“พงศ์เทพ” บอกไม่รู้สเปกรถโรงเรียน โยน “เสริมศักดิ์” ชี้แจง 3 มิ.ย.นี้ ไฟเขียวติดถังก๊าซเอ็นจีวีในรถตู้ หากพื้นที่นั้นมีปั๊ม เผยแนวทางสอน ร.ร.ขนาดเล็กแบบเคลื่อนย้ายไม่ได้ให้เรียนผ่านดาวเทียม ส่งครูโรงเรียนแม่ช่วย ดึงชุมชนร่วมสอน ด้าน ผอ.ร.ร.บ้านปางแดง ฟุ้ง นร.9 คน แต่คะแนนโอเน็ตสูงกว่าระดับประเทศ
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1-2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ตนได้ไปตรวจเยี่ยมและรับฟังความเห็นจากประชาคมกรณีการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ ร.ร.ผาขวาง สาขาแคววัวดำ อำเภอเมือง จ.เชียงราย และ ร.ร.บ้านปางแดง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เพื่อดูโรงเรียนที่ห่างไกลจากโรงเรียนแม่และโรงเรียนใกล้เคียง จนไม่สามารถบริหารจัดการด้วยวิธีการเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นพบว่า แนวทางที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนกลุ่มที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ได้แก่ การใช้ระบบการศึกษาทางไกล เช่น สถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมวังไกลกังวล สถานีโทรทัศน์ OBEC Channel เป็นต้น แม้ที่ผ่านมาอาจมีปัญหาเรื่องการถ่ายทอดสัญญาณอยู่บ้าง ก็ต้องแก้ไขต่อไป รวมถึงการให้โรงเรียนแม่ช่วยส่งครูที่สอนตรงสาขามาช่วยสอนให้โรงเรียนลูกที่ครูไม่ครบชั้น และการให้ชุมชนมาช่วยสอนความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อเรียนจบเด็กจะสามารถไปประกอบอาชีพได้
“กรอบการพิจารณาบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก จะต้องดูไปเป็นรายโรง เพราะบางโรงอยู่ห่างไกลจนไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ก็ต้องพัฒนาตามแนวทางข้างต้น ส่วนโรงอื่นๆ ที่อาจมีทางเลือก ก็อาจใช้วิธีจัดการศึกษาร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีโรงเรียนขนาดเล็กเริ่มทำกัน แต่ทั้งนี้ ก็ต้องพิจารณาจากระยะทาง และความเห็นของประชาคมว่าเห็นด้วยหรือไม่ แต่ขณะนี้ สพฐ.ยังไม่ได้เสนอรายงานข้อมูลแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศมาที่ผม” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงสเปกและการจัดซื้อรถตู้ 1,000 คัน ของ ศธ. นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เรื่องรายละเอียดทั้งสเปกและการจัดซื้อนั้น ต้องถามนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ เพราะเป็นผู้ดูแลโดยตรง ซึ่งจะมีการเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดในวันที่ 3 มิ.ย.นี้ ส่วนตนทราบคร่าวๆ ว่า การจัดซื้อรถตู้รับส่งนักเรียนส่วนใหญ่เป็นการจัดซื้อให้เขตพื้นที่ฯเพื่อใช้งาน ซึ่งเป็นไปตามความต้องการ ขณะที่การจัดซื้อรถตู้เพื่อเคลื่อนย้ายนักเรียนไปเรียนรวมนั้น เป็นเพียงส่วนน้อย ส่วนการจะติดก๊าซเอ็นจีวี หากพื้นที่ใดมีปั๊มเอ็นจีวี ก็จะพิจารณาให้รถรับส่งนั้นติดตั้งถังก๊าซ แต่หากพื้นที่ใดไม่มีก็ให้ใช้เป็นน้ำมันเชื่อเพลิง อย่างไรก็ดี สำหรับห่วงใยเรื่องอุบัติเหตุของรถรับส่งนักเรียนนั้น ที่ผ่านมาก็มีการเสนอเรื่องนี้มาที่ตน ซึ่งก็รวบรวมข้อเสนอต่างๆอยู่
นายสุรเจต ปาลี ผอ.ร.ร.ผาขวางวิทยา สาขาแคววัวดำ กล่าวว่า โรงเรียนจะเน้นการฝึกอาชีพมากกว่า โดยเปิดให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกฝังภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ให้เด็กลืมรากเหง้าของตัวเอง รวมถึงเน้นการอ่านออกเขียนได้ แต่โรงเรียนยังไม่เน้นผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนให้ต้องเท่าระดับชาติ เพราะอยากเน้นให้เด็กรู้จักใช้ชีวิตกับสังคม ไม่ต้องไปดิ้นรนใช้ชีวิตในเมือง ส่วนกรณีจะยุบโรงเรียนหรือไม่ มองว่าคงยุบไม่ได้ เพราะเป็นโรงเรียนห่างไกล และเด็กส่วนใหญ่ครอบครัวมีฐานะยากจนมาก จึงไม่พร้อมที่จะเคลื่อนย้ายไปเรียนที่อื่น
นายสุริยน สุริโยดร ผอ.ร.ร.บ้านป่าสักงาม กล่าวว่า โรงเรียนมีข้าราชการครู 2 คน มีลูกจ้างประจำ 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน ซึ่งเป็นการสนับสนุนจากเทศบาล ต.วงเหนือ ขณะที่โรงเรียนจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้น ป.1-6 มีนักเรียนทั้งหมด 9 คน จัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นแบ่งตามช่วงชั้นมี 2 ห้องเรียน ทั้งนี้ มองว่าโรงเรียนนี้จะยุบไม่ได้ เพราะตั้งอยู่บนภูเขาเป็นพื้นที่ห่างไกล ที่มีระยะห่างจากโรงเรียนอื่นที่ใกล้ที่สุด 12 กิโลเมตร ซึ่งต้องเดินทางทั้งทางเรือและน้ำที่ต้องใช้เวลาและมีความเสี่ยง
“แม้จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กและอยู่ห่างไกล แต่ผลการสอบโอเน็ตปี 2555 ของนักเรียนชั้น ป.6 เกือบทุกวิชาสูงกว่าระดับจังหวัดและประเทศ เช่น คณิตศาสตร์ ร้อยละ 40.00 ภาษาไทย 60.00 วิทยาศาสตร์ 44.50 สุขศึกษา 72.00 สังคมศึกษา 52.00 เป็นต้น เป็นเพราะชุมชนเข้มแข็ง ทั้งมีปราชญ์ชาวบ้านมาช่วยจัดการศึกษาและสนับสนุนโรงเรียนในด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าโรงเรียนขนาดเล็กมีจุดแข็งของตัวเอง ในความที่มีเด็กน้อย ทำให้ไม่ฉุดค่าเฉลี่ย หากโรงเรียนและชุมชนเข้มแข็ง นักเรียนก็จะเข้มแข็งด้วย ดังนั้นการมาบอกว่าโรงเรียนขนาดเล็กฉุดค่าเฉลี่ย สพฐ.เรื่องจริงคงไม่ใช่ทั้งหมด” นายสุริยน กล่าว
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1-2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ตนได้ไปตรวจเยี่ยมและรับฟังความเห็นจากประชาคมกรณีการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ ร.ร.ผาขวาง สาขาแคววัวดำ อำเภอเมือง จ.เชียงราย และ ร.ร.บ้านปางแดง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เพื่อดูโรงเรียนที่ห่างไกลจากโรงเรียนแม่และโรงเรียนใกล้เคียง จนไม่สามารถบริหารจัดการด้วยวิธีการเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นพบว่า แนวทางที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนกลุ่มที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ได้แก่ การใช้ระบบการศึกษาทางไกล เช่น สถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมวังไกลกังวล สถานีโทรทัศน์ OBEC Channel เป็นต้น แม้ที่ผ่านมาอาจมีปัญหาเรื่องการถ่ายทอดสัญญาณอยู่บ้าง ก็ต้องแก้ไขต่อไป รวมถึงการให้โรงเรียนแม่ช่วยส่งครูที่สอนตรงสาขามาช่วยสอนให้โรงเรียนลูกที่ครูไม่ครบชั้น และการให้ชุมชนมาช่วยสอนความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อเรียนจบเด็กจะสามารถไปประกอบอาชีพได้
“กรอบการพิจารณาบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก จะต้องดูไปเป็นรายโรง เพราะบางโรงอยู่ห่างไกลจนไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ก็ต้องพัฒนาตามแนวทางข้างต้น ส่วนโรงอื่นๆ ที่อาจมีทางเลือก ก็อาจใช้วิธีจัดการศึกษาร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีโรงเรียนขนาดเล็กเริ่มทำกัน แต่ทั้งนี้ ก็ต้องพิจารณาจากระยะทาง และความเห็นของประชาคมว่าเห็นด้วยหรือไม่ แต่ขณะนี้ สพฐ.ยังไม่ได้เสนอรายงานข้อมูลแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศมาที่ผม” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงสเปกและการจัดซื้อรถตู้ 1,000 คัน ของ ศธ. นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เรื่องรายละเอียดทั้งสเปกและการจัดซื้อนั้น ต้องถามนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ เพราะเป็นผู้ดูแลโดยตรง ซึ่งจะมีการเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดในวันที่ 3 มิ.ย.นี้ ส่วนตนทราบคร่าวๆ ว่า การจัดซื้อรถตู้รับส่งนักเรียนส่วนใหญ่เป็นการจัดซื้อให้เขตพื้นที่ฯเพื่อใช้งาน ซึ่งเป็นไปตามความต้องการ ขณะที่การจัดซื้อรถตู้เพื่อเคลื่อนย้ายนักเรียนไปเรียนรวมนั้น เป็นเพียงส่วนน้อย ส่วนการจะติดก๊าซเอ็นจีวี หากพื้นที่ใดมีปั๊มเอ็นจีวี ก็จะพิจารณาให้รถรับส่งนั้นติดตั้งถังก๊าซ แต่หากพื้นที่ใดไม่มีก็ให้ใช้เป็นน้ำมันเชื่อเพลิง อย่างไรก็ดี สำหรับห่วงใยเรื่องอุบัติเหตุของรถรับส่งนักเรียนนั้น ที่ผ่านมาก็มีการเสนอเรื่องนี้มาที่ตน ซึ่งก็รวบรวมข้อเสนอต่างๆอยู่
นายสุรเจต ปาลี ผอ.ร.ร.ผาขวางวิทยา สาขาแคววัวดำ กล่าวว่า โรงเรียนจะเน้นการฝึกอาชีพมากกว่า โดยเปิดให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกฝังภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ให้เด็กลืมรากเหง้าของตัวเอง รวมถึงเน้นการอ่านออกเขียนได้ แต่โรงเรียนยังไม่เน้นผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนให้ต้องเท่าระดับชาติ เพราะอยากเน้นให้เด็กรู้จักใช้ชีวิตกับสังคม ไม่ต้องไปดิ้นรนใช้ชีวิตในเมือง ส่วนกรณีจะยุบโรงเรียนหรือไม่ มองว่าคงยุบไม่ได้ เพราะเป็นโรงเรียนห่างไกล และเด็กส่วนใหญ่ครอบครัวมีฐานะยากจนมาก จึงไม่พร้อมที่จะเคลื่อนย้ายไปเรียนที่อื่น
นายสุริยน สุริโยดร ผอ.ร.ร.บ้านป่าสักงาม กล่าวว่า โรงเรียนมีข้าราชการครู 2 คน มีลูกจ้างประจำ 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน ซึ่งเป็นการสนับสนุนจากเทศบาล ต.วงเหนือ ขณะที่โรงเรียนจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้น ป.1-6 มีนักเรียนทั้งหมด 9 คน จัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นแบ่งตามช่วงชั้นมี 2 ห้องเรียน ทั้งนี้ มองว่าโรงเรียนนี้จะยุบไม่ได้ เพราะตั้งอยู่บนภูเขาเป็นพื้นที่ห่างไกล ที่มีระยะห่างจากโรงเรียนอื่นที่ใกล้ที่สุด 12 กิโลเมตร ซึ่งต้องเดินทางทั้งทางเรือและน้ำที่ต้องใช้เวลาและมีความเสี่ยง
“แม้จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กและอยู่ห่างไกล แต่ผลการสอบโอเน็ตปี 2555 ของนักเรียนชั้น ป.6 เกือบทุกวิชาสูงกว่าระดับจังหวัดและประเทศ เช่น คณิตศาสตร์ ร้อยละ 40.00 ภาษาไทย 60.00 วิทยาศาสตร์ 44.50 สุขศึกษา 72.00 สังคมศึกษา 52.00 เป็นต้น เป็นเพราะชุมชนเข้มแข็ง ทั้งมีปราชญ์ชาวบ้านมาช่วยจัดการศึกษาและสนับสนุนโรงเรียนในด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าโรงเรียนขนาดเล็กมีจุดแข็งของตัวเอง ในความที่มีเด็กน้อย ทำให้ไม่ฉุดค่าเฉลี่ย หากโรงเรียนและชุมชนเข้มแข็ง นักเรียนก็จะเข้มแข็งด้วย ดังนั้นการมาบอกว่าโรงเรียนขนาดเล็กฉุดค่าเฉลี่ย สพฐ.เรื่องจริงคงไม่ใช่ทั้งหมด” นายสุริยน กล่าว