สธ.จัดอบรมสร้างผู้นำกลุ่มและเครือข่ายสุขภาพ ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และโรคกาฬหลังแอ่น แก่ชาวไทยมุสลิมกว่า 13,000 คน ก่อนไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประจำปี 2556 พร้อมจัดระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2012 เต็มที่ ทั้งก่อนไปและหลังกลับ
วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่จังหวัดนราธิวาส นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 12 และนายซาฟีอิ เจ๊ะเลาะ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส เปิดงานมหกรรมส่งเสริมสุขภาพชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ประจำปี 2556 เพื่ออบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ ตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีน และอบรมผู้นำกลุ่มหรือแซะห์ แจกสมุดบันทึกประวัติสุขภาพ มอบกระเป๋ายาเวชภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เพื่อป้องกันโรค
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวว่า ในปี 2556 นี้ มีชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย 13,000 คน ซึ่งร้อยละ 80 อยู่ใน 5 จังหวัดชายแดนภายใต้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเดินทางในเดือนกันยายน กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้การดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพกายและใจอย่างเต็มที่ โดยก่อนไปได้ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด จัดคลินิกบริการตรวจสุขภาพ เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เช่นตรวจความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และจัดเตรียมยาประจำตัวให้พร้อม และฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามที่กระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบียกำหนด คือวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Influenza) และวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal meningitis) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ผู้แสวงบุญ เนื่องจากผู้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ที่เมืองเมกกะ ในแต่ละปีมี มาจากหลายเชื้อชาติ ทุกภูมิภาคของโลก จำนวนประมาณ 3 ล้านคน และจะต้องอาศัยอยู่รวมกันจำนวนมากเป็นเวลานานในสถานที่จำกัด โรคจึงมีโอกาสระบาดขึ้นได้ โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ ซึ่งพบมากที่สุด โดยกระทรวงสาธารณสุขจะส่งทีมแพทย์พยาบาลไทยจำนวน 42 คน แบ่งเป็น 3 ทีม ไปให้การดูแลรักษาพยาบาลชาวไทยมุสลิมตลอด 24 ชั่วโมง ด้วย
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวต่อว่า เรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นห่วง และได้วางระบบการป้องกันไว้อย่างต่อเนื่องคือ โรคทางเดินหายใจรุนแรงจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2012 หรือเมิร์ส ( MERS) ซึ่งพบในพื้นที่ประเทศแถบตะวันออกกลาง ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 เป็นต้นมา แม้ว่าในประเทศไทยขณะนี้จะยังไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าวก็ตาม สถานการณ์ยังมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น โดยจนถึงล่าสุด 26 มิถุนายน 2556 องค์การอนามัยโลกรายงานผู้ป่วย 77 ราย 8 ประเทศ เสียชีวิต 40 ราย ทั้งผู้ป่วยและเสียชีวิตประมาณร้อยละ 80 อยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย เพื่อความไม่ประมาท ได้ให้กรมควบคุมโรคแจกเจลล้างมือแอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัยเพิ่มและสั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่มีผู้เดินทางไปร่วมพิธีฮัจญ์ ซึ่งมีประมาณ 53 จังหวัด จัดระบบการดูแลทั้งก่อนไปและกลับ เพื่อติดตามเฝ้าระวังโรคทุกคนหลังเดินทางกลับมาแล้วเป็นเวลา 15 วัน
ด้าน นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 12 กล่าวว่า โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดอบรมผู้นำกลุ่มในการเดินทางหรือ ที่เรียกว่าแซะห์ ให้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม.ฮัจญ์ รวมทั้งหมด 450 คน เป็นเครือข่ายดูแลสุขภาพผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งจะอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ประมาณ และมอบกระเป๋ายาเวชภัณฑ์พื้นฐาน เช่น ชุดทำแผล ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้แพ้ ยาแก้เมารถ ยาแก้ปวดศีรษะ หน้ากาอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เป็นต้น
วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่จังหวัดนราธิวาส นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 12 และนายซาฟีอิ เจ๊ะเลาะ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส เปิดงานมหกรรมส่งเสริมสุขภาพชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ประจำปี 2556 เพื่ออบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ ตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีน และอบรมผู้นำกลุ่มหรือแซะห์ แจกสมุดบันทึกประวัติสุขภาพ มอบกระเป๋ายาเวชภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เพื่อป้องกันโรค
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวว่า ในปี 2556 นี้ มีชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย 13,000 คน ซึ่งร้อยละ 80 อยู่ใน 5 จังหวัดชายแดนภายใต้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเดินทางในเดือนกันยายน กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้การดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพกายและใจอย่างเต็มที่ โดยก่อนไปได้ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด จัดคลินิกบริการตรวจสุขภาพ เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เช่นตรวจความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และจัดเตรียมยาประจำตัวให้พร้อม และฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามที่กระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบียกำหนด คือวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Influenza) และวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal meningitis) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ผู้แสวงบุญ เนื่องจากผู้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ที่เมืองเมกกะ ในแต่ละปีมี มาจากหลายเชื้อชาติ ทุกภูมิภาคของโลก จำนวนประมาณ 3 ล้านคน และจะต้องอาศัยอยู่รวมกันจำนวนมากเป็นเวลานานในสถานที่จำกัด โรคจึงมีโอกาสระบาดขึ้นได้ โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ ซึ่งพบมากที่สุด โดยกระทรวงสาธารณสุขจะส่งทีมแพทย์พยาบาลไทยจำนวน 42 คน แบ่งเป็น 3 ทีม ไปให้การดูแลรักษาพยาบาลชาวไทยมุสลิมตลอด 24 ชั่วโมง ด้วย
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวต่อว่า เรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นห่วง และได้วางระบบการป้องกันไว้อย่างต่อเนื่องคือ โรคทางเดินหายใจรุนแรงจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2012 หรือเมิร์ส ( MERS) ซึ่งพบในพื้นที่ประเทศแถบตะวันออกกลาง ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 เป็นต้นมา แม้ว่าในประเทศไทยขณะนี้จะยังไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าวก็ตาม สถานการณ์ยังมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น โดยจนถึงล่าสุด 26 มิถุนายน 2556 องค์การอนามัยโลกรายงานผู้ป่วย 77 ราย 8 ประเทศ เสียชีวิต 40 ราย ทั้งผู้ป่วยและเสียชีวิตประมาณร้อยละ 80 อยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย เพื่อความไม่ประมาท ได้ให้กรมควบคุมโรคแจกเจลล้างมือแอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัยเพิ่มและสั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่มีผู้เดินทางไปร่วมพิธีฮัจญ์ ซึ่งมีประมาณ 53 จังหวัด จัดระบบการดูแลทั้งก่อนไปและกลับ เพื่อติดตามเฝ้าระวังโรคทุกคนหลังเดินทางกลับมาแล้วเป็นเวลา 15 วัน
ด้าน นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 12 กล่าวว่า โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดอบรมผู้นำกลุ่มในการเดินทางหรือ ที่เรียกว่าแซะห์ ให้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม.ฮัจญ์ รวมทั้งหมด 450 คน เป็นเครือข่ายดูแลสุขภาพผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งจะอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ประมาณ และมอบกระเป๋ายาเวชภัณฑ์พื้นฐาน เช่น ชุดทำแผล ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้แพ้ ยาแก้เมารถ ยาแก้ปวดศีรษะ หน้ากาอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เป็นต้น