กรมควบคุมโรค เดินหน้าควบคุมโรคพื้นที่จังหวัดคู่ขนานไทยและประเทศเพื่อนบ้าน หวังลดความเสี่ยงการแพร่ระบาด ทั้งโรคติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง โรคติดต่อนำโดยแมลง โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และโรคติดต่ออุบัติใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่เออีซี
วันนี้ (26 ก.พ.) พญ.วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการประชุมเตรียมการเพื่อพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ชายแดนและระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 21-22 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน สธ.จะได้รับมอบหมายให้พัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานการสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งในส่วนของ คร.ได้จัดทำโครงการรวม 11 โครงการ เพื่อพัฒนาระบบ เครือข่าย หน่วยงาน และบุคลากร ให้มีความพร้อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ.2005 ซึ่งโครงการพัฒนาระบบและเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ชายแดน ถือได้ว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ และกรมควบคุมโรคได้มอบหมายให้สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นหน่วยประสานและสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ต่อไป
พญ.วราภรณ์ กล่าวอีกว่า จากการประเมินสถานการณ์ของประเทศเมื่อเกิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2558 และมีการเชื่อมโยงตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนแล้ว ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาค มีการเคลื่อนย้ายประชากรมนุษย์ (นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว รวมทั้งผู้ป่วย) สัตว์ พืช อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่เป็นภัยต่อสุขภาพ (เหล้า บุหรี่ และสารเคมีอันตราย) เพิ่มขึ้นมาก เป็นผลให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อภัยสุขภาพหลายรูปแบบเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคที่อาจแพร่ระบาดข้ามพรมแดน ได้แก่ 1.โรคติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เช่น วัณโรค โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2.โรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น โรคมาลาเรีย (รวมถึงเชื้อดื้อยา) โรคเท้าช้าง 3.โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคหัด และ 4.โรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคที่สำคัญอื่นๆ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง และโรคเรื้อน เป็นต้น
สัตวแพทย์หญิง ดาริกา กิ่งเนตร ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กล่าวว่า ทุกหน่วยงานต้องมีการบูรณาการในการดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรค เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอำเภอและจังหวัดในพื้นที่ชายแดนของประเทศไทยทั้ง 31 จังหวัดร่วมกัน และจำเป็นต้องมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและคลอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการรู้เท่าทันโรคที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือให้ทันต่อสถานการณ์ ดังสโลแกนกรมควบคุมโรค ที่ว่า “รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้” เพราะฉะนั้น ในที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่รับผิดชอบ จัดการประชุมจังหวัดในแต่ละพื้นที่ชายแดน เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนรู้และประสบการณ์การทำงาน จัดทำทำเนียบเครือข่ายหน่วยงานและผู้รับผิดชอบงานสาธารณสุขชายแดนของหน่วยงานต่างๆ สร้างและถ่ายทอดมาตรฐานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ชายแดนให้เกิดการพัฒนากลไกการประสานความร่วมมือ โดยเฉพาะจังหวัดคู่ความร่วมมือหรือจังหวัดคู่ขนาน (Twin cities) ของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พื้นที่ไทย-ลาว เชียงราย-บ่อแก้ว, น่าน-ไชยะบุรี, มุกดาหาร-สะหวันนะเขต, หนองคาย-เวียงจันทน์, อุบลราชธานี-จำปาสัก พื้นที่ไทย-กัมพูชา สระแก้ว-บันเตียเมียนเจย, จันทบุรี-พระตะบองและไพลิน, ตราด-เกาะกง พื้นที่ไทย-เมียนมาร์ เชียงราย-ท่าขี้เหล็ก, ตาก-เมียวดี, ระนอง-เกาะสอง พื้นที่ไทย-มาเลเชีย จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นต้น
วันนี้ (26 ก.พ.) พญ.วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการประชุมเตรียมการเพื่อพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ชายแดนและระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 21-22 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน สธ.จะได้รับมอบหมายให้พัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานการสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งในส่วนของ คร.ได้จัดทำโครงการรวม 11 โครงการ เพื่อพัฒนาระบบ เครือข่าย หน่วยงาน และบุคลากร ให้มีความพร้อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ.2005 ซึ่งโครงการพัฒนาระบบและเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ชายแดน ถือได้ว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ และกรมควบคุมโรคได้มอบหมายให้สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นหน่วยประสานและสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ต่อไป
พญ.วราภรณ์ กล่าวอีกว่า จากการประเมินสถานการณ์ของประเทศเมื่อเกิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2558 และมีการเชื่อมโยงตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนแล้ว ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาค มีการเคลื่อนย้ายประชากรมนุษย์ (นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว รวมทั้งผู้ป่วย) สัตว์ พืช อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่เป็นภัยต่อสุขภาพ (เหล้า บุหรี่ และสารเคมีอันตราย) เพิ่มขึ้นมาก เป็นผลให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อภัยสุขภาพหลายรูปแบบเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคที่อาจแพร่ระบาดข้ามพรมแดน ได้แก่ 1.โรคติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เช่น วัณโรค โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2.โรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น โรคมาลาเรีย (รวมถึงเชื้อดื้อยา) โรคเท้าช้าง 3.โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคหัด และ 4.โรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคที่สำคัญอื่นๆ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง และโรคเรื้อน เป็นต้น
สัตวแพทย์หญิง ดาริกา กิ่งเนตร ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กล่าวว่า ทุกหน่วยงานต้องมีการบูรณาการในการดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรค เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอำเภอและจังหวัดในพื้นที่ชายแดนของประเทศไทยทั้ง 31 จังหวัดร่วมกัน และจำเป็นต้องมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและคลอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการรู้เท่าทันโรคที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือให้ทันต่อสถานการณ์ ดังสโลแกนกรมควบคุมโรค ที่ว่า “รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้” เพราะฉะนั้น ในที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่รับผิดชอบ จัดการประชุมจังหวัดในแต่ละพื้นที่ชายแดน เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนรู้และประสบการณ์การทำงาน จัดทำทำเนียบเครือข่ายหน่วยงานและผู้รับผิดชอบงานสาธารณสุขชายแดนของหน่วยงานต่างๆ สร้างและถ่ายทอดมาตรฐานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ชายแดนให้เกิดการพัฒนากลไกการประสานความร่วมมือ โดยเฉพาะจังหวัดคู่ความร่วมมือหรือจังหวัดคู่ขนาน (Twin cities) ของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พื้นที่ไทย-ลาว เชียงราย-บ่อแก้ว, น่าน-ไชยะบุรี, มุกดาหาร-สะหวันนะเขต, หนองคาย-เวียงจันทน์, อุบลราชธานี-จำปาสัก พื้นที่ไทย-กัมพูชา สระแก้ว-บันเตียเมียนเจย, จันทบุรี-พระตะบองและไพลิน, ตราด-เกาะกง พื้นที่ไทย-เมียนมาร์ เชียงราย-ท่าขี้เหล็ก, ตาก-เมียวดี, ระนอง-เกาะสอง พื้นที่ไทย-มาเลเชีย จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นต้น