อึ้ง! 1 ใน 3 อาหารขายในไทยไม่ปลอดภัย นักวิชาการ ชี้มีทั้งไม่บริสุทธิ์ ปลอม ผิดมาตรฐาน แฉภาคอุตสาหกรรม เติมสารต่างๆ ในอาหารเกินมาตรฐานเพียบ แถมฉลากไม่ตรงกับผลิตภัณฑ์ เตือนอ่านฉลากก่อนซื้อเพื่อความปลอดภัย
นายพชร แกล้วกล้า ฝ่ายสนับสนุนองค์กรผู้บริโภคและพัฒนานโยบาย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวอภิปรายเรื่อง “ความไม่ปลอดภัยของอาหารจากอุตสาหกรรมอาหาร” ในหัวข้อ 9 สถานการณ์เด่นด้านความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย ในงานสมัชชาวิชาการความมั่นคงทางอาหาร ประจำปี 2556 การปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารเพื่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศและชุมชน ว่า ปัจจุบัน พบว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่จำหน่ายในประเทศไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอาหารที่ผลิตจากภาคอุตสาหกรรมที่การผลิตจากเนื้อสัตว์ หรือเนื้อสัตว์แปรรูป มีความเสี่ยงได้รับสารกันบูด สี บอแรกซ์ และฟอร์มาลิน ขณะที่อาหารแห้งก็มีความเสี่ยงได้รับสารฟอกขาว สี ยาฆ่าแมลง ส่วนผัก ผลไม้ก็เสี่ยงต่อการได้รับสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช สังเกตได้เลยว่าปัจจุบันจะมีข่าวรับประทานอาหารที่มีปัญหา อาหารเป็นพิษทุกเดือน
นายพชร กล่าวด้วยว่า ตัวอย่างของอุตสาหกรรมอาหารที่ทำให้อาหารไม่ปลอดภัย เช่น สารกันบูดในขนมปัง จากการสำรวจของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและนิตยสารฉลาดซื้อ พบว่า ขนมปังที่ขายตามร้านสะดวกซื้อ 1 ใน 3 มีสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชาเขียวพร้อมดื่ม มีความเสี่ยงได้กาเฟอีนและน้ำตาลมากจนเกินไป เป็นเรื่องของโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ขณะที่ 2 ใน 3 ของอาหารแช่แข็ง มีการแสดงฉลากชื่ออาหารที่ทำให้สับสน ไม่สอดคล้องกับส่วนประกอบ และมีการโฆษณาผิดกฎหมาย โอ้อวดสรรพคุณให้เข้าใจผิดจากความเป็นอาหารมีสูงร้อยละ 96 โดยพบว่า ข้าวเหนียวหมูย่างแช่แข็ง ที่ฉลากระบุว่ามีไก่เป็นส่วนผสมด้วย ส่วนขนมเด็กก็พบว่าเป็นเลข อย.ปลอม หรือฉลากระบุว่าใช้แป้งข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรม เป็นต้น
“การซื้ออาหารรับประทานถือว่าเป็นการวัดดวง เพราะ 1 ใน 3 คืออาหารไม่ปลอดภัย วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือการอ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง หากไม่แน่ใจก็ไม่ควรซื้อมารับประทานโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ การจำหน่ายสินค้าหมดอายุกลายเป็นเรื่องปกติ หาความรับผิดชอบจากผู้ประกอบการได้ยาก” นายพชร กล่าว
นายพชร กล่าวว่า อาหารไม่ปลอดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มี 4 ประเภท คือ 1.อาหารไม่บริสุทธิ์ คือ อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตราย มีสารเคมี วัตถุเจือเคมีปนในอาหาร ส่งผลให้คุณภาพอาหารลดลง ยกเว้นได้รับอนุญาตจากพนักเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงการผลิต บรรจุ และเก็บรักษาอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ 2.อาหารปลอม คือ อาหารที่มีการสับเปลี่ยนวัสดุอื่นแทนวัตถุดิบบางส่วน มีการคัดแยกวัตถุที่มีคุณค่าออก 3.อาหารผิดมาตรฐาน คือ อาหารที่ไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐาน เช่น การมีสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ น้ำมันมีสารโพลาร์เกินค่ามาตรฐาน มีการใส่สารกันบูดเกินมาตรฐานในไส้กรอก เป็นต้น และ 4.อาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด เช่น ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประกาศว่า ชาเจสัน เป็นอาหารไม่ปลอดภัย เป็นต้น โดยความเสี่ยงที่ทำให้อาหารไม่ปลอดภัยมีทั้งด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ และโภชนาการที่ไม่เหมาะสม
นายพชร แกล้วกล้า ฝ่ายสนับสนุนองค์กรผู้บริโภคและพัฒนานโยบาย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวอภิปรายเรื่อง “ความไม่ปลอดภัยของอาหารจากอุตสาหกรรมอาหาร” ในหัวข้อ 9 สถานการณ์เด่นด้านความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย ในงานสมัชชาวิชาการความมั่นคงทางอาหาร ประจำปี 2556 การปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารเพื่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศและชุมชน ว่า ปัจจุบัน พบว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่จำหน่ายในประเทศไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอาหารที่ผลิตจากภาคอุตสาหกรรมที่การผลิตจากเนื้อสัตว์ หรือเนื้อสัตว์แปรรูป มีความเสี่ยงได้รับสารกันบูด สี บอแรกซ์ และฟอร์มาลิน ขณะที่อาหารแห้งก็มีความเสี่ยงได้รับสารฟอกขาว สี ยาฆ่าแมลง ส่วนผัก ผลไม้ก็เสี่ยงต่อการได้รับสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช สังเกตได้เลยว่าปัจจุบันจะมีข่าวรับประทานอาหารที่มีปัญหา อาหารเป็นพิษทุกเดือน
นายพชร กล่าวด้วยว่า ตัวอย่างของอุตสาหกรรมอาหารที่ทำให้อาหารไม่ปลอดภัย เช่น สารกันบูดในขนมปัง จากการสำรวจของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและนิตยสารฉลาดซื้อ พบว่า ขนมปังที่ขายตามร้านสะดวกซื้อ 1 ใน 3 มีสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชาเขียวพร้อมดื่ม มีความเสี่ยงได้กาเฟอีนและน้ำตาลมากจนเกินไป เป็นเรื่องของโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ขณะที่ 2 ใน 3 ของอาหารแช่แข็ง มีการแสดงฉลากชื่ออาหารที่ทำให้สับสน ไม่สอดคล้องกับส่วนประกอบ และมีการโฆษณาผิดกฎหมาย โอ้อวดสรรพคุณให้เข้าใจผิดจากความเป็นอาหารมีสูงร้อยละ 96 โดยพบว่า ข้าวเหนียวหมูย่างแช่แข็ง ที่ฉลากระบุว่ามีไก่เป็นส่วนผสมด้วย ส่วนขนมเด็กก็พบว่าเป็นเลข อย.ปลอม หรือฉลากระบุว่าใช้แป้งข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรม เป็นต้น
“การซื้ออาหารรับประทานถือว่าเป็นการวัดดวง เพราะ 1 ใน 3 คืออาหารไม่ปลอดภัย วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือการอ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง หากไม่แน่ใจก็ไม่ควรซื้อมารับประทานโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ การจำหน่ายสินค้าหมดอายุกลายเป็นเรื่องปกติ หาความรับผิดชอบจากผู้ประกอบการได้ยาก” นายพชร กล่าว
นายพชร กล่าวว่า อาหารไม่ปลอดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มี 4 ประเภท คือ 1.อาหารไม่บริสุทธิ์ คือ อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตราย มีสารเคมี วัตถุเจือเคมีปนในอาหาร ส่งผลให้คุณภาพอาหารลดลง ยกเว้นได้รับอนุญาตจากพนักเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงการผลิต บรรจุ และเก็บรักษาอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ 2.อาหารปลอม คือ อาหารที่มีการสับเปลี่ยนวัสดุอื่นแทนวัตถุดิบบางส่วน มีการคัดแยกวัตถุที่มีคุณค่าออก 3.อาหารผิดมาตรฐาน คือ อาหารที่ไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐาน เช่น การมีสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ น้ำมันมีสารโพลาร์เกินค่ามาตรฐาน มีการใส่สารกันบูดเกินมาตรฐานในไส้กรอก เป็นต้น และ 4.อาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด เช่น ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประกาศว่า ชาเจสัน เป็นอาหารไม่ปลอดภัย เป็นต้น โดยความเสี่ยงที่ทำให้อาหารไม่ปลอดภัยมีทั้งด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ และโภชนาการที่ไม่เหมาะสม