“สุขุมพันธุ์” ลงพื้นที่ติดตามงานแก้น้ำท่วมกรุง เตรียมรับมือฝนตกหนัก ก.ค.-ส.ค.เสนอรัฐบาลทบทวนโครงการ 2.2 หมื่นล้าน ชี้หาก รบ.ไม่อนุมัติจำเป็นต้องกู้สร้างอุโมงค์ระบายน้ำ พร้อมตั้ง กก.ศึกษาการเก็บเงินค่าบำบัดน้ำเสียบนพื้นฐานไม่กระทบคนจน
วันนี้ (4 ก.ค.) ที่ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม.เป็นประธานการประชุมติดตามงานตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำท่วมขัง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝน ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และติดตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล โดยมีนายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม.นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัด กทม.นายสัญญา ชีนิมิตร รองปลัด กทม.และเจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ ร่วมการประชุม
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ได้ติดตามการขุดลอกคูคลอง ลอกท่อและการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ รวมทั้งโครงการใหม่คือการสร้างคลองด่วนเพื่อเร่งระบายน้ำ 4 โครงการ ซึ่งจะก่อสร้างได้ในปี 2558 ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาขอให้พื้นที่ ได้แก่ 1.คลองด่วนรามอินทรา ซึ่งเป็นโครงการปรับปรุงระบบระบายน้ำ บริเวณถนนรามอินทรา ความยาว 4.9 กิโลเมตร (กม.) 2.คลองด่วนประดิษฐ์มนูญธรรม เพื่อลำเลียงน้ำจากทิศเหนือของกรุงเทพฯ และบริเวณถนนรามอินทราลงสู่อุโมงค์ยักษ์พระราม 9 ประมาณ 3.5 กม.ขณะนี้ยังมีอุปสรรคเรื่องการรุกล้ำพื้นที่ของชุมชน 3.คลองด่วนรัชดาภิเษก ช่วงจากสถานีสูบน้ำรัชวิภาถึงคลองห้วยขวาง ยาว 5 กม.เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนรัชดาภิเษกช่วงบริเวณหน้าศาลอาญา ซึ่งเมื่ออุโมงค์บางซื่อแล้วเสร็จจะช่วยระบายน้ำได้เร็วยิ่งขึ้น จะต้องประสานเรื่องพื้นที่กับการรถไฟแห่งประเทศไทยต่อไป และ 4.คลองด่วนพระยาราชมนตรี ซึ่งเป็นการขุดลอกคลองใหม่เชื่อมคลองบ้านไทรกับคลองพระยาราชมนตรี เพื่อสร้างแนวเขื่อนยาวประมาณ 9 กม.อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่เพื่อเลือกแนวคลองที่เหมาะสมและมีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ตนมีความกังวลภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ในการวางแผนป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ให้ กทม.ดำเนินการช่วยรับน้ำจากพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพฯ ระบายน้ำสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและตอนใต้ออกสู่ทะเล ดังนั้น กทม.จึงได้เสนอขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อใช้เงินกู้ในวงเงิน 350,000 ล้านบาทของรัฐบาล สำหรับในโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการบริหารจัดการน้ำระยะยั่งยืน ปี 2555-2560 ในพื้นที่ กทม.โดยในระยะแรกเสนอโครงการรวม 26 โครงการ เป็นเงิน 14,000 ล้านบาท และในระยะที่ 2 อีก 17 โครงการ เป็นเงิน 8,056 ล้านบาท รวมประมาณ 22,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ แต่รัฐบาลได้ชะลอโครงการของ กทม.ไว้ก่อน เนื่องจากให้รอการพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวคิดการก่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล 9 Module ที่จะดำเนินการ ซึ่งไม่มีโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมอยู่ด้วย
ทั้งนี้ ปัจจุบันระบบระบายน้ำของกทม.มีภาระกิจหลักในการระบายน้ำฝน โดยฝั่งพระนครมีขีดความสามารถรองรับการระบายน้ำได้ 110 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที ขณะที่รัฐบาลคาดหมายให้ กทม.สามารถรองรับการระบายน้ำได้ถึง 300 ลบ.ม.ต่อวินาที และฝั่งธนบุรีมีขีดความสามารถรองรับการระบายน้ำได้ 30 ลบ.ม.ต่อวินาที ขณะที่รัฐบาลคาดหมายให้ กทม.สามารถรองรับการระบายน้ำได้ถึง 75 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งกรณีที่มีน้ำตอนเหนือไหลผ่านเข้าซึ่งจะกระทบกับพื้นที่เป็นอย่างมาก
“มอบหมายให้สำนักการระบายน้ำทำหนังสือขอให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนอนุมัติโครงการของกทม.ให้สามารถดำเนินงานได้ตามภารกิจที่รัฐบาลมอบหมาย ขณะนี้ยังต้องการงบประมาณสนับสนุน หากรัฐบาลไม่อนุมัติ ก็จะจำเป็นที่ต้องขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อชี้แจงลำดับความสำคัญของโครงการโดยตรง” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากรัฐบาลไม่อนุมัติ กทม.จะกู้เงินเพื่อดำเนินการเองหรือไม่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า หากรัฐบาลไม่อนุมติ แล้ว กทม.ต้องกู้เงินเอง แสดงว่ารัฐบาลมีความมั่นใจในโครงการพื้นที่ต้นน้ำและกลางน้ำ ส่วน กทม.จะเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาในพื้นที่ หากกู้เงินก็จะนำมาก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุดในการระบายน้ำ ขณะนี้ก็ได้รับการเสนอแหล่งเงินกู้จากหลายประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า จากแผนการดำเนินการด้านการบำบัดน้ำเสีย จะเห็นว่าต้องใช้งบประมาณสูงมาก ถึงเวลาที่จะต้องพิจารณาในการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย จึงให้ตั้งคณะทำงานเร่งศึกษาพิจารณาการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย โดยหลักการคือไม่เพิ่มภาระให้กับคนจน หรือผู้มีรายได้น้อย แต่จะเก็บในอัตราที่สูงกว่าในสถานประกอบการหรือธุรกิจที่ใช้น้ำมาก
ด้านนายอดิศักดิ์ ขันตี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม.กล่าวถึงคืบหน้าการขุดลอกคู คลอง เพื่อเปิดทางน้ำไหล จำนวน 1,133 คลอง ว่า ดำเนินการแล้ว 897 คลอง คิดเป็นร้อยละ 79.38 ส่วนความคืบหน้าการลอกท่อระบายน้ำความยาวรวม 3,949 กม.ดำเนินการแล้ว 2,884 กม.คิดเป็นร้อยละ 73.51 และได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดอ่อนและจุดเสี่ยง แล้ว 810 เครื่อง สำรอง 249 เครื่อง อีกทั้งสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่สำนักงานเขตตามที่ร้องขอ ซึ่งเบื้องต้นจัดส่งให้แก่สำนักงานเขตแล้ว 254 เครื่อง เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำ แต่ยังขาดอีก 36 เครื่อง เนื่องจากมีจำนวนเครื่องสูบน้ำไม่เพียงพอ
สำหรับโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่มเติมจำนวน 6 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ในส่วนของโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ จากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ประสิทธิภาพการสูบ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ความยาว 6.4 กม.อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อจะลงนามสัญญาจ้าง นอกจากนี้โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ความยาว 9.4 กม.และอุโมงค์คลองทวีวัฒนาบริเวณคอขวด ความยาว 2 กม.ออกแบบเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างขออนุมัติเงินอุดหนุนรัฐบาล
โครงการก่อสร้างอุโมงค์คลองเปรมประชากรจากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 13.5 กม.อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบ เนื่องจากกรมทางหลวงชนบทไม่อนุญาตให้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำ โครงการก่อสร้างอุโมงค์คลองพระยาราชมนตรี จากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ความยาว 8.95 กม.อยู่ระหว่างเตรียมศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน ความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ และโครงการก่อสร้างอุโมงค์ด้านตะวันออกเชื่อมต่อคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ กำลังสูบ 100 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ระหว่างการศึกษาและสำรวจความเหมาะสม เนื่องจากอยู่นอกพื้นที่ กทม.
วันนี้ (4 ก.ค.) ที่ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม.เป็นประธานการประชุมติดตามงานตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำท่วมขัง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝน ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และติดตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล โดยมีนายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม.นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัด กทม.นายสัญญา ชีนิมิตร รองปลัด กทม.และเจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ ร่วมการประชุม
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ได้ติดตามการขุดลอกคูคลอง ลอกท่อและการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ รวมทั้งโครงการใหม่คือการสร้างคลองด่วนเพื่อเร่งระบายน้ำ 4 โครงการ ซึ่งจะก่อสร้างได้ในปี 2558 ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาขอให้พื้นที่ ได้แก่ 1.คลองด่วนรามอินทรา ซึ่งเป็นโครงการปรับปรุงระบบระบายน้ำ บริเวณถนนรามอินทรา ความยาว 4.9 กิโลเมตร (กม.) 2.คลองด่วนประดิษฐ์มนูญธรรม เพื่อลำเลียงน้ำจากทิศเหนือของกรุงเทพฯ และบริเวณถนนรามอินทราลงสู่อุโมงค์ยักษ์พระราม 9 ประมาณ 3.5 กม.ขณะนี้ยังมีอุปสรรคเรื่องการรุกล้ำพื้นที่ของชุมชน 3.คลองด่วนรัชดาภิเษก ช่วงจากสถานีสูบน้ำรัชวิภาถึงคลองห้วยขวาง ยาว 5 กม.เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนรัชดาภิเษกช่วงบริเวณหน้าศาลอาญา ซึ่งเมื่ออุโมงค์บางซื่อแล้วเสร็จจะช่วยระบายน้ำได้เร็วยิ่งขึ้น จะต้องประสานเรื่องพื้นที่กับการรถไฟแห่งประเทศไทยต่อไป และ 4.คลองด่วนพระยาราชมนตรี ซึ่งเป็นการขุดลอกคลองใหม่เชื่อมคลองบ้านไทรกับคลองพระยาราชมนตรี เพื่อสร้างแนวเขื่อนยาวประมาณ 9 กม.อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่เพื่อเลือกแนวคลองที่เหมาะสมและมีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ตนมีความกังวลภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ในการวางแผนป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ให้ กทม.ดำเนินการช่วยรับน้ำจากพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพฯ ระบายน้ำสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและตอนใต้ออกสู่ทะเล ดังนั้น กทม.จึงได้เสนอขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อใช้เงินกู้ในวงเงิน 350,000 ล้านบาทของรัฐบาล สำหรับในโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการบริหารจัดการน้ำระยะยั่งยืน ปี 2555-2560 ในพื้นที่ กทม.โดยในระยะแรกเสนอโครงการรวม 26 โครงการ เป็นเงิน 14,000 ล้านบาท และในระยะที่ 2 อีก 17 โครงการ เป็นเงิน 8,056 ล้านบาท รวมประมาณ 22,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ แต่รัฐบาลได้ชะลอโครงการของ กทม.ไว้ก่อน เนื่องจากให้รอการพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวคิดการก่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล 9 Module ที่จะดำเนินการ ซึ่งไม่มีโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมอยู่ด้วย
ทั้งนี้ ปัจจุบันระบบระบายน้ำของกทม.มีภาระกิจหลักในการระบายน้ำฝน โดยฝั่งพระนครมีขีดความสามารถรองรับการระบายน้ำได้ 110 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที ขณะที่รัฐบาลคาดหมายให้ กทม.สามารถรองรับการระบายน้ำได้ถึง 300 ลบ.ม.ต่อวินาที และฝั่งธนบุรีมีขีดความสามารถรองรับการระบายน้ำได้ 30 ลบ.ม.ต่อวินาที ขณะที่รัฐบาลคาดหมายให้ กทม.สามารถรองรับการระบายน้ำได้ถึง 75 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งกรณีที่มีน้ำตอนเหนือไหลผ่านเข้าซึ่งจะกระทบกับพื้นที่เป็นอย่างมาก
“มอบหมายให้สำนักการระบายน้ำทำหนังสือขอให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนอนุมัติโครงการของกทม.ให้สามารถดำเนินงานได้ตามภารกิจที่รัฐบาลมอบหมาย ขณะนี้ยังต้องการงบประมาณสนับสนุน หากรัฐบาลไม่อนุมัติ ก็จะจำเป็นที่ต้องขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อชี้แจงลำดับความสำคัญของโครงการโดยตรง” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากรัฐบาลไม่อนุมัติ กทม.จะกู้เงินเพื่อดำเนินการเองหรือไม่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า หากรัฐบาลไม่อนุมติ แล้ว กทม.ต้องกู้เงินเอง แสดงว่ารัฐบาลมีความมั่นใจในโครงการพื้นที่ต้นน้ำและกลางน้ำ ส่วน กทม.จะเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาในพื้นที่ หากกู้เงินก็จะนำมาก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุดในการระบายน้ำ ขณะนี้ก็ได้รับการเสนอแหล่งเงินกู้จากหลายประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า จากแผนการดำเนินการด้านการบำบัดน้ำเสีย จะเห็นว่าต้องใช้งบประมาณสูงมาก ถึงเวลาที่จะต้องพิจารณาในการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย จึงให้ตั้งคณะทำงานเร่งศึกษาพิจารณาการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย โดยหลักการคือไม่เพิ่มภาระให้กับคนจน หรือผู้มีรายได้น้อย แต่จะเก็บในอัตราที่สูงกว่าในสถานประกอบการหรือธุรกิจที่ใช้น้ำมาก
ด้านนายอดิศักดิ์ ขันตี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม.กล่าวถึงคืบหน้าการขุดลอกคู คลอง เพื่อเปิดทางน้ำไหล จำนวน 1,133 คลอง ว่า ดำเนินการแล้ว 897 คลอง คิดเป็นร้อยละ 79.38 ส่วนความคืบหน้าการลอกท่อระบายน้ำความยาวรวม 3,949 กม.ดำเนินการแล้ว 2,884 กม.คิดเป็นร้อยละ 73.51 และได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดอ่อนและจุดเสี่ยง แล้ว 810 เครื่อง สำรอง 249 เครื่อง อีกทั้งสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่สำนักงานเขตตามที่ร้องขอ ซึ่งเบื้องต้นจัดส่งให้แก่สำนักงานเขตแล้ว 254 เครื่อง เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำ แต่ยังขาดอีก 36 เครื่อง เนื่องจากมีจำนวนเครื่องสูบน้ำไม่เพียงพอ
สำหรับโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่มเติมจำนวน 6 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ในส่วนของโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ จากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ประสิทธิภาพการสูบ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ความยาว 6.4 กม.อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อจะลงนามสัญญาจ้าง นอกจากนี้โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ความยาว 9.4 กม.และอุโมงค์คลองทวีวัฒนาบริเวณคอขวด ความยาว 2 กม.ออกแบบเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างขออนุมัติเงินอุดหนุนรัฐบาล
โครงการก่อสร้างอุโมงค์คลองเปรมประชากรจากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 13.5 กม.อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบ เนื่องจากกรมทางหลวงชนบทไม่อนุญาตให้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำ โครงการก่อสร้างอุโมงค์คลองพระยาราชมนตรี จากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ความยาว 8.95 กม.อยู่ระหว่างเตรียมศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน ความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ และโครงการก่อสร้างอุโมงค์ด้านตะวันออกเชื่อมต่อคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ กำลังสูบ 100 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ระหว่างการศึกษาและสำรวจความเหมาะสม เนื่องจากอยู่นอกพื้นที่ กทม.