เด็กอาชีวะ 3 จชต.เมิน ศธ.เน้นฝึกงานต่างจังหวัดต่างภาค เกินครึ่งยังขอฝึกงานในพื้นที่ แม้ ศธ.ระบุสถานประกอบการทยอยปิดตัวจากเหตุความไม่สงบ มีเพียง 100 กว่าคนเท่านั้นที่ดิ้นรนมายัง กทม.
นายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานให้โอวาทนักเรียนระดับ ปวช.3 และ ปวส.2 ในโครงการนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ฝึกงานต่างจังหวัด ต่างภาค ประจำปีการศึกษา 2556 จำนวน 47 คน จาก 6 สถานศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้สถานประกอบการทยอยปิดตัว เลิกกิจการ ทำให้นักเรียนอาชีวศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ขาดโอกาสการเรียนรู้ และฝึกอาชีพกับสถานประกอบการ โครงการนี้จึงนับว่าเป็นโครงการที่ดี สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ทำให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้สภาพการทำงานจริงในสถานประกอบการและพัฒนาทักษะวิชาชีพให้มีความชำนาญ สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานจริงเมื่อจบการศึกษาแล้ว ได้รับความรู้และประสบการณ์ เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และมีโอกาสหางานทำต่างภาค ต่างจังหวัดเมื่อจบการศึกษา
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ในปีการศึกษา 2556 มีนักเรียน นักศึกษาระดับ ปวช.3 และ ปวส.2 จากสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 18 แห่ง ประสงค์ที่จะไปฝึกงาน จำนวน 2,907 คน โดยจะไปฝึกงานกับสถานประกอบการพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 1,695 คน ภาคใต้ตอนล่าง 763 คน ภาคใต้ตอนบน 269 คน และฝึกงานที่กรุงเทพและปริมณฑล 180 คน ซึ่งมีระยะเวลาในการฝึกงานประมาณ 3 - 5 เดือน (เดือนพฤษภาคม-กันยายน 2556) ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาและสถานประกอบการตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ สอศ.ได้สนับสนุนค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก และค่าพาหนะให้กับนักเรียน จัดครูผู้ควบคุมมาติดตามนิเทศ ตลอดจนจัดวิทยาลัยพี่เลี้ยงต่างภาค ต่างจังหวัด ช่วยดูแลด้วย
นายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานให้โอวาทนักเรียนระดับ ปวช.3 และ ปวส.2 ในโครงการนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ฝึกงานต่างจังหวัด ต่างภาค ประจำปีการศึกษา 2556 จำนวน 47 คน จาก 6 สถานศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้สถานประกอบการทยอยปิดตัว เลิกกิจการ ทำให้นักเรียนอาชีวศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ขาดโอกาสการเรียนรู้ และฝึกอาชีพกับสถานประกอบการ โครงการนี้จึงนับว่าเป็นโครงการที่ดี สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ทำให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้สภาพการทำงานจริงในสถานประกอบการและพัฒนาทักษะวิชาชีพให้มีความชำนาญ สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานจริงเมื่อจบการศึกษาแล้ว ได้รับความรู้และประสบการณ์ เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และมีโอกาสหางานทำต่างภาค ต่างจังหวัดเมื่อจบการศึกษา
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ในปีการศึกษา 2556 มีนักเรียน นักศึกษาระดับ ปวช.3 และ ปวส.2 จากสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 18 แห่ง ประสงค์ที่จะไปฝึกงาน จำนวน 2,907 คน โดยจะไปฝึกงานกับสถานประกอบการพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 1,695 คน ภาคใต้ตอนล่าง 763 คน ภาคใต้ตอนบน 269 คน และฝึกงานที่กรุงเทพและปริมณฑล 180 คน ซึ่งมีระยะเวลาในการฝึกงานประมาณ 3 - 5 เดือน (เดือนพฤษภาคม-กันยายน 2556) ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาและสถานประกอบการตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ สอศ.ได้สนับสนุนค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก และค่าพาหนะให้กับนักเรียน จัดครูผู้ควบคุมมาติดตามนิเทศ ตลอดจนจัดวิทยาลัยพี่เลี้ยงต่างภาค ต่างจังหวัด ช่วยดูแลด้วย