นายชูวิทย์ จันทรส เลขานุการเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ (ครปอ.)
เป็นที่รู้กันว่า ช่วงสงกรานต์ของทุกปีจะมีสถิติตายประมาณ 300-400 คน บาดเจ็บอีกหลายพันคน สาเหตุเกือบครึ่งมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สำคัญยังเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดการทะเลาะวิวาท อนาจาร คุกคามทางเพศ และเหตุรำคาญอื่นๆ ทั้งเปิดเพลงเสียงดัง เมามายโวยวายข้ามวันข้ามคืน
ด้านหนึ่งเราจะเห็นภาพบรรดาผู้ผลิตและจำหน่ายต่างทุ่มเทกันเต็มที่ในช่วงนี้ เพื่อให้สินค้าของตนเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพราะคือโอกาสทองในการทำตลาด กระตุ้นยอดขาย ผ่ายบรรดาเอเยนต์ ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ผับบาร์ต่างๆ เป็นเรื่องปกติของฝ่ายที่สร้างรายได้ ซึ่งเรายังไม่เคยเห็นสำนึกความรับผิดชอบใดๆ ออกมา
ขณะที่ฝ่ายผู้บริโภคจำนวนหนึ่งต้องตามมาด้วยการบาดเจ็บล้มตาย การถูกคุกคามทางเพศ ถูกลูกหลง ฯลฯ ที่มิอาจประเมินมูลค่าได้ งานวิจัยชี้ชัดว่าเทศกาลสงกรานต์ คนที่ถูกลูกหลงจะเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงปกติถึง 3 เท่า ดังนั้น ในหนึ่งความสูญเสียผลกระทบจึงมิได้เกิดขึ้นแค่คนที่บาดเจ็บล้มตาย แต่ลูกเมีย ครอบครัว ญาติพี่น้องเพื่อนร่วมงาน และสังคมต่างต้องร่วมแบกรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง
สงกรานต์ในปีนี้ มีนิมิตหมายที่ดีคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานภาครัฐจำนวนมาก หันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ได้ประกาศเป็นนโยบายชัดเจน ซึ่งหนึ่งในหลายๆ มาตรการ มีเรื่องการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถขณะอยู่บนทางรวมอยู่ด้วย เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่เชื่อว่าหากบังคับใช้กันอย่างจริงจัง จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ลงได้อย่างแน่นอน
แต่ระหว่างที่หลายฝ่ายกำลังวางมาตรการรับมือกันอย่างจริงจัง เราพบว่าหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บเงินจากภาษีน้ำเมา กลับขยับตัวในเรื่องนี้น้อยมากทั้งๆ ที่มีกฎหมาย พ.ร.บ.สุรา 2493 เป็นเครื่องมืออยู่แล้ว
งานวิจัยพบว่า ในปัจจุบันมีใบอนุญาตขายสุรามากกว่า 600,000 ราย แต่ในความเป็นจริงในการลงพื้นที่แต่ละครั้งเรากลับพบว่าจะมีร้านขายที่ไม่มีใบอนุญาตแฝงตัวอยู่อีกเกือบเท่าตัว เช่นเดียวกับช่วงเทศกาลสำคัญๆ ทั้งปีใหม่และสงกรานต์ที่จะมีพ่อค้าหัวใสตั้งโต๊ะขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่มีใบอนุญาตอยู่เกลื่อนเมือง ซึ่งหากมีการเก็บข้อมูลอาจทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของจุดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดในโลกก็เป็นได้
เอาแค่ว่า “สรรพสามิต”จริงจังลงพื้นที่ตรวจจับ เฉพาะในพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ซึ่งได้รับความนิยม แค่นี้ก็ทำให้การเข้าถึงน้ำเมาลดลงไปได้มากแล้ว แต่น่าแปลกใจ ในยุคอธิบดีคนปัจจุบัน เราแทบไม่เห็นการทำงานด้านสังคมเลย นอกจากการแถลงข่าวจับเหล้าเถื่อน บุหรี่เถื่อนทั้งๆที่ในช่วงนี้กรมสรรพสามิตควรมีท่าที มีนโยบายที่จะมีส่วนช่วยลดปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออกมา
“วันนี้สรรพสามิตกำลังเป็นหน่วยงานที่ยังคงหลับใหลกับเม็ดเงินภาษีที่เก็บได้จากน้ำเมา ปีหนึ่ง 8-9 หมื่นล้านบาท ท่ามกลางผลกระทบที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้นจากสินค้าบาปชนิดนี้”
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ก่อนถึงวันสงกรานต์สรรพสามิตจะตื่น และนำกฎหมายที่ตัวเองมีอยู่มาสนับสนุนลดผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงสงกรานต์ ได้ทัน ก่อนที่จะตกขบวนรถไฟซึ่งทุกฝ่ายกำลังร่วมกันลดผลกระทบให้สังคม
เป็นที่รู้กันว่า ช่วงสงกรานต์ของทุกปีจะมีสถิติตายประมาณ 300-400 คน บาดเจ็บอีกหลายพันคน สาเหตุเกือบครึ่งมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สำคัญยังเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดการทะเลาะวิวาท อนาจาร คุกคามทางเพศ และเหตุรำคาญอื่นๆ ทั้งเปิดเพลงเสียงดัง เมามายโวยวายข้ามวันข้ามคืน
ด้านหนึ่งเราจะเห็นภาพบรรดาผู้ผลิตและจำหน่ายต่างทุ่มเทกันเต็มที่ในช่วงนี้ เพื่อให้สินค้าของตนเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพราะคือโอกาสทองในการทำตลาด กระตุ้นยอดขาย ผ่ายบรรดาเอเยนต์ ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ผับบาร์ต่างๆ เป็นเรื่องปกติของฝ่ายที่สร้างรายได้ ซึ่งเรายังไม่เคยเห็นสำนึกความรับผิดชอบใดๆ ออกมา
ขณะที่ฝ่ายผู้บริโภคจำนวนหนึ่งต้องตามมาด้วยการบาดเจ็บล้มตาย การถูกคุกคามทางเพศ ถูกลูกหลง ฯลฯ ที่มิอาจประเมินมูลค่าได้ งานวิจัยชี้ชัดว่าเทศกาลสงกรานต์ คนที่ถูกลูกหลงจะเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงปกติถึง 3 เท่า ดังนั้น ในหนึ่งความสูญเสียผลกระทบจึงมิได้เกิดขึ้นแค่คนที่บาดเจ็บล้มตาย แต่ลูกเมีย ครอบครัว ญาติพี่น้องเพื่อนร่วมงาน และสังคมต่างต้องร่วมแบกรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง
สงกรานต์ในปีนี้ มีนิมิตหมายที่ดีคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานภาครัฐจำนวนมาก หันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ได้ประกาศเป็นนโยบายชัดเจน ซึ่งหนึ่งในหลายๆ มาตรการ มีเรื่องการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถขณะอยู่บนทางรวมอยู่ด้วย เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่เชื่อว่าหากบังคับใช้กันอย่างจริงจัง จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ลงได้อย่างแน่นอน
แต่ระหว่างที่หลายฝ่ายกำลังวางมาตรการรับมือกันอย่างจริงจัง เราพบว่าหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บเงินจากภาษีน้ำเมา กลับขยับตัวในเรื่องนี้น้อยมากทั้งๆ ที่มีกฎหมาย พ.ร.บ.สุรา 2493 เป็นเครื่องมืออยู่แล้ว
งานวิจัยพบว่า ในปัจจุบันมีใบอนุญาตขายสุรามากกว่า 600,000 ราย แต่ในความเป็นจริงในการลงพื้นที่แต่ละครั้งเรากลับพบว่าจะมีร้านขายที่ไม่มีใบอนุญาตแฝงตัวอยู่อีกเกือบเท่าตัว เช่นเดียวกับช่วงเทศกาลสำคัญๆ ทั้งปีใหม่และสงกรานต์ที่จะมีพ่อค้าหัวใสตั้งโต๊ะขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่มีใบอนุญาตอยู่เกลื่อนเมือง ซึ่งหากมีการเก็บข้อมูลอาจทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของจุดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดในโลกก็เป็นได้
เอาแค่ว่า “สรรพสามิต”จริงจังลงพื้นที่ตรวจจับ เฉพาะในพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ซึ่งได้รับความนิยม แค่นี้ก็ทำให้การเข้าถึงน้ำเมาลดลงไปได้มากแล้ว แต่น่าแปลกใจ ในยุคอธิบดีคนปัจจุบัน เราแทบไม่เห็นการทำงานด้านสังคมเลย นอกจากการแถลงข่าวจับเหล้าเถื่อน บุหรี่เถื่อนทั้งๆที่ในช่วงนี้กรมสรรพสามิตควรมีท่าที มีนโยบายที่จะมีส่วนช่วยลดปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออกมา
“วันนี้สรรพสามิตกำลังเป็นหน่วยงานที่ยังคงหลับใหลกับเม็ดเงินภาษีที่เก็บได้จากน้ำเมา ปีหนึ่ง 8-9 หมื่นล้านบาท ท่ามกลางผลกระทบที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้นจากสินค้าบาปชนิดนี้”
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ก่อนถึงวันสงกรานต์สรรพสามิตจะตื่น และนำกฎหมายที่ตัวเองมีอยู่มาสนับสนุนลดผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงสงกรานต์ ได้ทัน ก่อนที่จะตกขบวนรถไฟซึ่งทุกฝ่ายกำลังร่วมกันลดผลกระทบให้สังคม