”
ทั้งนี้ ควันบุหรี่มือสองเกิดขึ้นจาก 2 แหล่ง คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบพ่นออกมา และควันบุหรี่ที่ลอยจากปลายมวนบุหรี่ แต่ไม่ว่าจะเป็นควันบุหรี่จากต้นกำเนิดใดก็ล้วนอันตรายทั้งสิ้น เพราะในแต่ละปีพบว่ามีคนไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง
สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพของควันบุหรี่มือสอง โต๊ะข่าวคุณภาพชีวิต ASTVผู้จัดการออนไลน์ จะเสนอออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ
1.กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็กทารก กลุ่มนี้หากได้รับควันบุหรี่มือสอง มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์และคลอดบุตร โดยอาจมีอาการครรภ์เป็นพิษ แท้ง คลอดก่อนกำหนด และเกิดอาการไหลตายในเด็กสูงขึ้น รวมถึงทารกแรกคลอดมีความเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักตัวและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ และอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท และระบบความจำ
2.กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มนี้จะทำให้เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม และมีอัตราการเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้น เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลาง และในระยะยาว เด็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจะมีพัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่
3.กลุ่มผู้ใหญ่ กลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 25-30% เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 20-30% เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่ลำคอมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ถึง 3 เท่า เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ได้แก่ กล่องเสียง ช่องปาก หลอดอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ 2 เท่า ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดหัวใจทันทีที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง และสำหรับผู้ที่มีอาการหอบ หืด โรคหัวใจ และโรคหลอดลมอักเสบร่วมด้วย จะทำให้อาการของโรคเพิ่มมากขึ้น
รู้อย่างนี้แล้ว เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากได้รับควันบุหรี่มือสองเพื่อทำร้ายร่างกายตัวเอง แต่สำหรับผู้ที่ยังสูบอยู่และเลิกไม่ได้ ก็ควรไปสูบบุหรี่ในที่เฉพาะที่ให้สูบ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้อยากตายไว ทั้งที่เขาไม่ได้เป็นคนสูบบุหรี่!
ขอบคุณข้อมูลจากหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ โรงเรียนเวชนิทัศน์พัฒนา สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
หายนะประเภทนี้กำลังเป็นที่น่าวิตกในสังคม เพราะหลายคนก็ไม่อยากเป็นมะเร็งหรือเสียชีวิต ทั้งที่ตัวเองไม่ได้สูบบุหรี่ พอเห็นใครสูบเป็นต้องร้องยี้ และอาจหันมาถามเหมือนในโฆษณาว่า “คุณมาทำร้ายฉันทำไม”
ทั้งนี้ ควันบุหรี่มือสองเกิดขึ้นจาก 2 แหล่ง คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบพ่นออกมา และควันบุหรี่ที่ลอยจากปลายมวนบุหรี่ แต่ไม่ว่าจะเป็นควันบุหรี่จากต้นกำเนิดใดก็ล้วนอันตรายทั้งสิ้น เพราะในแต่ละปีพบว่ามีคนไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง
สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพของควันบุหรี่มือสอง โต๊ะข่าวคุณภาพชีวิต ASTVผู้จัดการออนไลน์ จะเสนอออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ
1.กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็กทารก กลุ่มนี้หากได้รับควันบุหรี่มือสอง มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์และคลอดบุตร โดยอาจมีอาการครรภ์เป็นพิษ แท้ง คลอดก่อนกำหนด และเกิดอาการไหลตายในเด็กสูงขึ้น รวมถึงทารกแรกคลอดมีความเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักตัวและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ และอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท และระบบความจำ
2.กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มนี้จะทำให้เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม และมีอัตราการเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้น เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลาง และในระยะยาว เด็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจะมีพัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่
3.กลุ่มผู้ใหญ่ กลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 25-30% เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 20-30% เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่ลำคอมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ถึง 3 เท่า เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ได้แก่ กล่องเสียง ช่องปาก หลอดอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ 2 เท่า ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดหัวใจทันทีที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง และสำหรับผู้ที่มีอาการหอบ หืด โรคหัวใจ และโรคหลอดลมอักเสบร่วมด้วย จะทำให้อาการของโรคเพิ่มมากขึ้น
รู้อย่างนี้แล้ว เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากได้รับควันบุหรี่มือสองเพื่อทำร้ายร่างกายตัวเอง แต่สำหรับผู้ที่ยังสูบอยู่และเลิกไม่ได้ ก็ควรไปสูบบุหรี่ในที่เฉพาะที่ให้สูบ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้อยากตายไว ทั้งที่เขาไม่ได้เป็นคนสูบบุหรี่!
ขอบคุณข้อมูลจากหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ โรงเรียนเวชนิทัศน์พัฒนา สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล