“องค์กรสตรี” จี้ พม.คุมเข้มสงกรานต์ปลอดภัยไร้ลวนลาม เผยเทศกาลสาดน้ำผู้หญิงตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศเพิ่มขึ้นทุกปี วอน พม.ออกมาตรการปกป้อง-สร้างกลไกอย่างมีประสิทธิภาพ
วันนี้ (2 เม.ย.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เมื่อเวลา 13.30 น. นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วยเครือข่ายผู้หญิงเลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง 9 จังหวัด และนักศึกษาหญิงกว่า 30 คน ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อนายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงออกมาตรการปกป้องผู้หญิง ต่อปัญหาการถูกลวนลาม อนาจาร ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมทั้งกำหนดกลไกรับเรื่องร้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
นายจะเด็จ กล่าวว่า ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์ของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม กลายเป็นเทศกาลฉลองดื่มสุรา เน้นความสนุกสนาน ก่อให้เกิดผลกระทบ ทั้งอุบัติเหตุบนท้องถนน สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน การทะเลาะวิวาท การคุกคามทางเพศ จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2547 พบว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีปัญหาการคุกคามทางเพศต่อผู้หญิงกว่า 5 แสนรายทั่วประเทศ และจากข้อมูลของมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา (มยพ.)ปี 2555 โดยการสำรวจประชาชนในเขต กทม.จำนวน 900 ราย พบว่า เคยเห็นเหตุการณ์การคุกคามทางเพศ 8.89% ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้หญิงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังพบว่า เหตุการณ์การคุกคามทางเพศในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี
นายจะเด็จ กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นเทศกาลที่ผู้หญิงต้องการออกมาร่วมสนุก รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ พ่อ แม่ และบรรพบุรุษเพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงาม แต่ผู้หญิงจำนวนมากกลับต้องมาประสบปัญหาการถูกคุกคามทางเพศจากเทศกาลนี้ ดังนั้น มูลนิธิและเครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องให้กระทรวง พม.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงมีมาตรการป้องกันปัญหาการคุกคามทางเพศต่อผู้หญิงในช่วงสงกรานต์ ดังนี้ 1.ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ชาย ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ถึงผลกระทบจากปัญหาการคุกคามทางเพศ ที่ถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงในด้านต่างๆ และรณรงค์ให้ผู้ชายปรับทัศนคติให้การร่วมงานสงกรานต์อย่างสร้างสรรค์ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่คุกคามทางเพศ 2.ขอให้ศูนย์ประชาบดี 1300 ทุกจังหวัดเป็นศูนย์ในการเฝ้าระวัง และรับแจ้งเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 12-16 เม.ย.เพื่อให้ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบ ได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองอย่างทันท่วงที และ3.ขอให้กระทรวงพม.ทุกจังหวัด สนับสนุนเครือข่ายประชาคมจังหวัด ให้มีการรณรงค์พื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย ปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปราศจากการคุกคามทางเพศ
นายวิเชียร กล่าวภายหลังรับเรื่องรับข้อเสนอ ว่า ตามที่มูลนิธิและเครือข่ายฯ เสนอมา ทาง พม.จะทำหนังสือไปยังสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด ให้กำชับและป้องกันปัญหาความรุนแรงและการคุกคามทางเพศต่อผู้หญิงที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งยอมรับว่าศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ 1300 ยังมีข้อจำกัด โดยเฉพาะเรื่องบุคลากรและระบบให้บริการ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ อยากวิงวอนไปยังผู้ชายต้องเป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติผู้หญิงไม่ทำอะไรที่เกินเลยอยู่ในขอบเขตประเพณี
วันนี้ (2 เม.ย.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เมื่อเวลา 13.30 น. นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วยเครือข่ายผู้หญิงเลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง 9 จังหวัด และนักศึกษาหญิงกว่า 30 คน ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อนายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงออกมาตรการปกป้องผู้หญิง ต่อปัญหาการถูกลวนลาม อนาจาร ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมทั้งกำหนดกลไกรับเรื่องร้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
นายจะเด็จ กล่าวว่า ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์ของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม กลายเป็นเทศกาลฉลองดื่มสุรา เน้นความสนุกสนาน ก่อให้เกิดผลกระทบ ทั้งอุบัติเหตุบนท้องถนน สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน การทะเลาะวิวาท การคุกคามทางเพศ จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2547 พบว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีปัญหาการคุกคามทางเพศต่อผู้หญิงกว่า 5 แสนรายทั่วประเทศ และจากข้อมูลของมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา (มยพ.)ปี 2555 โดยการสำรวจประชาชนในเขต กทม.จำนวน 900 ราย พบว่า เคยเห็นเหตุการณ์การคุกคามทางเพศ 8.89% ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้หญิงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังพบว่า เหตุการณ์การคุกคามทางเพศในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี
นายจะเด็จ กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นเทศกาลที่ผู้หญิงต้องการออกมาร่วมสนุก รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ พ่อ แม่ และบรรพบุรุษเพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงาม แต่ผู้หญิงจำนวนมากกลับต้องมาประสบปัญหาการถูกคุกคามทางเพศจากเทศกาลนี้ ดังนั้น มูลนิธิและเครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องให้กระทรวง พม.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงมีมาตรการป้องกันปัญหาการคุกคามทางเพศต่อผู้หญิงในช่วงสงกรานต์ ดังนี้ 1.ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ชาย ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ถึงผลกระทบจากปัญหาการคุกคามทางเพศ ที่ถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงในด้านต่างๆ และรณรงค์ให้ผู้ชายปรับทัศนคติให้การร่วมงานสงกรานต์อย่างสร้างสรรค์ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่คุกคามทางเพศ 2.ขอให้ศูนย์ประชาบดี 1300 ทุกจังหวัดเป็นศูนย์ในการเฝ้าระวัง และรับแจ้งเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 12-16 เม.ย.เพื่อให้ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบ ได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองอย่างทันท่วงที และ3.ขอให้กระทรวงพม.ทุกจังหวัด สนับสนุนเครือข่ายประชาคมจังหวัด ให้มีการรณรงค์พื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย ปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปราศจากการคุกคามทางเพศ
นายวิเชียร กล่าวภายหลังรับเรื่องรับข้อเสนอ ว่า ตามที่มูลนิธิและเครือข่ายฯ เสนอมา ทาง พม.จะทำหนังสือไปยังสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด ให้กำชับและป้องกันปัญหาความรุนแรงและการคุกคามทางเพศต่อผู้หญิงที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งยอมรับว่าศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ 1300 ยังมีข้อจำกัด โดยเฉพาะเรื่องบุคลากรและระบบให้บริการ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ อยากวิงวอนไปยังผู้ชายต้องเป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติผู้หญิงไม่ทำอะไรที่เกินเลยอยู่ในขอบเขตประเพณี