"หมอประดิษฐ" สั่งกรมควบคุมโรคจับตาโรค 4 กลุ่มใหญ่ หวั่นแห่เข้าไทยหลังเปิดเออีซี ทั้งวัณโรค หวัดนก มือเท้าปาก เรื้อน คอตีบ เน้นตามแนวชายแดนเป็นพิเศษ
วันนี้ (27 พ.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การเปิดประชาคมอาเซียนจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อมากขึ้น โดยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง จับตามอง ได้แก่ 1.โรคติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เช่น วัณโรค โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2.โรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น มาลาเรีย เท้าช้าง 3.โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคหัด และ 4.โรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคอื่นๆ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคมือเท้าปาก โรคเรื้อน โรคอุจจาระร่วง ดังนั้น ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเตรียมความพร้อมรับโรคติดต่อต่างๆ โดยเฉพาะตามแนวชายแดน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมป้องกันโรคติดต่อร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนมีดังนี้ 1.เพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันโรคติดต่อทั้งอาเซียน รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพของอาเซียนร่วมกัน 2.เน้นการแก้ปัญหาสาธารณสุขชายแดนร่วมกันในรูปแบบจังหวัดคู่ความร่วมมือ หรือจังหวัดคู่ขนานของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ไทย-ลาว เช่น เชียงราย -บ่อแก้ว น่าน - ไชยะบุรี มุกดาหาร- สะหวันนะเขต ไทย-กัมพูชา เช่น สระแก้ว-บันเตียมินเจย จันทบุรี-พระตะบอง ไทย-พม่า เช่น เชียงราย-ท่าขี้เหล็ก ตาก-เมียวดี เป็นต้น 3.พัฒนาขีดความสามารถและเครือข่ายของทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วในพื้นที่ชายแดน ด้านการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ตามเกณฑ์มาตรฐานกฎอนามัยระหว่างประเทศ รวมทั้งพัฒนากลไกการแลกเปลี่ยนข่าวสาร การแจ้งเตือนภัย และการสอบสวนโรคร่วมกันและการควบคุมการระบาดของโรค 4. พัฒนาเครือข่ายการฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนาม ภายใต้กรอบอาเซียนบวกสาม และ 5. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านโรคเอดส์ของอาเซียนขึ้นในประเทศไทย
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมภายในประเทศ จะพัฒนาบุคลากรในด้านการป้องกันโรคให้มีขีดความสามารถสูงได้มาตรฐานสากล เน้นด้านวิชาการ ภาษาในการสื่อสาร และสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคร่วมกับนานาชาติ รวมทั้งเพิ่มสมรรถนะของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศทั้งภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน คาดว่าประเทศไทยจะสามารถรับมือกับโรคติดต่อต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
วันนี้ (27 พ.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การเปิดประชาคมอาเซียนจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อมากขึ้น โดยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง จับตามอง ได้แก่ 1.โรคติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เช่น วัณโรค โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2.โรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น มาลาเรีย เท้าช้าง 3.โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคหัด และ 4.โรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคอื่นๆ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคมือเท้าปาก โรคเรื้อน โรคอุจจาระร่วง ดังนั้น ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเตรียมความพร้อมรับโรคติดต่อต่างๆ โดยเฉพาะตามแนวชายแดน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมป้องกันโรคติดต่อร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนมีดังนี้ 1.เพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันโรคติดต่อทั้งอาเซียน รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพของอาเซียนร่วมกัน 2.เน้นการแก้ปัญหาสาธารณสุขชายแดนร่วมกันในรูปแบบจังหวัดคู่ความร่วมมือ หรือจังหวัดคู่ขนานของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ไทย-ลาว เช่น เชียงราย -บ่อแก้ว น่าน - ไชยะบุรี มุกดาหาร- สะหวันนะเขต ไทย-กัมพูชา เช่น สระแก้ว-บันเตียมินเจย จันทบุรี-พระตะบอง ไทย-พม่า เช่น เชียงราย-ท่าขี้เหล็ก ตาก-เมียวดี เป็นต้น 3.พัฒนาขีดความสามารถและเครือข่ายของทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วในพื้นที่ชายแดน ด้านการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ตามเกณฑ์มาตรฐานกฎอนามัยระหว่างประเทศ รวมทั้งพัฒนากลไกการแลกเปลี่ยนข่าวสาร การแจ้งเตือนภัย และการสอบสวนโรคร่วมกันและการควบคุมการระบาดของโรค 4. พัฒนาเครือข่ายการฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนาม ภายใต้กรอบอาเซียนบวกสาม และ 5. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านโรคเอดส์ของอาเซียนขึ้นในประเทศไทย
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมภายในประเทศ จะพัฒนาบุคลากรในด้านการป้องกันโรคให้มีขีดความสามารถสูงได้มาตรฐานสากล เน้นด้านวิชาการ ภาษาในการสื่อสาร และสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคร่วมกับนานาชาติ รวมทั้งเพิ่มสมรรถนะของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศทั้งภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน คาดว่าประเทศไทยจะสามารถรับมือกับโรคติดต่อต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน