รัฐบาลกดดันหมอชนบทห้ามก่อม็อบบ้านนายกฯ “หมอเกรียง” ประกาศเลื่อนชุมนุมออกไป 2 สัปดาห์ เปลี่ยนทำเวิร์กชอปหารือร่วม 3 ฝ่ายแทน มีตัวแทนนายกฯ แพทย์ชนบท และ รมว.สธ.“สุรนันทน์” เผยประเด็นไหนตกลงกันได้ในเวทีเจรจาเป็นอันยุติ หากไม่ตรงกันเสนอนายกฯตัดสินใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (30 พ.ค.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวภายหลังเดินทางมาเข้าพบ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมด้วยตัวแทนจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และเครือข่ายผู้ป่วยต่างๆ เพื่อเจรจาหาข้อยุติในเรื่องการชุมนุมวันที่ 6 มิ.ย.ที่บริเวณหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ว่า ข้อสรุปคือจะไม่มีการชุมนุมในวันดังกล่าว แต่จะขอเลื่อนออกไปอีก 2 สัปดาห์ เพื่อหาข้อยุติหลังจากมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) ร่วมกันอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 มิ.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยเป็นการหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวแทนนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสุรนันทน์ ชมรมแพทย์ชนบท และ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
“อย่างไรก็ตาม จะมีการหารือเบื้องต้นในวันที่ 4 มิ.ย.ก่อน ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ เพื่อนำไปสู่การหารืออย่างเป็นทางการในวันที่ 6 มิ.ย.ซึ่งหลักการเราขอยืนยันตามเดิม คือ ขอใช้ 1 กระทรวง 2 ระบบ คือ โรงพยาบาลชุมชนขอใช้เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามเดิม ส่วนการคิดแบบผลการปฏิบัติงาน (P4P) ขอเป็นแบบสมัครใจ โดยขอให้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาในเชิงพื้นที่ใหม่ เนื่องจากการปรับพื้นที่ใหม่ว่าแห่งใดทุรกันดาร หรือไม่ทุรกันดาร ยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทั้งนี้ หากการประชุมไม่ได้ข้อยุติอย่างที่ต้องการ ก็จะเรียกร้องเพื่อขอความเป็นธรรมต่อไป” ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าว
นายสุรนันทน์ กล่าวว่า จะไม่มีการชุมนุมหน้าบ้านนายกฯ และรัฐบาลไม่ยอมรับการชุมนุมกดดัน หลักการแก้ไขปัญหาต้องอยู่บนพื้นฐานประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประเด็นไหนที่ตกลงกันได้ในเวทีการเจรจาถือเป็นข้อยุติ เป็นนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติทันที หากประเด็นไหนที่เห็นไม่ตรงกันให้เสนอนายกฯตัดสินใจ
ด้าน นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การที่ นพ.เกรียงศักดิ์ ตัวแทนจากสหภาพฯ อภ.และเครือข่ายต่างๆ เข้าไปเจรจากับนายสุรนันทน์นั้น เนื่องจากพรรคเพื่อไทยไม่ต้องการให้เกิดการชุมนุมในวันที่ 6 มิ.ย.ที่หน้าบ้านนายกฯ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่า ช่วงนี้มีการเกิดเหตุความรุนแรงขึ้น จึงไม่อยากให้มีการชุมนุม จึงได้ข้อสรุปเบื้องต้นร่วมกันว่า จะมีการจัดเวิร์กชอปหาทางออกเรื่อง P4P ปัญหา อภ.และระบบหลักประกันสุขภาพชาติ ในวันที่ 6 มิ.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาลแทน ในเวลา 10.00 น.แต่หากหาทางออกร่วมกันไม่ได้ก็จะให้นายกฯเป็นผู้ตัดสินใจ
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า การหารือดังกล่าวไม่ได้มีเงื่อนไขใดๆ เพียงแต่เป็นการคุยกันว่าที่ผ่านมาอาจยังไม่มีการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจกันในหลายๆเรื่อง และทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน ซึ่งกลุ่มแพทย์ชนบทอยากให้ผู้บริหาร สธ. รับฟังข้อคิดเห็นของพวกเขาว่า มีข้อขัดข้องในการดำเนินการตามนโยบายการปรับเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนอย่างไรบ้างในลักษณะเวิร์กชอปว่าจะต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง ซึ่งตรงกับสิ่งที่ตนได้พยายามอธิบายมาตลอด และเชิญชวนให้กลุ่มแพทย์ชนบทเข้ามาคุยกันในเรื่องข้อจำกัด เพราะเชื่อว่ากลุ่มแพทย์ชนบทไม่ได้คัดค้านเรื่องนี้ เพียงแต่ยังไม่มีโอกาสเข้ามาให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะบางประการที่จะทำให้ระบบนั้นดีขึ้น
ภญ.พิศมร กลิ่นสุวรรณ รักษาการ ผอ.อภ.กล่าวว่า การที่กลุ่มสหภาพฯ อภ.จะร่วมชุมนุมกับแพทย์ชนบทในวันที่ 6 มิ.ย.เป็นการแสดงออกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแปรรูป แต่ส่วนตัวมองว่าทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรามากกว่า และสำหรับการแสดงออกสามารถทำได้แต่ต้องไม่กระทบกับการทำงาน อย่าทำให้องค์กรเดือดร้อน และขอให้ไม่ว่าการจะทำอะไรนั้นต้องทำอยู่ในกรอบที่เหมาะสม ส่วนเรื่องสิทธิที่จะขอลา สหภาพฯทุกคนใช้สิทธิลาได้ แต่ต้องดูความเหมาะสมว่าลาไปเพื่ออะไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (30 พ.ค.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวภายหลังเดินทางมาเข้าพบ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมด้วยตัวแทนจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และเครือข่ายผู้ป่วยต่างๆ เพื่อเจรจาหาข้อยุติในเรื่องการชุมนุมวันที่ 6 มิ.ย.ที่บริเวณหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ว่า ข้อสรุปคือจะไม่มีการชุมนุมในวันดังกล่าว แต่จะขอเลื่อนออกไปอีก 2 สัปดาห์ เพื่อหาข้อยุติหลังจากมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) ร่วมกันอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 มิ.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยเป็นการหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวแทนนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสุรนันทน์ ชมรมแพทย์ชนบท และ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
“อย่างไรก็ตาม จะมีการหารือเบื้องต้นในวันที่ 4 มิ.ย.ก่อน ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ เพื่อนำไปสู่การหารืออย่างเป็นทางการในวันที่ 6 มิ.ย.ซึ่งหลักการเราขอยืนยันตามเดิม คือ ขอใช้ 1 กระทรวง 2 ระบบ คือ โรงพยาบาลชุมชนขอใช้เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามเดิม ส่วนการคิดแบบผลการปฏิบัติงาน (P4P) ขอเป็นแบบสมัครใจ โดยขอให้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาในเชิงพื้นที่ใหม่ เนื่องจากการปรับพื้นที่ใหม่ว่าแห่งใดทุรกันดาร หรือไม่ทุรกันดาร ยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทั้งนี้ หากการประชุมไม่ได้ข้อยุติอย่างที่ต้องการ ก็จะเรียกร้องเพื่อขอความเป็นธรรมต่อไป” ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าว
นายสุรนันทน์ กล่าวว่า จะไม่มีการชุมนุมหน้าบ้านนายกฯ และรัฐบาลไม่ยอมรับการชุมนุมกดดัน หลักการแก้ไขปัญหาต้องอยู่บนพื้นฐานประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประเด็นไหนที่ตกลงกันได้ในเวทีการเจรจาถือเป็นข้อยุติ เป็นนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติทันที หากประเด็นไหนที่เห็นไม่ตรงกันให้เสนอนายกฯตัดสินใจ
ด้าน นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การที่ นพ.เกรียงศักดิ์ ตัวแทนจากสหภาพฯ อภ.และเครือข่ายต่างๆ เข้าไปเจรจากับนายสุรนันทน์นั้น เนื่องจากพรรคเพื่อไทยไม่ต้องการให้เกิดการชุมนุมในวันที่ 6 มิ.ย.ที่หน้าบ้านนายกฯ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่า ช่วงนี้มีการเกิดเหตุความรุนแรงขึ้น จึงไม่อยากให้มีการชุมนุม จึงได้ข้อสรุปเบื้องต้นร่วมกันว่า จะมีการจัดเวิร์กชอปหาทางออกเรื่อง P4P ปัญหา อภ.และระบบหลักประกันสุขภาพชาติ ในวันที่ 6 มิ.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาลแทน ในเวลา 10.00 น.แต่หากหาทางออกร่วมกันไม่ได้ก็จะให้นายกฯเป็นผู้ตัดสินใจ
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า การหารือดังกล่าวไม่ได้มีเงื่อนไขใดๆ เพียงแต่เป็นการคุยกันว่าที่ผ่านมาอาจยังไม่มีการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจกันในหลายๆเรื่อง และทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน ซึ่งกลุ่มแพทย์ชนบทอยากให้ผู้บริหาร สธ. รับฟังข้อคิดเห็นของพวกเขาว่า มีข้อขัดข้องในการดำเนินการตามนโยบายการปรับเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนอย่างไรบ้างในลักษณะเวิร์กชอปว่าจะต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง ซึ่งตรงกับสิ่งที่ตนได้พยายามอธิบายมาตลอด และเชิญชวนให้กลุ่มแพทย์ชนบทเข้ามาคุยกันในเรื่องข้อจำกัด เพราะเชื่อว่ากลุ่มแพทย์ชนบทไม่ได้คัดค้านเรื่องนี้ เพียงแต่ยังไม่มีโอกาสเข้ามาให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะบางประการที่จะทำให้ระบบนั้นดีขึ้น
ภญ.พิศมร กลิ่นสุวรรณ รักษาการ ผอ.อภ.กล่าวว่า การที่กลุ่มสหภาพฯ อภ.จะร่วมชุมนุมกับแพทย์ชนบทในวันที่ 6 มิ.ย.เป็นการแสดงออกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแปรรูป แต่ส่วนตัวมองว่าทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรามากกว่า และสำหรับการแสดงออกสามารถทำได้แต่ต้องไม่กระทบกับการทำงาน อย่าทำให้องค์กรเดือดร้อน และขอให้ไม่ว่าการจะทำอะไรนั้นต้องทำอยู่ในกรอบที่เหมาะสม ส่วนเรื่องสิทธิที่จะขอลา สหภาพฯทุกคนใช้สิทธิลาได้ แต่ต้องดูความเหมาะสมว่าลาไปเพื่ออะไร