“เอ็นจีโอ” ฝากการบ้าน รมว.พม.คนใหม่ เร่งสร้างผลงาน สางปัญหาสังคม ปฏิรูปกฎหมายคุกคามทางเพศ ออกมาตรการป้องกันเยาวชนตกเป็นทาสอบายมุข เชื่อ พม.ได้คนมีฝีมือ เหมาะสม ทำงานได้
วันนี้ (2 ก.ค.) นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า การปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ครั้งนี้ โดยนางปวีณา หงสกุล ดำรงตำแหน่ง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หากดูจากผลงานถือว่ามีความเหมาะสม เพราะมีพื้นฐานการทำงานด้านนี้ ซึ่งควรต้องเร่งสานต่อทำงานทันที เพราะที่ผ่านมา พม.เสียเวลาได้คนที่ไม่มีประสบการณ์ด้านสังคมเข้ามาทำงาน ดังนั้น รมว.คนใหม่ต้องนำจุดแข็งที่มีอยู่ เช่น การช่วยเหลือผู้หญิงที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม นำมาขยายให้ครอบคลุมทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และหวังว่าภาคประชาชนจะสามารถเข้าถึงและนำเสนอข้อมูลปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้กระทรวงได้นำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไปได้
นายจะเด็จ กล่าวต่อว่า กระทรวง พม.มีหน้าที่ที่ต้องสร้างความเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย ลดปัญหาความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว โดยต้องไม่เน้นการเยียวยาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้ผู้หญิงได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะที่ผ่านมาผู้หญิงยังเข้าไม่ถึงกลไกการช่วยเหลือ เห็นได้จากตัวเลขการให้ความช่วยเหลือยังมีน้อย นอกจากนี้ ข้อกฎหมายการคุกคามทางเพศยังล้าสมัย โดยเฉพาะการคุ้มครองผู้หญิงที่อายุเกิน 18 ปี เมื่อเกิดปัญหาขึ้นหลายรายไม่กล้าไปแจ้งความ เพราะไม่มีกลไกให้ความช่วยเหลือ ไม่มีนักสังคมสงเคราะห์คอยให้คำแนะนำ คงถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งผลักดันปฏิรูปกฎหมายความรุนแรงทางเพศให้เป็นรูปธรรมเสียที
ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศศูนย์ช่วยเหลือสังคม หรือ OSCC จึงอยากให้ รมว.คนใหม่มองงานป้องกันในแบบระยะยาว เชื่อมโยงกับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สนับสนุนให้ชุมชนทั่วประเทศสนใจเรื่องนี้ เพื่อนำมาสู่การป้องกันร่วมกัน และสิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่น้อยไปกว่านั้น คือสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้หญิงวัยแรงงาน มีสถิติเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุมาจากความเครียดความรุนแรงในครอบครัว ประกอบกับงานวิจัยขององค์การอนามัยโลกระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้หญิงที่ถูกใช้ความรุนแรง มีแนวโน้มติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำแท้ง และติดเอดส์มากขึ้น
“ภาคประชาชนอยากเห็น รมว.คนใหม่ ให้ความสำคัญ ทำอย่างไรไม่ให้ผู้หญิง หรือเยาวชนที่เป็นนักดื่มหน้าใหม่หันไปหาอบายมุขเหล่านี้ เพราะเกรงว่าปัญหาจะรุกลามและแก้ไขได้ยาก ซึ่งกระทรวง พม.มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องการดูแลกฎหมายด้านเยาวชน อีกทั้ง รมว.คนใหม่มีพื้นฐานในการทำงานด้านนี้อยู่แล้วควรเข้ามาทำหน้าที่ทำผลงานได้ทันที ตรงไหนที่เป็นจุดอ่อนก็ต้องเร่งพัฒนา และควรมีเวทีของภาคประชาสังคมเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ และภาคประชาชนต้องเข้าไปเป็นคณะกรรมการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีไม่มาก” นายจะเด็จ กล่าว
วันนี้ (2 ก.ค.) นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า การปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ครั้งนี้ โดยนางปวีณา หงสกุล ดำรงตำแหน่ง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หากดูจากผลงานถือว่ามีความเหมาะสม เพราะมีพื้นฐานการทำงานด้านนี้ ซึ่งควรต้องเร่งสานต่อทำงานทันที เพราะที่ผ่านมา พม.เสียเวลาได้คนที่ไม่มีประสบการณ์ด้านสังคมเข้ามาทำงาน ดังนั้น รมว.คนใหม่ต้องนำจุดแข็งที่มีอยู่ เช่น การช่วยเหลือผู้หญิงที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม นำมาขยายให้ครอบคลุมทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และหวังว่าภาคประชาชนจะสามารถเข้าถึงและนำเสนอข้อมูลปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้กระทรวงได้นำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไปได้
นายจะเด็จ กล่าวต่อว่า กระทรวง พม.มีหน้าที่ที่ต้องสร้างความเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย ลดปัญหาความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว โดยต้องไม่เน้นการเยียวยาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้ผู้หญิงได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะที่ผ่านมาผู้หญิงยังเข้าไม่ถึงกลไกการช่วยเหลือ เห็นได้จากตัวเลขการให้ความช่วยเหลือยังมีน้อย นอกจากนี้ ข้อกฎหมายการคุกคามทางเพศยังล้าสมัย โดยเฉพาะการคุ้มครองผู้หญิงที่อายุเกิน 18 ปี เมื่อเกิดปัญหาขึ้นหลายรายไม่กล้าไปแจ้งความ เพราะไม่มีกลไกให้ความช่วยเหลือ ไม่มีนักสังคมสงเคราะห์คอยให้คำแนะนำ คงถึงเวลาแล้วที่ต้องเร่งผลักดันปฏิรูปกฎหมายความรุนแรงทางเพศให้เป็นรูปธรรมเสียที
ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศศูนย์ช่วยเหลือสังคม หรือ OSCC จึงอยากให้ รมว.คนใหม่มองงานป้องกันในแบบระยะยาว เชื่อมโยงกับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สนับสนุนให้ชุมชนทั่วประเทศสนใจเรื่องนี้ เพื่อนำมาสู่การป้องกันร่วมกัน และสิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่น้อยไปกว่านั้น คือสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้หญิงวัยแรงงาน มีสถิติเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุมาจากความเครียดความรุนแรงในครอบครัว ประกอบกับงานวิจัยขององค์การอนามัยโลกระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้หญิงที่ถูกใช้ความรุนแรง มีแนวโน้มติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำแท้ง และติดเอดส์มากขึ้น
“ภาคประชาชนอยากเห็น รมว.คนใหม่ ให้ความสำคัญ ทำอย่างไรไม่ให้ผู้หญิง หรือเยาวชนที่เป็นนักดื่มหน้าใหม่หันไปหาอบายมุขเหล่านี้ เพราะเกรงว่าปัญหาจะรุกลามและแก้ไขได้ยาก ซึ่งกระทรวง พม.มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องการดูแลกฎหมายด้านเยาวชน อีกทั้ง รมว.คนใหม่มีพื้นฐานในการทำงานด้านนี้อยู่แล้วควรเข้ามาทำหน้าที่ทำผลงานได้ทันที ตรงไหนที่เป็นจุดอ่อนก็ต้องเร่งพัฒนา และควรมีเวทีของภาคประชาสังคมเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ และภาคประชาชนต้องเข้าไปเป็นคณะกรรมการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีไม่มาก” นายจะเด็จ กล่าว