รพ.สุราษฎร์ธานี ชี้ปัญหาส่งต่อทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย เจอปัญหาเพียบ ทั้งอุณหภูมิต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ เด็กเสี่ยงตายสูง สปสช.เล็งหางบช่วยซื้ออุปกรณ์ หลังพบการพัฒนาเครือข่ายบริการทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยช่วยอัตรารอดชีวิตสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการดำเนินงานเครือข่ายบริการทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม โดยมี นพ.อดิเกียรติ เอี่ยมวรนิรันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับ พร้อมกล่าวว่า ภาวะเจ็บป่วยในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากเป็นกลุ่มโรคที่มีอัตราตายสูง เกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและปัญหาโรคเรื้อรังต่อไป ทำให้ต้องใช้ทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลรักษาต่อเนื่องสูง โดยเฉพาะทารกที่มีภาวะวิกฤต มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และต้องทำงานเป็นเครือข่ายระหว่างโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัด เพืี่อให้การส่งต่อรวดเร็วและช่วยผู้ป่วยทารกให้มีอัตรารอดชีวิตสูง
นพ.อดิเกียรติ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพบว่าในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยยังมีระบบบริการที่ไม่เชื่อมต่อกันเท่าที่ควร โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จึงได้ร่วมมือกับสปสช.ในการพัฒนาเครือข่ายบริการทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยขึ้นภายในจังหวัดและใกล้เคียง เพื่อให้เข้าถึงบริการได้ทั่วถึงมีคุณภาพมาตรฐาน โดยโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย มีลูกข่ายคือโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด และขยายความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลกระบี่ ซึ่งเป็นจังหวัดใกล้เคียงในการพัฒนา ซึ่งผลจากการเข้าร่วมการพัฒนาเครือข่ายบริการทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกับสปสช.ตั้งแต่ปี 2553 พบว่าอัตราการรอดชีวิตเพิ่มสูงขึ้นจาก 7,520 รายในปี 2553 เป็น 8,135 รายในปี 2555 โดยทารกได้รับการดูแลจนกลับสู่สภาพปกติได้อย่างมีคุณภาพ
พญ.นพวรรณ พงศ์โสภา กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด รพ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ปัญหาของการดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่สำคัญคือ ระบบการส่งต่อ เนื่องจากยังขาดเครืองมือทางการแพทย์ที่เฉพาะเจาะจง อาทิ เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยให้แรงดันคงที่ ลดการปอดแตกของทารกแรกเกิดให้น้อยลง เครื่องให้สารน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ตู้อบเคลื่อนย้ายเพื่อช่วยให้อุณหภูมิคงที่ และเครื่องมือติดตามออกซิเจน แต่จากการที่ไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนมาโรงพยาบาลจังหวัด เช่น อุณหภูมิกายต่ำของเด็กทารกพบสูง 80-90% ภาวะน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ประมาณ 10-20 รายต่อเดือน เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีเครื่องมือพร้อมจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของทารกได้มากขึ้น
นพ.วินัย กล่าวว่า สำหรับเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือชีวิตระหว่างส่งต่อจะมีการพิจารณาอีกครั้งว่าจะใช้งบประมาณส่วนใด อาจจะเป็นงบค่าเสื่อมที่เป็นงบชดเชยค่าครุภัณฑ์เดิม หรืออาจเป็นงบด้านอื่นๆ
เมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการดำเนินงานเครือข่ายบริการทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม โดยมี นพ.อดิเกียรติ เอี่ยมวรนิรันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับ พร้อมกล่าวว่า ภาวะเจ็บป่วยในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากเป็นกลุ่มโรคที่มีอัตราตายสูง เกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและปัญหาโรคเรื้อรังต่อไป ทำให้ต้องใช้ทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลรักษาต่อเนื่องสูง โดยเฉพาะทารกที่มีภาวะวิกฤต มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และต้องทำงานเป็นเครือข่ายระหว่างโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัด เพืี่อให้การส่งต่อรวดเร็วและช่วยผู้ป่วยทารกให้มีอัตรารอดชีวิตสูง
นพ.อดิเกียรติ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพบว่าในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยยังมีระบบบริการที่ไม่เชื่อมต่อกันเท่าที่ควร โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จึงได้ร่วมมือกับสปสช.ในการพัฒนาเครือข่ายบริการทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยขึ้นภายในจังหวัดและใกล้เคียง เพื่อให้เข้าถึงบริการได้ทั่วถึงมีคุณภาพมาตรฐาน โดยโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย มีลูกข่ายคือโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด และขยายความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลกระบี่ ซึ่งเป็นจังหวัดใกล้เคียงในการพัฒนา ซึ่งผลจากการเข้าร่วมการพัฒนาเครือข่ายบริการทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกับสปสช.ตั้งแต่ปี 2553 พบว่าอัตราการรอดชีวิตเพิ่มสูงขึ้นจาก 7,520 รายในปี 2553 เป็น 8,135 รายในปี 2555 โดยทารกได้รับการดูแลจนกลับสู่สภาพปกติได้อย่างมีคุณภาพ
พญ.นพวรรณ พงศ์โสภา กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด รพ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ปัญหาของการดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่สำคัญคือ ระบบการส่งต่อ เนื่องจากยังขาดเครืองมือทางการแพทย์ที่เฉพาะเจาะจง อาทิ เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยให้แรงดันคงที่ ลดการปอดแตกของทารกแรกเกิดให้น้อยลง เครื่องให้สารน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ตู้อบเคลื่อนย้ายเพื่อช่วยให้อุณหภูมิคงที่ และเครื่องมือติดตามออกซิเจน แต่จากการที่ไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนมาโรงพยาบาลจังหวัด เช่น อุณหภูมิกายต่ำของเด็กทารกพบสูง 80-90% ภาวะน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ประมาณ 10-20 รายต่อเดือน เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีเครื่องมือพร้อมจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของทารกได้มากขึ้น
นพ.วินัย กล่าวว่า สำหรับเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือชีวิตระหว่างส่งต่อจะมีการพิจารณาอีกครั้งว่าจะใช้งบประมาณส่วนใด อาจจะเป็นงบค่าเสื่อมที่เป็นงบชดเชยค่าครุภัณฑ์เดิม หรืออาจเป็นงบด้านอื่นๆ