แม่บ้านคอเบียร์! ผลสำรวจเผย หญิงชาวบ้านวัยกลางคนขึ้นแท่นนักดื่มเบียร์ พบช่วงเทศกาล ตั้งวงน้ำเมามากที่สุด หวังผ่อนคลายความทุกข์เครียด ปัญหาครอบครัว จี้รัฐเข้มมาตรการกฎหมายคุมเหล้าช่วงเทศกาลในชุมชน
วันนี้(27 พ.ค.)นายพรณรงค์ ปั้นทอง ผู้ประสานงานศูนย์ การเรียนรู้ชุมชนลด ละ เลิกเหล้า หมู่บ้านคำกลาง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้หญิงในชุมชนตำบลโนนหนามแท่ง จ.อำนาจเจริญ จำนวน 1,000 คน ทั้งหมด 14 หมู่บ้าน อายุ 31- 50 ปี พบว่า ผู้หญิงที่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา สูงถึง 62.11% รองลงมาเคยดื่ม 21.94 % และไม่เคยดื่มเลย 15.95% ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่ม ได้แก่ เบียร์ คิดเป็น 45.65 % เหล้าสี 18.55 เหล้าขาว/เหล้าโรง 18.31% โอกาสที่ทำให้ดื่มหนักหรือทำให้ดื่มติดต่อกันหลายวัน คือ งานเลี้ยง (งานแต่งงาน งานปีใหม่) สูงที่สุด 41.62 % รองลงมา งานผ้าป่า18% งานบุญบั้งไฟ13.63 %
นายพรณรงค์ กล่าวว่า ข้อมูลพฤติกรรมการดื่ม พบว่า ครึ่งหนึ่งเริ่มดื่มครั้งแรก อายุ 10 - 20 ปี คิดเป็น 51.29 % รองลงมาเริ่มดื่มครั้งแรก อายุ 21-30 ปี 30.85 % โดยโอกาสที่ทำให้ดื่มครั้งแรกมาจากงานบุญประเพณีและงานเลี้ยง สูงถึง 62.57%ซึ่งสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้ดื่มครั้งแรกเพราะเพื่อนชวนมากที่สุด 25.57 % ดื่มเพื่อเข้าสังคม 23.71 % และดื่มเพื่อคลายทุกข์/คลายเครียด 10 %
"จากข้อมูลสะท้อนว่าสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้หญิงในชุมชนมีการดื่มค่อนข้างสูงถึง 62%โดยเฉพาะช่วงเทศกาล นอกจากเพื่อเข้าสังคมแล้วยัง มีการดื่มเพื่อคลายความทุกข์/คลายเครียดส่วนใหญ่ดื่มกับเพื่อน และดื่มที่บ้านซึ่งเป็นสถานที่ในชุมชนมากกว่าร้านอาหารหรือสถานบันเทิง โอกาสที่ทำให้ดื่มครั้งแรก กับ สาเหตุที่ทำให้ดื่มครั้งแรก มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งงานบุญประเพณีและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นลักษณะงานนันทนาการทางสังคมระหว่างกลุ่มเพื่อน และเป็นพื้นที่ให้ผู้หญิงได้พบกันสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ" นายพณรงค์ กล่าว
นายพรณรงค์ กล่าวอีกว่า ผู้หญิงในชุมชนส่วนใหญ่ต้องการพื้นที่การพูดคุยที่เข้าใจ การได้ระบายความทุกข์ การแสดงออกที่ได้รับการยอมรับ การมีส่วนร่วมในสร้างพื้นที่ในชุมชน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างหญิงชาย เพราะในงานประเพณีและงานเลี้ยงทำให้ผู้หญิงได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนๆ ซึ่งในช่วงเวลาปกติผู้หญิงอาจไม่มีโอกาสได้พูดคุยระบายออกกับเพื่อนได้อย่างอิสระ ด้วยภาระในชีวิตประจำวันต้องดูแลครอบครัว ดูแลสามี ทำงานบ้าน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากเห็นคือ ชุมชนต้องมีมาตรการหรือกฎของชุมชนเพื่อควบคุมการดื่มในช่วงงานเทศกาล งานประจำปี และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ ในหมู่บ้าน นอกจากนี้ต้องจัดกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการดื่ม ควบคู่ไปกับจัดกิจกรรมรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้าทุกหมู่บ้าน
วันนี้(27 พ.ค.)นายพรณรงค์ ปั้นทอง ผู้ประสานงานศูนย์ การเรียนรู้ชุมชนลด ละ เลิกเหล้า หมู่บ้านคำกลาง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้หญิงในชุมชนตำบลโนนหนามแท่ง จ.อำนาจเจริญ จำนวน 1,000 คน ทั้งหมด 14 หมู่บ้าน อายุ 31- 50 ปี พบว่า ผู้หญิงที่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา สูงถึง 62.11% รองลงมาเคยดื่ม 21.94 % และไม่เคยดื่มเลย 15.95% ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่ม ได้แก่ เบียร์ คิดเป็น 45.65 % เหล้าสี 18.55 เหล้าขาว/เหล้าโรง 18.31% โอกาสที่ทำให้ดื่มหนักหรือทำให้ดื่มติดต่อกันหลายวัน คือ งานเลี้ยง (งานแต่งงาน งานปีใหม่) สูงที่สุด 41.62 % รองลงมา งานผ้าป่า18% งานบุญบั้งไฟ13.63 %
นายพรณรงค์ กล่าวว่า ข้อมูลพฤติกรรมการดื่ม พบว่า ครึ่งหนึ่งเริ่มดื่มครั้งแรก อายุ 10 - 20 ปี คิดเป็น 51.29 % รองลงมาเริ่มดื่มครั้งแรก อายุ 21-30 ปี 30.85 % โดยโอกาสที่ทำให้ดื่มครั้งแรกมาจากงานบุญประเพณีและงานเลี้ยง สูงถึง 62.57%ซึ่งสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้ดื่มครั้งแรกเพราะเพื่อนชวนมากที่สุด 25.57 % ดื่มเพื่อเข้าสังคม 23.71 % และดื่มเพื่อคลายทุกข์/คลายเครียด 10 %
"จากข้อมูลสะท้อนว่าสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้หญิงในชุมชนมีการดื่มค่อนข้างสูงถึง 62%โดยเฉพาะช่วงเทศกาล นอกจากเพื่อเข้าสังคมแล้วยัง มีการดื่มเพื่อคลายความทุกข์/คลายเครียดส่วนใหญ่ดื่มกับเพื่อน และดื่มที่บ้านซึ่งเป็นสถานที่ในชุมชนมากกว่าร้านอาหารหรือสถานบันเทิง โอกาสที่ทำให้ดื่มครั้งแรก กับ สาเหตุที่ทำให้ดื่มครั้งแรก มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งงานบุญประเพณีและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นลักษณะงานนันทนาการทางสังคมระหว่างกลุ่มเพื่อน และเป็นพื้นที่ให้ผู้หญิงได้พบกันสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ" นายพณรงค์ กล่าว
นายพรณรงค์ กล่าวอีกว่า ผู้หญิงในชุมชนส่วนใหญ่ต้องการพื้นที่การพูดคุยที่เข้าใจ การได้ระบายความทุกข์ การแสดงออกที่ได้รับการยอมรับ การมีส่วนร่วมในสร้างพื้นที่ในชุมชน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างหญิงชาย เพราะในงานประเพณีและงานเลี้ยงทำให้ผู้หญิงได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนๆ ซึ่งในช่วงเวลาปกติผู้หญิงอาจไม่มีโอกาสได้พูดคุยระบายออกกับเพื่อนได้อย่างอิสระ ด้วยภาระในชีวิตประจำวันต้องดูแลครอบครัว ดูแลสามี ทำงานบ้าน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากเห็นคือ ชุมชนต้องมีมาตรการหรือกฎของชุมชนเพื่อควบคุมการดื่มในช่วงงานเทศกาล งานประจำปี และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ ในหมู่บ้าน นอกจากนี้ต้องจัดกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการดื่ม ควบคู่ไปกับจัดกิจกรรมรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้าทุกหมู่บ้าน