อึ้ง! มีคนไทยที่ไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อเอชไอวีถึง 7 แสนคน เสี่ยงแพร่เชื้อสูง กรมควบคุมโรคแนะตรวจหาเชื้อรู้ผลในวันเดียว แย้มเตรียมพัฒนาน้ำยาให้รู้ผลในครึ่งชั่วโมง พร้อมออกบูธให้บริการฟรี ก.ค.นี้ ด้านศูนย์วิจัยโรคเอดส์เตือนตรวจแล้วไม่ติดเชื้ออย่าวางใจ หากยังมีพฤติกรรมทางเพศเสี่ยงควรมาตรวจซ้ำ
วันนี้ (19 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวแถลงข่าว “Same Day Results...ตรวจเพื่อก้าวต่อ” หรือ “รู้ผลในวันเดียว เอชไอวี...ตรวจเพื่อก้าวต่อ” ว่า สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีตัวเลขสะสมสูงถึง 1.1 ล้านรายแต่อยู่ในระบบการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีเพียง 376,690 ราย แสดงว่าอีกประมาณ 700,000 รายไม่ได้รับยาต้านไวรัส ซึ่งตัวเลขนี้รวมทั้งผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญของผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่เข้าสู่ระบบการรักษา เนื่องจากไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ ซึ่งจุดนี้ทำให้มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม แม้บางกลุ่มจะเข้ารับการตรวจเลือด แต่พบว่าไม่ยอมมาฟังผลตามนัดถึงร้อยละ 30 มีเพียงร้อยละ 64 ที่กลับมาฟังผล คร.จึงขอสนับสนุนให้ประชาชนเข้าตรวจเลือด โดยรู้ผลเพียงวันเดียวเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องกลับมาฟังผลการตรวจในวันอื่นๆ ซึ่งจะทำให้สะดวกรวดเร็ว ที่สำคัญผลการตรวจแม่นยำเหมือนเดิม
นางศิริรัตน์ ลิกานนท์สกุล นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ สถาบันบำราศนราดูร กล่าวว่า การตรวจเชื้อเอชไอวีจะใช้ขั้นตอนการตรวจตามมาตรฐานสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสภาวิชาชีพกำหนดไว้ ซึ่งปัจจุบันมีการเลือกใช้น้ำยาในการตรวจที่ได้รับการพัฒนาให้รู้ผลตรวจรวดเร็วขึ้น เพื่อลดระยะเวลาในการรอคอย ซึ่งน้ำยานี้ได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งนี้ หากผลตรวจเป็นลบคือไม่ติดเชื้อก็สามารถรายงานผลได้เลย แต่หากผลเป็นบวกหรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อ ก็จะตรวจด้วยน้ำยาตัวที่สองและสาม ซึ่งต่างยี่ห้อกัน ถ้าผลตรวจทั้ง 3 ครั้งตรงกันว่าเป็นบวก ก็จะส่งข้อมูลต่อให้แก่ผู้ให้คำปรึกษา เพื่อขอให้ผู้ป่วยเจาะเลือดเป็นครั้งที่ 2 เพื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าของเลือดจริง ซึ่งผู้ป่วยก็จะมั่นใจว่าการตรวจเลือดทั้ง 2 ครั้งได้ผลตรงกัน และนำไปสู่การรักษาในที่สุด ซึ่งการตรวจทั้งหมดนี้จะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น
นางศิริรัตน์ กล่าวอีกว่า การตรวจเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยสามารถเลือกได้ว่าต้องการรับฟังผลในวันเดียวหรือไม่ แต่หากเป็นผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล ไม่จำเป็นต้องรู้ผลในวันเดียวก็จะใช้น้ำยาเดิมในการตรวจ ซึ่งทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับกระบวนการของนักเทคนิคการแพทย์ของโรงพยาบาลนั้นๆ รวมถึงบริบทของห้องปฏิบัติการและบุคลากร ซึ่งขณะนี้การตรวจเชื้อเอชไอวีแบบรู้ผลในวันเดียวมีให้บริการแล้วที่สถาบันบำราศนราดูรและโรงพยาบาลต่างจังหวัดหลายแห่ง ซึ่งบางแห่งมีการเริ่มดำเนินการมานานแล้ว เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้ไม่ต้องเดินทางไกล เพียงแต่ไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ แต่เมื่อ สธ.มีความประสงค์ให้ดำเนินการในเรื่องนี้ ก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น เป็นลักษณะของใกล้บ้านใกล้ใจ ซึ่งสภาวิชาชีพก็หนุนผู้ประกอบวิชาชีพให้พัฒนากระบวนการเพื่อให้บริการแก่ประชาชนมากขึ้น
“การตรวจเชื้อเอชไอวีโดยใช้น้ำยาแบบ 3G แม้จะตรวจแล้วรู้ผลได้ในวันเดียวแต่ก็ต้องรอระยะเวลาในการฟักตัวของเชื้อคือ 22 วันจึงจะตรวจเจอ เพราะน้ำยา 3G จะตรวจได้แต่เพียงร่องรอยการติดเชื้อหรือแอนติบอดีเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้มีการนำน้ำยา 4G มาใช้ ซึ่งเดิมเป็นน้ำยาที่ใช้ในการตรวจเลือดจากการบริจาคโลหิต ซึ่งสามารถตรวจหาเชื้อเจอได้ใน 16 วัน หลังจากวันที่รับเชื้อ เพราะน้ำยาตัวนี้สามารถตรวจหาโปรตีนของเชื้อหรือแอนติเจนและแอนติบอดีได้” นางศิริรัตน์ กล่าวและว่า ล่าสุดกำลังมีการพัฒนาน้ำยาให้สามารถรู้ผลได้ไวขึ้นในครึ่งชั่วโมง ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขให้คุณภาพดีขึ้น
พญ.นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ขอเชิญชวนประชาชนตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อได้ในวันเดียว โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ไม่แน่ใจตัวเองก็สามารถเข้ารับบริการได้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมากที่ไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ โดยข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยรายใหม่ปีละกว่า 10,000 ราย พบว่ากว่า 5,000 รายติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว ซึ่งหากเรารู้ว่าติดเชื้อตั้งแต่เริ่มแรก จะทำให้ได้รับยาต้านไวรัสฯรวดเร็วขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน อย่างวัณโรค โรคตับอักเสบก็แทบไม่มี ยกตัวอย่าง คนปกติจะมีค่าซีดีโฟร์ (CD4) หรือระดับเม็ดเลือดขาวในเลือดอยู่ที่ 600-1,000 ต่อเลือด 1 ลบ.มม. ซึ่งในผู้ติดเชื้อฯหากมารับยาที่ค่าซีดีโฟร์ 300-400 จะช่วยให้อาการดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แต่ที่ผ่านมารู้ตัวช้า มักเข้ารับยาต้านฯที่ค่าซีดีโฟร์ 60-70 ซึ่งแทบไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นมากนัก ดังนั้น หากรู้ตัวเร็ว โอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมสูงขึ้น
พญ.นิตยา กล่าวอีกว่า ผู้ที่สนใจตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถตรวจได้ตามสถานพยาบาลต่างๆ ล่าสุด คร.ได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กทม.สายด่วนปรึกษาเอดส์ 1663 มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และองค์การแพทย์ จะจัดบริการให้การปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีนอกสถานที่ ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์สาขางามวงศ์วาน ในวันอาทิตย์ที่ 7 14 และ 21 ก.ค.2556 และวันอาทิตย์ที่ 28 ก.ค.2556 ที่ห้างสรรพสินค้า ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ ได้ออกหน่วยบริการปรึกษาและตรวจเอชไอวีนอกสถานที่เป็นประจำทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตลอดปีนี้ที่ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต หากประชาชนที่รู้สึกกังวล สงสัย หรือประเมินแล้วว่าตัวเองอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี และหากตัดสินใจตรวจเลือดก็สามารถไปใช้บริการที่หน่วยบริการดังข้างต้นได้ โดยจะเปิดให้บริการฟรีตั้งแต่ 10.00-20.00 น.
“สำหรับผู้ที่ตรวจเลือดแล้วผลเป็นลบ คือไม่ติดเชื้อก็ขอให้มั่นใจได้ว่าไม่ติดเชื้อจริงๆ แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจไม่มาตรวจอีกเลย เพราะหากมีพฤติกรรมทางเพศใดๆ ที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อก็ตาม ไม่ควรรอ 3 เดือนหรือ 6 เดือนค่อยมาตรวจ แต่ควรรอให้พ้นระยะเวลาฟักตัวของเชื้อ 22 วันแล้วจึงมาตรวจ หากผลเป็นบวกก็จะได้รับรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป” พญ.นิตยา กล่าว
นพ.กสิวัฒน์ ศรีประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ส่วนของโรงพยาบาลชุมชนได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ได้ปรับระบบบริการให้มีความพร้อมในการตรวจแบบบทราบผลการตรวจในวันเดียวด้วยเช่นกัน และมีบริการปรึกษาที่ช่วยค้นหาทางเลือกในการป้องกันและแนวทางในการดูแลภาวะสุขภาพ รวมถึงผู้รับบริการที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งมีหน่วยบริการที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชนที่พร้อมให้บริการเยาวชน 4 เรื่อง คือ การคุมกำเนิด ตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูก และตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเอดส์
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคและองค์การพัฒนาเอกชนได้ร่วมกันพัฒนาระบบการให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ “สายด่วนปรึกษาเอดส์ 1663” โดยเป็นโทรศัพท์สายด่วนที่เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 10.00-20.00 น.เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการปรึกษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์มากขึ้น หรือเพื่อประเมินว่าตัวเองมีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวีมากน้อยเพียงใด หากพบว่ามีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี สามารถไปรับบริการตรวจเลือดได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง ที่สถานพยาบาลของรัฐทุกแห่งและเครือข่ายบริการที่เป็นมิตรใกล้บ้าน
วันนี้ (19 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวแถลงข่าว “Same Day Results...ตรวจเพื่อก้าวต่อ” หรือ “รู้ผลในวันเดียว เอชไอวี...ตรวจเพื่อก้าวต่อ” ว่า สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีตัวเลขสะสมสูงถึง 1.1 ล้านรายแต่อยู่ในระบบการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีเพียง 376,690 ราย แสดงว่าอีกประมาณ 700,000 รายไม่ได้รับยาต้านไวรัส ซึ่งตัวเลขนี้รวมทั้งผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญของผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่เข้าสู่ระบบการรักษา เนื่องจากไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ ซึ่งจุดนี้ทำให้มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม แม้บางกลุ่มจะเข้ารับการตรวจเลือด แต่พบว่าไม่ยอมมาฟังผลตามนัดถึงร้อยละ 30 มีเพียงร้อยละ 64 ที่กลับมาฟังผล คร.จึงขอสนับสนุนให้ประชาชนเข้าตรวจเลือด โดยรู้ผลเพียงวันเดียวเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องกลับมาฟังผลการตรวจในวันอื่นๆ ซึ่งจะทำให้สะดวกรวดเร็ว ที่สำคัญผลการตรวจแม่นยำเหมือนเดิม
นางศิริรัตน์ ลิกานนท์สกุล นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ สถาบันบำราศนราดูร กล่าวว่า การตรวจเชื้อเอชไอวีจะใช้ขั้นตอนการตรวจตามมาตรฐานสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสภาวิชาชีพกำหนดไว้ ซึ่งปัจจุบันมีการเลือกใช้น้ำยาในการตรวจที่ได้รับการพัฒนาให้รู้ผลตรวจรวดเร็วขึ้น เพื่อลดระยะเวลาในการรอคอย ซึ่งน้ำยานี้ได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งนี้ หากผลตรวจเป็นลบคือไม่ติดเชื้อก็สามารถรายงานผลได้เลย แต่หากผลเป็นบวกหรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อ ก็จะตรวจด้วยน้ำยาตัวที่สองและสาม ซึ่งต่างยี่ห้อกัน ถ้าผลตรวจทั้ง 3 ครั้งตรงกันว่าเป็นบวก ก็จะส่งข้อมูลต่อให้แก่ผู้ให้คำปรึกษา เพื่อขอให้ผู้ป่วยเจาะเลือดเป็นครั้งที่ 2 เพื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าของเลือดจริง ซึ่งผู้ป่วยก็จะมั่นใจว่าการตรวจเลือดทั้ง 2 ครั้งได้ผลตรงกัน และนำไปสู่การรักษาในที่สุด ซึ่งการตรวจทั้งหมดนี้จะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น
นางศิริรัตน์ กล่าวอีกว่า การตรวจเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยสามารถเลือกได้ว่าต้องการรับฟังผลในวันเดียวหรือไม่ แต่หากเป็นผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล ไม่จำเป็นต้องรู้ผลในวันเดียวก็จะใช้น้ำยาเดิมในการตรวจ ซึ่งทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับกระบวนการของนักเทคนิคการแพทย์ของโรงพยาบาลนั้นๆ รวมถึงบริบทของห้องปฏิบัติการและบุคลากร ซึ่งขณะนี้การตรวจเชื้อเอชไอวีแบบรู้ผลในวันเดียวมีให้บริการแล้วที่สถาบันบำราศนราดูรและโรงพยาบาลต่างจังหวัดหลายแห่ง ซึ่งบางแห่งมีการเริ่มดำเนินการมานานแล้ว เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้ไม่ต้องเดินทางไกล เพียงแต่ไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ แต่เมื่อ สธ.มีความประสงค์ให้ดำเนินการในเรื่องนี้ ก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น เป็นลักษณะของใกล้บ้านใกล้ใจ ซึ่งสภาวิชาชีพก็หนุนผู้ประกอบวิชาชีพให้พัฒนากระบวนการเพื่อให้บริการแก่ประชาชนมากขึ้น
“การตรวจเชื้อเอชไอวีโดยใช้น้ำยาแบบ 3G แม้จะตรวจแล้วรู้ผลได้ในวันเดียวแต่ก็ต้องรอระยะเวลาในการฟักตัวของเชื้อคือ 22 วันจึงจะตรวจเจอ เพราะน้ำยา 3G จะตรวจได้แต่เพียงร่องรอยการติดเชื้อหรือแอนติบอดีเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้มีการนำน้ำยา 4G มาใช้ ซึ่งเดิมเป็นน้ำยาที่ใช้ในการตรวจเลือดจากการบริจาคโลหิต ซึ่งสามารถตรวจหาเชื้อเจอได้ใน 16 วัน หลังจากวันที่รับเชื้อ เพราะน้ำยาตัวนี้สามารถตรวจหาโปรตีนของเชื้อหรือแอนติเจนและแอนติบอดีได้” นางศิริรัตน์ กล่าวและว่า ล่าสุดกำลังมีการพัฒนาน้ำยาให้สามารถรู้ผลได้ไวขึ้นในครึ่งชั่วโมง ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขให้คุณภาพดีขึ้น
พญ.นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ขอเชิญชวนประชาชนตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อได้ในวันเดียว โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ไม่แน่ใจตัวเองก็สามารถเข้ารับบริการได้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมากที่ไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ โดยข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยรายใหม่ปีละกว่า 10,000 ราย พบว่ากว่า 5,000 รายติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว ซึ่งหากเรารู้ว่าติดเชื้อตั้งแต่เริ่มแรก จะทำให้ได้รับยาต้านไวรัสฯรวดเร็วขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน อย่างวัณโรค โรคตับอักเสบก็แทบไม่มี ยกตัวอย่าง คนปกติจะมีค่าซีดีโฟร์ (CD4) หรือระดับเม็ดเลือดขาวในเลือดอยู่ที่ 600-1,000 ต่อเลือด 1 ลบ.มม. ซึ่งในผู้ติดเชื้อฯหากมารับยาที่ค่าซีดีโฟร์ 300-400 จะช่วยให้อาการดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แต่ที่ผ่านมารู้ตัวช้า มักเข้ารับยาต้านฯที่ค่าซีดีโฟร์ 60-70 ซึ่งแทบไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นมากนัก ดังนั้น หากรู้ตัวเร็ว โอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมสูงขึ้น
พญ.นิตยา กล่าวอีกว่า ผู้ที่สนใจตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถตรวจได้ตามสถานพยาบาลต่างๆ ล่าสุด คร.ได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กทม.สายด่วนปรึกษาเอดส์ 1663 มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และองค์การแพทย์ จะจัดบริการให้การปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีนอกสถานที่ ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์สาขางามวงศ์วาน ในวันอาทิตย์ที่ 7 14 และ 21 ก.ค.2556 และวันอาทิตย์ที่ 28 ก.ค.2556 ที่ห้างสรรพสินค้า ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ ได้ออกหน่วยบริการปรึกษาและตรวจเอชไอวีนอกสถานที่เป็นประจำทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตลอดปีนี้ที่ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต หากประชาชนที่รู้สึกกังวล สงสัย หรือประเมินแล้วว่าตัวเองอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี และหากตัดสินใจตรวจเลือดก็สามารถไปใช้บริการที่หน่วยบริการดังข้างต้นได้ โดยจะเปิดให้บริการฟรีตั้งแต่ 10.00-20.00 น.
“สำหรับผู้ที่ตรวจเลือดแล้วผลเป็นลบ คือไม่ติดเชื้อก็ขอให้มั่นใจได้ว่าไม่ติดเชื้อจริงๆ แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจไม่มาตรวจอีกเลย เพราะหากมีพฤติกรรมทางเพศใดๆ ที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อก็ตาม ไม่ควรรอ 3 เดือนหรือ 6 เดือนค่อยมาตรวจ แต่ควรรอให้พ้นระยะเวลาฟักตัวของเชื้อ 22 วันแล้วจึงมาตรวจ หากผลเป็นบวกก็จะได้รับรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป” พญ.นิตยา กล่าว
นพ.กสิวัฒน์ ศรีประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ส่วนของโรงพยาบาลชุมชนได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ได้ปรับระบบบริการให้มีความพร้อมในการตรวจแบบบทราบผลการตรวจในวันเดียวด้วยเช่นกัน และมีบริการปรึกษาที่ช่วยค้นหาทางเลือกในการป้องกันและแนวทางในการดูแลภาวะสุขภาพ รวมถึงผู้รับบริการที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งมีหน่วยบริการที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชนที่พร้อมให้บริการเยาวชน 4 เรื่อง คือ การคุมกำเนิด ตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูก และตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเอดส์
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคและองค์การพัฒนาเอกชนได้ร่วมกันพัฒนาระบบการให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ “สายด่วนปรึกษาเอดส์ 1663” โดยเป็นโทรศัพท์สายด่วนที่เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 10.00-20.00 น.เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการปรึกษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์มากขึ้น หรือเพื่อประเมินว่าตัวเองมีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวีมากน้อยเพียงใด หากพบว่ามีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี สามารถไปรับบริการตรวจเลือดได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง ที่สถานพยาบาลของรัฐทุกแห่งและเครือข่ายบริการที่เป็นมิตรใกล้บ้าน