อย.เตือนไม่มียาใดลดสัดส่วนเฉพาะจุดได้ เป็นการหลอกขาย โฆษณาเกินจริง อย่าหลงเชื่อ คาดเป็นเพียงอาหารเสริมแอลคานิทีน เชื่อมีการผสมยาซึ่งถูกถอนทะเบียบแล้ว ระวังเกิดผลข้างเคียงเพียบ
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีพบการโฆษณาชวนเชื่อบนสื่อออนไลน์จำนวนมาก โดยเฉพาะยาแคปซูลที่อวดอ้างการสามารถลดสัดส่วนเฉพาะจุดได้ ซึ่งไม่มีการระบุยี่ห้อหรือแหล่งที่มา มีสีต่างๆ เช่น แดงลดน่อง เขียวลดปีกแขนหลัง ฟ้าลดหน้าท้อง เป็นต้น โดยมีทั้งแบบขายส่ง ขายปลีก และขายตามตลาดนัด ว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะมียาลดเฉพาะส่วน ซึ่งขณะนี้ อย.ได้ออกตรวจและดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ขายในลักษณะดังกล่าวแล้ว โดยเบื้องต้นเข้าข่ายความผิดหลายประการ ทั้งการผลิตยา หรือ นำเข้ายา โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ขออนุญาตในการขึ้นทะเบียนยา ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต โฆษณาเกินจริง และโฆษณาโอ้อวด โดยจะรวบรวมหลักฐานเพื่อเอาผิดทั้งผู้ขาย และแหล่งที่ผลิต ตาม พ.ร.บ.ยา 2522 และขอเตือนประชาชนว่า อย่าหลงเชื่อการโฆษณาดังกล่าว เพราะยาที่ไม่มีการตรวจมาตรฐาน และโฆษณาเกินจริงอาจทำให้เกิดอันตรายได้
ภญ.ศรีนวล กล่าวอีกว่า ในการตรวจสอบของ อย.จะมีการเก็บตัวอย่างมาดูด้วยว่า ยาที่ขายดังกล่าวเป็นยาอะไร แต่จากลักษณะของยาดังกล่าวที่โฆษณาว่าลดความอ้วน เชื่อว่าน่าจะเป็นยาประเภทอาหารเสริม ประเภทแอลคานิทีน ที่เพิ่มการเผาผลาญ และมักพบว่า มีการแอบเติมยาที่ อย.ถอนทะเบียน โดยเฉพาะสารไซบูทรามีน ซึ่งมีผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว หรือ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก เป็นต้น โดยผลข้างเคียงดังกล่าวทำให้ อย.ได้ถอนทะเบียนตำรับยาดังกล่าวไปแล้ว หรืออาจจะไม่มีตัวยาใดๆ เลย ซึ่งผู้บริโภคจะเสียเงินเปล่า นอกจากนี้ สินค้าประเภทยา ต้องขออนุญาตในการโฆษณา ซึ่ง อย.ควบคุมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างเข้มงวด เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีพบการโฆษณาชวนเชื่อบนสื่อออนไลน์จำนวนมาก โดยเฉพาะยาแคปซูลที่อวดอ้างการสามารถลดสัดส่วนเฉพาะจุดได้ ซึ่งไม่มีการระบุยี่ห้อหรือแหล่งที่มา มีสีต่างๆ เช่น แดงลดน่อง เขียวลดปีกแขนหลัง ฟ้าลดหน้าท้อง เป็นต้น โดยมีทั้งแบบขายส่ง ขายปลีก และขายตามตลาดนัด ว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะมียาลดเฉพาะส่วน ซึ่งขณะนี้ อย.ได้ออกตรวจและดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ขายในลักษณะดังกล่าวแล้ว โดยเบื้องต้นเข้าข่ายความผิดหลายประการ ทั้งการผลิตยา หรือ นำเข้ายา โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ขออนุญาตในการขึ้นทะเบียนยา ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต โฆษณาเกินจริง และโฆษณาโอ้อวด โดยจะรวบรวมหลักฐานเพื่อเอาผิดทั้งผู้ขาย และแหล่งที่ผลิต ตาม พ.ร.บ.ยา 2522 และขอเตือนประชาชนว่า อย่าหลงเชื่อการโฆษณาดังกล่าว เพราะยาที่ไม่มีการตรวจมาตรฐาน และโฆษณาเกินจริงอาจทำให้เกิดอันตรายได้
ภญ.ศรีนวล กล่าวอีกว่า ในการตรวจสอบของ อย.จะมีการเก็บตัวอย่างมาดูด้วยว่า ยาที่ขายดังกล่าวเป็นยาอะไร แต่จากลักษณะของยาดังกล่าวที่โฆษณาว่าลดความอ้วน เชื่อว่าน่าจะเป็นยาประเภทอาหารเสริม ประเภทแอลคานิทีน ที่เพิ่มการเผาผลาญ และมักพบว่า มีการแอบเติมยาที่ อย.ถอนทะเบียน โดยเฉพาะสารไซบูทรามีน ซึ่งมีผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว หรือ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก เป็นต้น โดยผลข้างเคียงดังกล่าวทำให้ อย.ได้ถอนทะเบียนตำรับยาดังกล่าวไปแล้ว หรืออาจจะไม่มีตัวยาใดๆ เลย ซึ่งผู้บริโภคจะเสียเงินเปล่า นอกจากนี้ สินค้าประเภทยา ต้องขออนุญาตในการโฆษณา ซึ่ง อย.ควบคุมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างเข้มงวด เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค