สปสช.ดึงเครือข่ายสื่อวิทยุชุมชนทั่วประเทศ สร้างการมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันฯ ชี้มีความใกล้ชิดชาวบ้าน สามารถช่วยความรู้ความเข้าใจกับชุมชนได้ง่ายสุด เน้นเรื่องสิทธิและหน้าที่หลักประกันฯ
วันนี้ (11 ก.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ กทม. นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ แกนนำสื่อวิทยุเพื่อการมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหลักประกันสุขภาพทางสื่อวิทยุ และสร้างความเข้มแข็งกับเครือข่ายวิทยุชุมชน
นพ.วีระวัฒน์ กล่าวว่า การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ในระบบหลักประกันสุขภาพ มีความสำคัญต่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชน และความเชื่อมั่นต่อระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งสื่อวิทยุถือเป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายนักสื่อสารชุมชน สื่อวิทยุในพื้นที่ และนักจัดรายการวิทยุขออง ธ.ก.ส.ถือเป็นสื่อบุคคลที่ใกล้ชิดชุมชน และสามารถแปลงรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาสิทธิด้านหลักประกันสุขภาพให้เข้าใจง่ายและเป็นที่น่าสนใจ ทำให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจสิทธิหลักประกันสุขภาพมากขึ้น ซึ่งจุดนี้สะท้อนว่าสื่อวิทยุชุมชนร่วมเป็นเจ้าของหลักประกันสุขภาพและขับเคลื่อนพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกับทุกภาคส่วนต่อไป
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการ กสทช.กล่าวในการเสวนาเรื่อง ปฏิรูปสื่อวิทยุ เพื่อสร้างสุขภาวะในชุมชน ว่า การเกิดวิทยุชุมชนแรกๆ เป็นความหวังที่ดี แต่หลังๆ กลายสภาพจากชุมชนทำเองเป็นสื่อธุรกิจ ดังนั้นจากสื่อที่จะส่งเสริมสุขภาพุชมชน กลายเป็นทำลายสุขภาพชุมชนด้วยการโฆษณาขายสินค้าที่ทำลายสุขภาพ ที่ผ่านมาก็ร่วมมือกับ อย.และตำรวจในการดำเนินการจัดการ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค มีการจับกุม แต่น้อยมาก เพราะสถานีวิทยุชุมชนมีเยอะมากที่ทำแบบนี้ ซึ่ง กสทช.กำลังดำเนินการเรื่องนี้อยู่ และเนื่องจากจุดเด่นที่สำคัญของวิทยุชุมชน คือความใกล้ชิดชุมชน ดังนั้นจุดแข็งตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสุขภาวะชุมชนไปด้วยกัน โดย กสทช.ส่งเสริมให้เกิดจุดนี้ และในส่วนของวิทยุชุมชนที่ทำลายสุขภาพนั้น กสทช.ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลไม่ได้นิ่งนอนใจ มีแนวทางจัดการเพื่อให้วิทยุชุมชนเป็นสื่อสร้างสุขภาวะในชุมชนที่แท้จริง
นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 8 อุดรธานี กล่าวว่า หลักการของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคือ หลักประกันสุขภาพเป็นสิทธิของคนไทยทุกคน คนไทยไม่ล้มละลายจากการเจ็บป่วย และในระดับชุมชนหมู่บ้านนั้น มีกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือกองทุนสุขภาพตำบลในการสร้างสุขภาวะชุมชน เพื่อระบบหลักประกันสุขภาพที่ยั่งยืน ซึ่งแน่นอนว่าวิทยุชุมชนในฐานะที่เป็นสื่อที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุดนั้น ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพไปด้วยกัน ซึ่งบทบาทที่สำคัญของสื่อวิทยุชุมชน คือ การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิและหน้าที่ในระบบหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน
ทั้งนี้การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว จัดขึ้นโดย สปสช.ระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2556 โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 80 คน จากสมาคมเครือข่ายนักสื่อสารชุมชน นักจัดรายการวิทยุ ธ.ก.ส.สื่อวิทยุในพื้นที่ สปสช.ทั้ง 13 เขต ทั่วประเทศ
วันนี้ (11 ก.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ กทม. นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ แกนนำสื่อวิทยุเพื่อการมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหลักประกันสุขภาพทางสื่อวิทยุ และสร้างความเข้มแข็งกับเครือข่ายวิทยุชุมชน
นพ.วีระวัฒน์ กล่าวว่า การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ในระบบหลักประกันสุขภาพ มีความสำคัญต่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชน และความเชื่อมั่นต่อระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งสื่อวิทยุถือเป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายนักสื่อสารชุมชน สื่อวิทยุในพื้นที่ และนักจัดรายการวิทยุขออง ธ.ก.ส.ถือเป็นสื่อบุคคลที่ใกล้ชิดชุมชน และสามารถแปลงรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาสิทธิด้านหลักประกันสุขภาพให้เข้าใจง่ายและเป็นที่น่าสนใจ ทำให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจสิทธิหลักประกันสุขภาพมากขึ้น ซึ่งจุดนี้สะท้อนว่าสื่อวิทยุชุมชนร่วมเป็นเจ้าของหลักประกันสุขภาพและขับเคลื่อนพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกับทุกภาคส่วนต่อไป
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการ กสทช.กล่าวในการเสวนาเรื่อง ปฏิรูปสื่อวิทยุ เพื่อสร้างสุขภาวะในชุมชน ว่า การเกิดวิทยุชุมชนแรกๆ เป็นความหวังที่ดี แต่หลังๆ กลายสภาพจากชุมชนทำเองเป็นสื่อธุรกิจ ดังนั้นจากสื่อที่จะส่งเสริมสุขภาพุชมชน กลายเป็นทำลายสุขภาพชุมชนด้วยการโฆษณาขายสินค้าที่ทำลายสุขภาพ ที่ผ่านมาก็ร่วมมือกับ อย.และตำรวจในการดำเนินการจัดการ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค มีการจับกุม แต่น้อยมาก เพราะสถานีวิทยุชุมชนมีเยอะมากที่ทำแบบนี้ ซึ่ง กสทช.กำลังดำเนินการเรื่องนี้อยู่ และเนื่องจากจุดเด่นที่สำคัญของวิทยุชุมชน คือความใกล้ชิดชุมชน ดังนั้นจุดแข็งตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสุขภาวะชุมชนไปด้วยกัน โดย กสทช.ส่งเสริมให้เกิดจุดนี้ และในส่วนของวิทยุชุมชนที่ทำลายสุขภาพนั้น กสทช.ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลไม่ได้นิ่งนอนใจ มีแนวทางจัดการเพื่อให้วิทยุชุมชนเป็นสื่อสร้างสุขภาวะในชุมชนที่แท้จริง
นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 8 อุดรธานี กล่าวว่า หลักการของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคือ หลักประกันสุขภาพเป็นสิทธิของคนไทยทุกคน คนไทยไม่ล้มละลายจากการเจ็บป่วย และในระดับชุมชนหมู่บ้านนั้น มีกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือกองทุนสุขภาพตำบลในการสร้างสุขภาวะชุมชน เพื่อระบบหลักประกันสุขภาพที่ยั่งยืน ซึ่งแน่นอนว่าวิทยุชุมชนในฐานะที่เป็นสื่อที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุดนั้น ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพไปด้วยกัน ซึ่งบทบาทที่สำคัญของสื่อวิทยุชุมชน คือ การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิและหน้าที่ในระบบหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน
ทั้งนี้การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว จัดขึ้นโดย สปสช.ระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2556 โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 80 คน จากสมาคมเครือข่ายนักสื่อสารชุมชน นักจัดรายการวิทยุ ธ.ก.ส.สื่อวิทยุในพื้นที่ สปสช.ทั้ง 13 เขต ทั่วประเทศ