“หมอประดิษฐ” ฉุนงานวิจัยวัคซีนไข้เลือดออกไทยถูกประเคนขายลิขสิทธิ์ให้ญี่ปุ่น-อินเดีย ทั้งตลาดบนและตลาดล่าง ตัดทางขายวัคซีนหากไทยต่อยอดงานวิจัยสำเร็จ ลั่นต่อไปงานวิจัยร่วมระหว่างประเทศ ผลประโยชน์ต้องตกแก่คนไทยเป็นสำคัญ ด้าน ผอ.สถาบันวัคซีนฯ ชี้เหตุภาครัฐยังมีปัญหาเรื่องนโยบาย ทำนักวิจัยไม่มั่นใจ หนุน รมว.สธ.เดินหน้าจับมือเอกชนต่อยอดงานวิจัย
วันนี้ (10 ก.ค.) ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ รัชดาฯ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีาการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดการประชุมวิชาการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 ก.ค. 2556 ว่า เรื่องวัคซีนในประเทศไทยขณะนี้ถือว่ามีความเป็นรูปธรรมแล้ว เพราะมีทั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ แต่สิ่งที่จะต้องปรับ ก็คือกรอบความคิดระหว่างนักวิชาการกับผู้ปฏิบัติ เนื่องจากนักวิชาการมองว่าประเทศไทยควรผลิตวัคซีนได้ทุกชนิด แต่ในเชิงบริหารคงไม่สามารถผลิตทั้งหมดได้ เพราะจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นของวัคซีนแต่ละชนิด เรื่องของความมั่นคง และเรื่องความเป็นไปได้ของธุรกิจประเทศด้วย ซึ่งบางตัวเราอาจจะผลิตได้ตั้งแต่ต้นน้ำ แต่บางตัวอาจต้องผลิตแบบปลายน้ำ
“อย่างกรณีโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขององค์การเภสัชกรรม ก็เป็นตัวอย่างของความไม่พร้อมในการผลิตวัคซีน ทุกวันนี้โรงงานก็ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ยังคงต้องหาข้อสรุปอยู่ ที่สำคัญวัคซีนบางชนิดเมื่อผลิตเองจะมีต้นทุนที่สูงกว่าการนำเข้าวัคซีน ก็ต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ตรงนี้ด้วย” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญจะต้องผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมากขึ้นด้วย ไม่ใช่ต่างคนต่างผลิต โดยรัฐบาลจะพยายามสนับสนุนในเรื่องของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) เพราะเอกชนอาจจะไม่พร้อมในเรื่องนี้ เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรมาก ก็ต้องทำให้เอกชนมาต่อยอดนำงานวิจัยใดที่เป็นประโยชน์นำไปใช้ในเชิงปฏิบัติได้ เพราะที่ผ่านมางานวิจัยเมื่อทำเสร็จแล้วก็เพียงแค่ตีพิมพ์เป็นงานวิชาการหรือไม่ก็เก็บไว้บนหิ้ง ไม่ได้นำออกมาใช้ประโยชน์ ซึ่งตรงนี้นายกฯก็ให้นโยบายชัดเจนแล้วว่า งานวิจัยเมื่อทำแล้วมีผลชัดเจนต้องนำไปต่อยอด โดยภาครัฐและเอกชนอาจจะต้องตกลงผลประโยชน์กัน ซึ่งการสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาต่อยอดนี้ไม่จำเป็นต้องห่วงเรื่องความมั่นคง เพราะโรงงานผลิตต้องอยู่ในไทยเท่านั้น นอกจากนี้ จะต้องทำงานในเชิงรุกและเชิงรับเพิ่มมากขึ้น คือต้องมองการขายวัคซีนในตลาดภูมิภาคมากขึ้น และต้องปรับกระบวนการฉีดวัคซีนใหม่ เนื่องจากอาจมีหลายโรคกลับมาอุบัติซ้ำ
ผู้สื่อข่าวถามถึงการขายลิขสิทธิ์ผลงานวิจัยวัคซีนไข้เลือดออกของมหาวิทยาลัยมหิดลให้แก่ต่างประเทศ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า อาจเป็นการวิจัยที่ได้ทุนจากต่างประเทศมา ซึ่งจะมีการตกลงกันว่าผลวิจัยจะเอาไปใช้ต่อยอดในประเทศที่ให้การสนับสนุนหรือร่วมมือ ซึ่งความร่วมมือแบบนี้อยากติงว่าภาครัฐควรเป็นคนตั้งต้นก่อน เพราะอยากให้ผลประโยชน์ทางการวิจัยตกอยู่ในประเทศไทยก่อนที่อื่น ส่วนงานวิจัยพบแนวทางการสร้างยารักษาโรคไข้เลือดออกของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ ม.มหิดล และ ม.โอซากา ประเทศญี่ปุ่น ข้อตกลงก็อยากให้ผลประโยชน์ตกเป็นของคนไทยอย่างเหมาะสมถูกต้องและเป็นธรรมด้วยเช่นกัน
นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า กรณีการขายลิขสิทธิ์วัคซีนไข้เลือดออกนั้นเป็นงานวิจัยที่ทำร่วมกัน 5 ประเทศ รวมถึงไทย โดยศูนย์วิจัยพัฒนาวัคซีน ม.มหิดล ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมควบคุมโรคประมาณ 11 ล้านบาท เมื่อพัฒนาแล้วเสร็จก็มีการนำไปขายให้แก่ประเทศญี่ปุ่นในลิขสิทธิ์ตลาดบนหรือกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และขายให้แก่อินเดียในลิขสิทธิ์ตลาดล่างหรือกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา เพื่อให้นำไปศึกษาทดลองต่อในสัตว์และในคน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเองก็สามารถต่อยอดทดลองได้เช่นกัน แต่เมื่อประสบความสำเร็จจะสามารถผลิตวัคซีนใช้เองได้แค่ในประเทศเท่านั้น ไม่สามารถส่งออกไปขายยังต่างประเทศได้ ตรงนี้ รมว.สาธารณสุข ก็มีความกังวล เพราะความร่วมมือการวิจัยแบบนี้ควรที่จะให้ผลประโยชน์ตกอยู่แก่ประเทศไทยมากกว่าต่างชาติ
“เรื่องนี้ต้องมองหลายมุม เพราะการที่นักวิจัยขายลิขสิทธิ์ให้แก่ต่างประเทศเป็นเพราะติดปัญหาในเรื่องนโยบายของรัฐที่สนับสนุนไม่เต็มที่ ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ทำให้นักวิจัยไม่มั่นใจ เพราะหากเรายังไม่มีความสามารถในการดำเนินการทดลองต่อ อย่างน้อยงานวิจัยก็ยังได้รับการยอมรับและต่อยอดจากในต่างประเทศ ดังนั้น การเดินหน้าเรื่องวัคซีนจึงต้องมีความร่วมมือกับบริษัทเอกชนหรือต่างประเทศมากขึ้น แต่จะต้องทำโปรเจกต์ที่มีการพัฒนาไปสู่การผลิตวัคซีนแบบต้นน้ำและต้องตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยเท่านั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรในประเทศ” นพ.จรุง กล่าว
วันนี้ (10 ก.ค.) ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ รัชดาฯ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีาการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดการประชุมวิชาการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 ก.ค. 2556 ว่า เรื่องวัคซีนในประเทศไทยขณะนี้ถือว่ามีความเป็นรูปธรรมแล้ว เพราะมีทั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ แต่สิ่งที่จะต้องปรับ ก็คือกรอบความคิดระหว่างนักวิชาการกับผู้ปฏิบัติ เนื่องจากนักวิชาการมองว่าประเทศไทยควรผลิตวัคซีนได้ทุกชนิด แต่ในเชิงบริหารคงไม่สามารถผลิตทั้งหมดได้ เพราะจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นของวัคซีนแต่ละชนิด เรื่องของความมั่นคง และเรื่องความเป็นไปได้ของธุรกิจประเทศด้วย ซึ่งบางตัวเราอาจจะผลิตได้ตั้งแต่ต้นน้ำ แต่บางตัวอาจต้องผลิตแบบปลายน้ำ
“อย่างกรณีโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขององค์การเภสัชกรรม ก็เป็นตัวอย่างของความไม่พร้อมในการผลิตวัคซีน ทุกวันนี้โรงงานก็ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ยังคงต้องหาข้อสรุปอยู่ ที่สำคัญวัคซีนบางชนิดเมื่อผลิตเองจะมีต้นทุนที่สูงกว่าการนำเข้าวัคซีน ก็ต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ตรงนี้ด้วย” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญจะต้องผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมากขึ้นด้วย ไม่ใช่ต่างคนต่างผลิต โดยรัฐบาลจะพยายามสนับสนุนในเรื่องของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) เพราะเอกชนอาจจะไม่พร้อมในเรื่องนี้ เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรมาก ก็ต้องทำให้เอกชนมาต่อยอดนำงานวิจัยใดที่เป็นประโยชน์นำไปใช้ในเชิงปฏิบัติได้ เพราะที่ผ่านมางานวิจัยเมื่อทำเสร็จแล้วก็เพียงแค่ตีพิมพ์เป็นงานวิชาการหรือไม่ก็เก็บไว้บนหิ้ง ไม่ได้นำออกมาใช้ประโยชน์ ซึ่งตรงนี้นายกฯก็ให้นโยบายชัดเจนแล้วว่า งานวิจัยเมื่อทำแล้วมีผลชัดเจนต้องนำไปต่อยอด โดยภาครัฐและเอกชนอาจจะต้องตกลงผลประโยชน์กัน ซึ่งการสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาต่อยอดนี้ไม่จำเป็นต้องห่วงเรื่องความมั่นคง เพราะโรงงานผลิตต้องอยู่ในไทยเท่านั้น นอกจากนี้ จะต้องทำงานในเชิงรุกและเชิงรับเพิ่มมากขึ้น คือต้องมองการขายวัคซีนในตลาดภูมิภาคมากขึ้น และต้องปรับกระบวนการฉีดวัคซีนใหม่ เนื่องจากอาจมีหลายโรคกลับมาอุบัติซ้ำ
ผู้สื่อข่าวถามถึงการขายลิขสิทธิ์ผลงานวิจัยวัคซีนไข้เลือดออกของมหาวิทยาลัยมหิดลให้แก่ต่างประเทศ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า อาจเป็นการวิจัยที่ได้ทุนจากต่างประเทศมา ซึ่งจะมีการตกลงกันว่าผลวิจัยจะเอาไปใช้ต่อยอดในประเทศที่ให้การสนับสนุนหรือร่วมมือ ซึ่งความร่วมมือแบบนี้อยากติงว่าภาครัฐควรเป็นคนตั้งต้นก่อน เพราะอยากให้ผลประโยชน์ทางการวิจัยตกอยู่ในประเทศไทยก่อนที่อื่น ส่วนงานวิจัยพบแนวทางการสร้างยารักษาโรคไข้เลือดออกของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ ม.มหิดล และ ม.โอซากา ประเทศญี่ปุ่น ข้อตกลงก็อยากให้ผลประโยชน์ตกเป็นของคนไทยอย่างเหมาะสมถูกต้องและเป็นธรรมด้วยเช่นกัน
นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า กรณีการขายลิขสิทธิ์วัคซีนไข้เลือดออกนั้นเป็นงานวิจัยที่ทำร่วมกัน 5 ประเทศ รวมถึงไทย โดยศูนย์วิจัยพัฒนาวัคซีน ม.มหิดล ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมควบคุมโรคประมาณ 11 ล้านบาท เมื่อพัฒนาแล้วเสร็จก็มีการนำไปขายให้แก่ประเทศญี่ปุ่นในลิขสิทธิ์ตลาดบนหรือกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และขายให้แก่อินเดียในลิขสิทธิ์ตลาดล่างหรือกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา เพื่อให้นำไปศึกษาทดลองต่อในสัตว์และในคน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเองก็สามารถต่อยอดทดลองได้เช่นกัน แต่เมื่อประสบความสำเร็จจะสามารถผลิตวัคซีนใช้เองได้แค่ในประเทศเท่านั้น ไม่สามารถส่งออกไปขายยังต่างประเทศได้ ตรงนี้ รมว.สาธารณสุข ก็มีความกังวล เพราะความร่วมมือการวิจัยแบบนี้ควรที่จะให้ผลประโยชน์ตกอยู่แก่ประเทศไทยมากกว่าต่างชาติ
“เรื่องนี้ต้องมองหลายมุม เพราะการที่นักวิจัยขายลิขสิทธิ์ให้แก่ต่างประเทศเป็นเพราะติดปัญหาในเรื่องนโยบายของรัฐที่สนับสนุนไม่เต็มที่ ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ทำให้นักวิจัยไม่มั่นใจ เพราะหากเรายังไม่มีความสามารถในการดำเนินการทดลองต่อ อย่างน้อยงานวิจัยก็ยังได้รับการยอมรับและต่อยอดจากในต่างประเทศ ดังนั้น การเดินหน้าเรื่องวัคซีนจึงต้องมีความร่วมมือกับบริษัทเอกชนหรือต่างประเทศมากขึ้น แต่จะต้องทำโปรเจกต์ที่มีการพัฒนาไปสู่การผลิตวัคซีนแบบต้นน้ำและต้องตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยเท่านั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรในประเทศ” นพ.จรุง กล่าว