ผนึกกำลัง 4 กลุ่มชุมนุมหน้าบ้านนายกฯ “หมอเกรียง” ยันเป็นม็อบปัญญาชน ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่บุกบ้านนายกฯให้เกิดความเสียหายแน่ แค่ต้องการให้รับฟังปัญหา ปัดชวนผู้ป่วยล้างไต เผยเตรียมรถฉุกเฉินบริการ ด้าน “หมอประดิษฐ” ชี้เอารถพยาบาลของราชการมาบริการม็อบผิดระเบียบแน่
วันนี้ (28 พ.ค.) ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวในการเสวนา “รุกฆาตองค์การเภสัชกรรม คือความหายนะของชาติและประชาชน” ซึ่งจัดโดยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ในการประชุมสมาชิก เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวปกป้อง อภ.และคัดค้านการแปรรูป ว่า การชุมนุมวันที่ 6 มิ.ย. ที่หน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ขอยืนยันว่าเป็นการชุมนุมอย่างปัญญาชน ไม่มีความรุนแรง และไม่ใช่ม็อบการเมือง แต่เป็นการเรียกร้องเพื่อระบบสาธารณสุขในภาพรวม และจะไม่มีการบุกบ้านนายกฯ ให้เกิดความเสียหาย แค่ต้องการให้ผู้บริหารประเทศออกมารับฟังปัญหา ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องค่าตอบแทนที่บุคลากรทางการแพทย์ในชนบทประสบเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องภาพลักษณ์ที่เสียหายของ อภ.ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการเข้าถึงยาในอนาคต
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า การชุมนุมในครั้งนี้จึงกลายเป็นการรวมตัวครั้งใหญ่ครั้งแรกของ 4 กลุ่ม คือ 1.เครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโรงพยาบาลชุมชน มีทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกรรม ทันตกรรม 2. สหภาพ อภ. 3.กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ และ 4.กลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยโรคไต เอดส์ มะเร็ง ธาลัสซีเมีย และโรคหัวใจ เบื้องต้นจะมาร่วมชุมนุมไม่ต่ำกว่า 3-4 พันคน ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าอยู่จุดไหนได้บ้าง
“ยืนยันว่าไม่มีการชักชวนผู้ป่วยมาร่วมล้างไตนอกสถานที่ แต่พวกเขาสมัครใจมา ซึ่งพวกเราก็เป็นห่วง จึงเตรียมประสานขอรถพยาบาลฉุกเฉินไว้แล้ว แต่หากไม่มีใครช่วยเหลือจริงๆ ก็จะรวบรวมเงินบริจาคขอเช่ารถพยาบาลแทน ส่วนที่บอกว่าจะต้องขออนุญาตกองประกอบโรคศิลปะหรือไม่ ไม่จำเป็น เพราะกรณีนี้เหมือนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั่วไป หากสุดท้ายปลัด สธ.ไม่ยอมให้มีรถพยาบาลมาดูแลคนไข้จริง ล่าสุดโรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้บอกว่า จะส่งรถพยาบาลมาให้ 3 คันด้วย” ประธานชมรมฯ กล่าว
นายระวัย ภู่ผะกา ประธานสหภาพฯ อภ.กล่าวว่า แม้ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะระบุว่าไม่มีการแปรรูป อภ.แต่จากสถานการณ์ที่ผ่านมาไม่สามารถไว้วางใจได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายภาพลักษณ์ อภ.จนขาดความน่าเชื่อถือ หรือการเข้ามาแทรกแซงอำนาจหน้าที่ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ อย่างกรณีเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ 75 ล้านบาทที่ อภ.ให้สถานพยาบาลที่ชำระตรงตามกรอบเวลาไปดำเนินการวิจัยพัฒนาต่างๆ ขณะที่ประธานบอร์ด อภ.ก็ไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ในการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ก่อความเสียหายแก่ อภ.ทั้งหมดย่อมทำให้องค์กรอ่อนแอ และนำไปสู่การแปรรูปในที่สุด
“ประธานบอร์ด อภ.ควรพิจารณาตัวเองว่าสมควรอยู่ในตำแหน่งหรือไม่ หากยังดื้ออยู่ต่อก็ควรออกมาชี้แจงให้ชัดว่า จะปกป้ององค์กรอย่างไร และขอให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องฟ้องร้องผู้ที่ทำให้ อภ.เสียหายมีทั้งรัฐมนตรี สธ. เลขานุการรัฐมนตรีฯ และสื่อทีวีบางช่อง ที่ออกมาให้ข่าวทำให้ อภ.เสียหาย และขอยืนยันจะร่วมชุมนุมหน้าบ้านนายกรัฐมนตรีในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้ อภ.” นายระวัย กล่าว
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ในแง่มุมของผู้บริโภค อภ.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงยามากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ญาติผู้ป่วยมะเร็งจะรู้ดีที่สุด เพราะโดยปกติแล้วยารักษามะเร็งราคาจะอยู่ที่หลักหมื่นขึ้นไป บางเข็มมีราคาสูงถึงกว่า 50,000 บาท แต่จากการที่ อภ.ช่วยต่อรองราคายาทำให้ทุกวันนี้ยารักษามะเร็งราคาถูกลงเหลือเพียงไม่เกิน 1,200 บาท และถูกบรรจุลงเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่สิทธิการรักษาของกองทุนใดก็ตาม ทั้งประกันสังคม 30 บาทรักษาทุกโรค หรือสวัสดิการข้าราชการ ก็จะได้ใช้ยารักษามะเร็งในราคาถูก ถือว่าเป็นผลดีต่อประชาชนและผู้บริโภคทุกคน ที่สำคัญ อภ.ยังเป็นหน่วยผลิตยาด้วย ทำให้มีอำนาจในการต่อรองราคายามากขึ้น
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า เนื่องจาก อภ.ทำให้ราคายาถูกลง เป็นการขัดผลประโยชน์ของกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ จึงมีการทำให้ อภ.เสียภาพลักษณ์ จนผู้บริโภคมองว่ายาที่ผลิตได้เองในประเทศห่วย มีการปลอมปน ไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ยังมีนโยบายให้ผู้บริโภคร่วมจ่ายด้วยทุกครั้งที่มารับบริการสาธารณสุข เนื่องจากมีการประกาศว่าจะไม่มีการเพิ่มค่าหัว ทำให้ต้องหาหนทางในการได้เงินเข้ามาในระบบ นั่นก็คือต้องมีการร่วมจ่าย เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายยานอกบัญชียาหลักได้เป็นระบบขึ้น
“ผู้บริโภคขอคัดค้านการร่วมจ่าย เพราะการร่วมจ่ายจะทำให้เกิดการรักษาแบบเลือกปฏิบัติ ใครที่ไม่มีเงินก็จะได้รับการรักษาแบบหนึ่ง กลายเป็นการรักษาตามเงิน ไม่ใช่การรักษาตามอาการอย่างที่ควรจะเป็น เปิดช่องให้มีการบริการหลายมาตรฐาน บริษัทก็ขายยาได้มากขึ้น” เลขาฯ มูลนิธิผู้บริโภค กล่าว
ด้าน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า การนำรถพยาบาล 3 คัน จาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาสำรองไว้ช่วยเหลือผู้ป่วยกรณีเกิดฉุกเฉินในการชุมนุมของแพทย์ชนบท หากเป็นรถส่วนตัวหรือรถของมูลนิธิใดคงไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นรถพยาบาลของราชการเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดำเนินการผิดระเบียบราชการ เนื่องจากรถพยาบาลดังกล่าวราชการมีไว้ใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
“ขอร้องว่าการไปให้บริการผู้ป่วยโดยเฉพาะการล้างไตที่พื้นที่การชุมนุมอย่าไปทำเลย ซึ่งในอนาคตถ้าเกิดอะไรขึ้นมีคนมาร้องเรียนแล้ว สธ.ไม่ทำอะไรก็จะถูกหาว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ หากต้องการดำเนินการเปิดให้บริการประชาชนจริงๆควรหาพื้นที่เช่าแล้วขออนุญาตจดทะเบียนเปิดสถานบริการให้ถูกต้องตามกฎหมาย” รมว.สาธารณสุข กล่าว
วันนี้ (28 พ.ค.) ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวในการเสวนา “รุกฆาตองค์การเภสัชกรรม คือความหายนะของชาติและประชาชน” ซึ่งจัดโดยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ในการประชุมสมาชิก เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวปกป้อง อภ.และคัดค้านการแปรรูป ว่า การชุมนุมวันที่ 6 มิ.ย. ที่หน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ขอยืนยันว่าเป็นการชุมนุมอย่างปัญญาชน ไม่มีความรุนแรง และไม่ใช่ม็อบการเมือง แต่เป็นการเรียกร้องเพื่อระบบสาธารณสุขในภาพรวม และจะไม่มีการบุกบ้านนายกฯ ให้เกิดความเสียหาย แค่ต้องการให้ผู้บริหารประเทศออกมารับฟังปัญหา ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องค่าตอบแทนที่บุคลากรทางการแพทย์ในชนบทประสบเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องภาพลักษณ์ที่เสียหายของ อภ.ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการเข้าถึงยาในอนาคต
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า การชุมนุมในครั้งนี้จึงกลายเป็นการรวมตัวครั้งใหญ่ครั้งแรกของ 4 กลุ่ม คือ 1.เครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโรงพยาบาลชุมชน มีทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกรรม ทันตกรรม 2. สหภาพ อภ. 3.กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ และ 4.กลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยโรคไต เอดส์ มะเร็ง ธาลัสซีเมีย และโรคหัวใจ เบื้องต้นจะมาร่วมชุมนุมไม่ต่ำกว่า 3-4 พันคน ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าอยู่จุดไหนได้บ้าง
“ยืนยันว่าไม่มีการชักชวนผู้ป่วยมาร่วมล้างไตนอกสถานที่ แต่พวกเขาสมัครใจมา ซึ่งพวกเราก็เป็นห่วง จึงเตรียมประสานขอรถพยาบาลฉุกเฉินไว้แล้ว แต่หากไม่มีใครช่วยเหลือจริงๆ ก็จะรวบรวมเงินบริจาคขอเช่ารถพยาบาลแทน ส่วนที่บอกว่าจะต้องขออนุญาตกองประกอบโรคศิลปะหรือไม่ ไม่จำเป็น เพราะกรณีนี้เหมือนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั่วไป หากสุดท้ายปลัด สธ.ไม่ยอมให้มีรถพยาบาลมาดูแลคนไข้จริง ล่าสุดโรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้บอกว่า จะส่งรถพยาบาลมาให้ 3 คันด้วย” ประธานชมรมฯ กล่าว
นายระวัย ภู่ผะกา ประธานสหภาพฯ อภ.กล่าวว่า แม้ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะระบุว่าไม่มีการแปรรูป อภ.แต่จากสถานการณ์ที่ผ่านมาไม่สามารถไว้วางใจได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายภาพลักษณ์ อภ.จนขาดความน่าเชื่อถือ หรือการเข้ามาแทรกแซงอำนาจหน้าที่ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ อย่างกรณีเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ 75 ล้านบาทที่ อภ.ให้สถานพยาบาลที่ชำระตรงตามกรอบเวลาไปดำเนินการวิจัยพัฒนาต่างๆ ขณะที่ประธานบอร์ด อภ.ก็ไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ในการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ก่อความเสียหายแก่ อภ.ทั้งหมดย่อมทำให้องค์กรอ่อนแอ และนำไปสู่การแปรรูปในที่สุด
“ประธานบอร์ด อภ.ควรพิจารณาตัวเองว่าสมควรอยู่ในตำแหน่งหรือไม่ หากยังดื้ออยู่ต่อก็ควรออกมาชี้แจงให้ชัดว่า จะปกป้ององค์กรอย่างไร และขอให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องฟ้องร้องผู้ที่ทำให้ อภ.เสียหายมีทั้งรัฐมนตรี สธ. เลขานุการรัฐมนตรีฯ และสื่อทีวีบางช่อง ที่ออกมาให้ข่าวทำให้ อภ.เสียหาย และขอยืนยันจะร่วมชุมนุมหน้าบ้านนายกรัฐมนตรีในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้ อภ.” นายระวัย กล่าว
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ในแง่มุมของผู้บริโภค อภ.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงยามากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ญาติผู้ป่วยมะเร็งจะรู้ดีที่สุด เพราะโดยปกติแล้วยารักษามะเร็งราคาจะอยู่ที่หลักหมื่นขึ้นไป บางเข็มมีราคาสูงถึงกว่า 50,000 บาท แต่จากการที่ อภ.ช่วยต่อรองราคายาทำให้ทุกวันนี้ยารักษามะเร็งราคาถูกลงเหลือเพียงไม่เกิน 1,200 บาท และถูกบรรจุลงเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่สิทธิการรักษาของกองทุนใดก็ตาม ทั้งประกันสังคม 30 บาทรักษาทุกโรค หรือสวัสดิการข้าราชการ ก็จะได้ใช้ยารักษามะเร็งในราคาถูก ถือว่าเป็นผลดีต่อประชาชนและผู้บริโภคทุกคน ที่สำคัญ อภ.ยังเป็นหน่วยผลิตยาด้วย ทำให้มีอำนาจในการต่อรองราคายามากขึ้น
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า เนื่องจาก อภ.ทำให้ราคายาถูกลง เป็นการขัดผลประโยชน์ของกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ จึงมีการทำให้ อภ.เสียภาพลักษณ์ จนผู้บริโภคมองว่ายาที่ผลิตได้เองในประเทศห่วย มีการปลอมปน ไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ยังมีนโยบายให้ผู้บริโภคร่วมจ่ายด้วยทุกครั้งที่มารับบริการสาธารณสุข เนื่องจากมีการประกาศว่าจะไม่มีการเพิ่มค่าหัว ทำให้ต้องหาหนทางในการได้เงินเข้ามาในระบบ นั่นก็คือต้องมีการร่วมจ่าย เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายยานอกบัญชียาหลักได้เป็นระบบขึ้น
“ผู้บริโภคขอคัดค้านการร่วมจ่าย เพราะการร่วมจ่ายจะทำให้เกิดการรักษาแบบเลือกปฏิบัติ ใครที่ไม่มีเงินก็จะได้รับการรักษาแบบหนึ่ง กลายเป็นการรักษาตามเงิน ไม่ใช่การรักษาตามอาการอย่างที่ควรจะเป็น เปิดช่องให้มีการบริการหลายมาตรฐาน บริษัทก็ขายยาได้มากขึ้น” เลขาฯ มูลนิธิผู้บริโภค กล่าว
ด้าน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า การนำรถพยาบาล 3 คัน จาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาสำรองไว้ช่วยเหลือผู้ป่วยกรณีเกิดฉุกเฉินในการชุมนุมของแพทย์ชนบท หากเป็นรถส่วนตัวหรือรถของมูลนิธิใดคงไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นรถพยาบาลของราชการเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดำเนินการผิดระเบียบราชการ เนื่องจากรถพยาบาลดังกล่าวราชการมีไว้ใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
“ขอร้องว่าการไปให้บริการผู้ป่วยโดยเฉพาะการล้างไตที่พื้นที่การชุมนุมอย่าไปทำเลย ซึ่งในอนาคตถ้าเกิดอะไรขึ้นมีคนมาร้องเรียนแล้ว สธ.ไม่ทำอะไรก็จะถูกหาว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ หากต้องการดำเนินการเปิดให้บริการประชาชนจริงๆควรหาพื้นที่เช่าแล้วขออนุญาตจดทะเบียนเปิดสถานบริการให้ถูกต้องตามกฎหมาย” รมว.สาธารณสุข กล่าว