เปิดผลสำรวจชาว กทม.ช่วงสงกรานต์ ชี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังเป็นสาเหตุหลักปัญหาสงกรานต์ ขณะที่เซ็นทรัลเวิลด์ ขึ้นแท่นเสี่ยงน้อยสุด “เอ็นจีโอ” แจงดึงเยาวชนอยู่ติดพื้นที่ ลดปัญหาชุมชนได้เกือบครึ่ง ด้านเยาวชนเรียกร้องผู้ว่าฯ กทม.เพิ่มโซนนิงพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า วอนรัฐงัดมาตรการกฎหมายเข้ม
วันนี้ (13 เม.ย.) นายนรินทร์ แป้นประเสริฐ ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาคมควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชุมชน กทม.กล่าวถึงผลการสำรวจ “ ทัศนคติมุมมองของชาวชุมชนต่อเทศกาลสงกรานต์ในพื้นที่ กทม.ปี 56” โดยมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา และเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ โดยสำรวจจาก 17 ชุมชนทั่ว กทม.แบ่งเป็นเพศชาย 430 คน คิดเป็น 45.3% หญิง 520 คน คิดเป็น 54.7%
นายนรินทร์ กล่าวว่า ทั้งนี้จากผลการสำรวจถึงปัญหาทีเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในพื้นที่ กทม. คือ การทะเลาะวิวาท เป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็น 31.6% อันดับสอง คือ ถูกลวนลาม คุกคามทางเพศ 18.5% การแต่งกายล่อแหลม 21.1% นอกจากนี้ ลานเซ็นทรัลเวิลด์ ขึ้นแท่นเล่นสงกรานต์เสี่ยงน้อยสุด 5.4% ขณะที่ถนนข้าวสารเสี่ยงสูงสุด 48.4% ตามด้วยสีลม 31%
นายนรินทร์ กล่าวต่อว่า ในหัวข้อปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พื้นที่ กทม.มีสาเหตุหลักมาจาก อันดับหนึ่งคือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็น 66.6% อันดับสองคือ การแต่งกายไม่เหมาะสม คิดเป็น 12.8% และจากผลการสำรวจในหัวข้อ ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดการพื้นที่เล่นสงกรานต์ปลอดเหล้าในเขต กทม.ผู้สำรวจจาก 970 คน เห็นด้วยถึง 811 คน คิดเป็น 85.4% ในขณะเดียวกัน ก็เห็นว่าหน่วยงานรัฐได้ใช้กฎหมายบังคับ เพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหาในช่วงสงกรานต์ ยังไม่เต็มที่ คิดเป็น 40%
นายนรินทร์ กล่าวว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าลานเซ็นทรัลเวิร์ล ถือเป็นพื้นที่ที่ชาว กทม.ให้ความไว้วางใจ และจัดว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยเหมาะแก่การเล่นสงกรานต์ ซึ่งต่างจากพื้นที่อื่นใน กทม.อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาที่ทางเครือข่ายได้ร่วมกันเฝ้าระวังในพื้นที่ต่างๆ เช่น ลานคนเมือง เสาชิงช้า หรือบริเวณชิดลม โดยร่วมกับเยาวชนในการเดินรณรงค์ พร้อมทั้งผู้นำชุมชนในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะผู้นำชุมชนในเขตบางกอกน้อย ในเรื่องของสงกรานต์ปลอดภัยปลอดเหล้า พบว่า 10 กว่าชุมชนในย่านบางกอกน้อยให้ความร่วมมือในกิจกรรมอย่างดีมาก ทำให้สามารถลดปัญหาในชุมชนได้กว่าครึ่ง ขณะเดียวกันเด็กเยาวชนในพื้นที่ก็ตื่นตัว โดยมีการทำงานกันในพื้นที่ ชูประเด็นไม่ไปเล่นน้ำสงกรานต์ในจุดต่างๆ เช่น สีลม หรือตรอกข้าวสาร ซึ่งเรียกว่าเป็นการให้เยาวชนอยู่กับชุมชนทำงานในพื้นที่รณรงค์เรื่องการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และชูงานวัฒนธรรมปลอดเหล้าซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมาก
ด้าน นายธีรภัทร คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวว่า ในฐานะที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การที่ กทม.ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ กำหนดให้พื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ ปลอดน้ำเมา ปลอดภัย อาทิ สีลม ลานคนเมือง กทม.เซ็นทรัลเวิลด์ ฯลฯ การให้พื้นที่ที่มีคนไปเล่นน้ำจำนวนมากเป็นพื้นที่ปลอดเหล้าถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และต้องขอบคุณ กทม.ที่มีนโยบายนี้
นายนายธีรภัทร กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามนอกจากปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ปัญหาการถูกคุกคาม ล่วงละเมิดทางเพศในพื้นที่เล่นน้ำ ก็เป็นปัญหาใหญ่ ที่มิอาจละเลยได้เช่นเดียวกัน เพราะจะนำไปสู่การทำลายการท่องเที่ยวในที่สุดด้วย เครือข่ายจึงอยากเรียกร้องกับ กทม.ดังต่อไปนี้ การโซนนิงพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า ปลอดภัย ที่มีอยู่แล้ว และควรกำหนดเพิ่มเติมอีก เช่น ถนนข้าวสาร ต้องให้เป็นจริงในทางปฏิบัติโดยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สรรพสามิต เทศกิจ สำนักงานเขต รวมถึงชุมชน ร้านค้าในพื้นที่ ซึ่งปัญหาที่เกี่ยวข้องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล้วนมีกฎหมายควบคุมไว้แล้วทั้งสิ้น ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ปีนี้ ทั้งอุบัติเหตุ ความรุนแรง การทะเลาะวิวาท การคุกคามทางเพศ จึงขึ้นอยู่กับความจริงจังของผู้บังคับใช้กฎหมาย กทม.ควรเร่งประสานความร่วมมือเพื่อกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรม ให้มีการบังคับใช้กฎหมายจริงใจ จริงจัง และไม่ควรปล่อยให้เป็นภาระของสำนักงานเขตฝ่ายเดียว กทม. ต้องสนับสนุนและให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง
นายธีรภัทร กล่าวต่อว่า ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการถูกคุกคาม ล่วงละเมิดทางเพศ ในพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ ควรมีการกำหนดจุดรับเรื่องร้องเรียนและช่วยเหลือให้ชัดเจน มีการกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเป็นขั้นเป็นตอน และควรติดป้ายประชาสัมพันธ์ฐานความผิดรวมถึงเบอร์โทรศัพท์ให้ความช่วยเหลือ เช่น สายด่วน 1555 ของ กทม.และควรเพิ่มกล้องวงจรปิดในพื้นที่ด้วย ควรมีการตั้งจุดตรวจค้น อาวุธและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนการเข้าไปในงาน ซึ่งมาตรการนี้ประสบความสำเร็จมาแล้วหลายปีในพื้นที่ หน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และใน 60 จังหวัดทั่วประเทศ เช่น ขอนแก่น เชียงใหม่ เป็นต้น และ กทม.ควรร่วมมือกับภาคประชาสังคม ชุมชน และเครือข่ายต่างๆ ในการมีส่วนร่วมเฝ้าระวัง เป็นหูเป็นตา ช่วยกันทำให้สงกรานต์ มีความปลอดภัย และรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามนี้ อันจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ถูกทางด้วย
วันนี้ (13 เม.ย.) นายนรินทร์ แป้นประเสริฐ ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาคมควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชุมชน กทม.กล่าวถึงผลการสำรวจ “ ทัศนคติมุมมองของชาวชุมชนต่อเทศกาลสงกรานต์ในพื้นที่ กทม.ปี 56” โดยมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา และเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ โดยสำรวจจาก 17 ชุมชนทั่ว กทม.แบ่งเป็นเพศชาย 430 คน คิดเป็น 45.3% หญิง 520 คน คิดเป็น 54.7%
นายนรินทร์ กล่าวว่า ทั้งนี้จากผลการสำรวจถึงปัญหาทีเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในพื้นที่ กทม. คือ การทะเลาะวิวาท เป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็น 31.6% อันดับสอง คือ ถูกลวนลาม คุกคามทางเพศ 18.5% การแต่งกายล่อแหลม 21.1% นอกจากนี้ ลานเซ็นทรัลเวิลด์ ขึ้นแท่นเล่นสงกรานต์เสี่ยงน้อยสุด 5.4% ขณะที่ถนนข้าวสารเสี่ยงสูงสุด 48.4% ตามด้วยสีลม 31%
นายนรินทร์ กล่าวต่อว่า ในหัวข้อปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พื้นที่ กทม.มีสาเหตุหลักมาจาก อันดับหนึ่งคือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็น 66.6% อันดับสองคือ การแต่งกายไม่เหมาะสม คิดเป็น 12.8% และจากผลการสำรวจในหัวข้อ ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดการพื้นที่เล่นสงกรานต์ปลอดเหล้าในเขต กทม.ผู้สำรวจจาก 970 คน เห็นด้วยถึง 811 คน คิดเป็น 85.4% ในขณะเดียวกัน ก็เห็นว่าหน่วยงานรัฐได้ใช้กฎหมายบังคับ เพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหาในช่วงสงกรานต์ ยังไม่เต็มที่ คิดเป็น 40%
นายนรินทร์ กล่าวว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าลานเซ็นทรัลเวิร์ล ถือเป็นพื้นที่ที่ชาว กทม.ให้ความไว้วางใจ และจัดว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยเหมาะแก่การเล่นสงกรานต์ ซึ่งต่างจากพื้นที่อื่นใน กทม.อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาที่ทางเครือข่ายได้ร่วมกันเฝ้าระวังในพื้นที่ต่างๆ เช่น ลานคนเมือง เสาชิงช้า หรือบริเวณชิดลม โดยร่วมกับเยาวชนในการเดินรณรงค์ พร้อมทั้งผู้นำชุมชนในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะผู้นำชุมชนในเขตบางกอกน้อย ในเรื่องของสงกรานต์ปลอดภัยปลอดเหล้า พบว่า 10 กว่าชุมชนในย่านบางกอกน้อยให้ความร่วมมือในกิจกรรมอย่างดีมาก ทำให้สามารถลดปัญหาในชุมชนได้กว่าครึ่ง ขณะเดียวกันเด็กเยาวชนในพื้นที่ก็ตื่นตัว โดยมีการทำงานกันในพื้นที่ ชูประเด็นไม่ไปเล่นน้ำสงกรานต์ในจุดต่างๆ เช่น สีลม หรือตรอกข้าวสาร ซึ่งเรียกว่าเป็นการให้เยาวชนอยู่กับชุมชนทำงานในพื้นที่รณรงค์เรื่องการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และชูงานวัฒนธรรมปลอดเหล้าซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมาก
ด้าน นายธีรภัทร คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวว่า ในฐานะที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การที่ กทม.ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ กำหนดให้พื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ ปลอดน้ำเมา ปลอดภัย อาทิ สีลม ลานคนเมือง กทม.เซ็นทรัลเวิลด์ ฯลฯ การให้พื้นที่ที่มีคนไปเล่นน้ำจำนวนมากเป็นพื้นที่ปลอดเหล้าถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และต้องขอบคุณ กทม.ที่มีนโยบายนี้
นายนายธีรภัทร กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามนอกจากปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ปัญหาการถูกคุกคาม ล่วงละเมิดทางเพศในพื้นที่เล่นน้ำ ก็เป็นปัญหาใหญ่ ที่มิอาจละเลยได้เช่นเดียวกัน เพราะจะนำไปสู่การทำลายการท่องเที่ยวในที่สุดด้วย เครือข่ายจึงอยากเรียกร้องกับ กทม.ดังต่อไปนี้ การโซนนิงพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า ปลอดภัย ที่มีอยู่แล้ว และควรกำหนดเพิ่มเติมอีก เช่น ถนนข้าวสาร ต้องให้เป็นจริงในทางปฏิบัติโดยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สรรพสามิต เทศกิจ สำนักงานเขต รวมถึงชุมชน ร้านค้าในพื้นที่ ซึ่งปัญหาที่เกี่ยวข้องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล้วนมีกฎหมายควบคุมไว้แล้วทั้งสิ้น ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ปีนี้ ทั้งอุบัติเหตุ ความรุนแรง การทะเลาะวิวาท การคุกคามทางเพศ จึงขึ้นอยู่กับความจริงจังของผู้บังคับใช้กฎหมาย กทม.ควรเร่งประสานความร่วมมือเพื่อกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรม ให้มีการบังคับใช้กฎหมายจริงใจ จริงจัง และไม่ควรปล่อยให้เป็นภาระของสำนักงานเขตฝ่ายเดียว กทม. ต้องสนับสนุนและให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง
นายธีรภัทร กล่าวต่อว่า ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการถูกคุกคาม ล่วงละเมิดทางเพศ ในพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ ควรมีการกำหนดจุดรับเรื่องร้องเรียนและช่วยเหลือให้ชัดเจน มีการกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเป็นขั้นเป็นตอน และควรติดป้ายประชาสัมพันธ์ฐานความผิดรวมถึงเบอร์โทรศัพท์ให้ความช่วยเหลือ เช่น สายด่วน 1555 ของ กทม.และควรเพิ่มกล้องวงจรปิดในพื้นที่ด้วย ควรมีการตั้งจุดตรวจค้น อาวุธและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนการเข้าไปในงาน ซึ่งมาตรการนี้ประสบความสำเร็จมาแล้วหลายปีในพื้นที่ หน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และใน 60 จังหวัดทั่วประเทศ เช่น ขอนแก่น เชียงใหม่ เป็นต้น และ กทม.ควรร่วมมือกับภาคประชาสังคม ชุมชน และเครือข่ายต่างๆ ในการมีส่วนร่วมเฝ้าระวัง เป็นหูเป็นตา ช่วยกันทำให้สงกรานต์ มีความปลอดภัย และรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามนี้ อันจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ถูกทางด้วย