และแล้วอีก 2 ปี เราก็กำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC) ภายในปี พ.ศ. 2558 จึงไม่น่าแปลกใจที่เราพบเห็นนโยบายจากทุกภาคส่วนที่เตรียมรับมือกันขนานใหญ่ แต่ดูเหมือนส่วนใหญ่จะพุ่งไปที่ประเด็นเสาของภาคเศรษฐกิจมากที่สุดใน 3 เสาหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจ, การเมืองและความมั่นคง และเสาสุดท้ายคือสังคมและวัฒนธรรม
แต่ทั้ง 3 เสาหลัก ล้วนแล้วส่งผลกระทบเชื่อมโยงกับสถาบันครอบครัวอยู่ดี เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนเป็นพ่อแม่ต้องติดตามความเป็นไป และแสวงหาข้อมูลความรู้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเราและวิถีชีวิตของลูกเราในรุ่นถัดไปอย่างแน่นอน
ก่อนหน้านี้ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เคยกล่าวไว้ว่าความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเน้นที่หัวใจของอาเซียน คือ การศึกษา
“ถ้าไม่เร่งปรับตัว ไทยเราจะเสียเปรียบให้นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีคุณภาพเหนือกว่ามากทั้งทักษะวิชาการ และภาษาสื่อสารที่เหนือกว่า”
“การผลิตบัณฑิตให้จบไปก่อนตามแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไป ต้องเน้นคุณภาพวิชาการ ทันยุคสมัย มีทักษะ พร้อมประสบการณ์การทำงาน มีจิตอาสาเรื่องความรับผิดชอบต่อองค์กร และต่อสังคม นอกจากภาษาต้องถึงพร้อมในระดับสากล เพราะจากนี้ไปเราไม่ได้แข่งขันในบริบทไทยเท่านั้น แต่เราต้องออกไปแข่งขันข้างนอกประเทศด้วย มาตรฐานการศึกษาจึงต้องมุ่งที่ประสิทธิภาพจริงๆ”
เพราะฉะนั้นเรื่องการรู้เท่าทัน และการเตรียมตัวรับมือล่วงหน้าย่อมเกิดผลดีมากกว่า โดยเฉพาะคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องพร้อมปรับตัว เพื่อเตรียมการณ์สำหรับรุ่นลูกด้วย
แล้วเรื่องใดบ้างที่คนเป็นพ่อแม่ควรสอนลูกเรียนรู้ก่อนถึงเวลาเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 ?
หนึ่ง พ่อแม่ต้องรู้ก่อน
เริ่มจากตัวพ่อแม่เองก่อนที่ต้องตระหนักถึงการแสวงหาข้อมูลความรู้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและวัฒนธรรม การหาความรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เพื่อนำมาถ่ายทอดสอนลูกให้ได้รู้จักเพื่อนบ้านในอาเซียนเป็นเรื่องจำเป็น
สอง รู้มากกว่า 2ภาษา
การใช้ภาษามีความสำคัญมาก ต้องตื่นตัวเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่ใช้สื่อสารกับกลุ่มประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ยุคต่อไปจะเป็นยุคของคนที่รู้ภาษาหลายภาษาจะมีความได้เปรียบในทุกด้าน ไม่ใช่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองเท่านั้น แต่อาจต้องมีภาษาที่ 3 หรือ 4 ด้วย
สาม สร้างทัศนคติที่ดี
จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดีต้องเริ่มจากการมีทัศนคติที่ดี เพราะจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่แตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจและยอมรับความแตกต่างในทุกมิติ
สี่ คิดวิเคราะห์เป็น
ความจริงไม่ว่าเราจะก้าวเข้าสู่อาเซียนหรือไม่ก็ตาม การคิดวิเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญ แต่เนื่องจากที่ผ่านมาหลักสูตรการเรียนการสอนในบ้านเราไม่เปิดโอกาสให้เด็กไทยได้ใช้ศักยภาพเรื่องการคิดวิเคราะห์ของเด็กอย่างเต็มตามศักยภาพ เน้นเรื่องท่องจำมากกว่า ฉะนั้น เมื่อเปิดประตูอาเซียนแล้ว เด็กไทยต้องเผชิญกับเด็กต่างเชื้อชาติที่ต้องมุ่งเน้นเรื่องการคิดวิเคราะห์เป็น เน้นคุณภาพมากกว่า
ห้า การสื่อสารที่แตกต่าง
สิ่งที่ต้องสอนให้ลูกเข้าใจอีกเรื่องคือการสื่อสารของกลุ่มประเทศสมาชิกจะมีความแตกต่างกัน ทั้งรูปแบบ วิธีการ ค่านิยม รวมถึงสภาวะแวดล้อมที่แตกต่าง ซึ่งอาจทำให้การติดต่อสื่อสารมีอุปสรรคได้ นั่นหมายถึงถ้าเรามีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประเทศนั้นๆ ดีพอ เราก็จะเข้าใจได้ เพราะถ้าการสื่อสารผิดพลาดก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
หก พฤติกรรมและทักษะที่เหมาะสม
เราต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา คนไทยมีปัญหาในการทำงานกับชาวต่างชาติ เช่น การแสดงความคิดเห็น การยอมรับความคิดเห็น ความอดทน ความมีวินัย การทำงานเป็นทีม ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นประเด็นให้พ่อแม่ต้องทบทวน และควรฝึกทักษะลูกตั้งแต่เล็ก
เจ็ด การปรับตัวและเปิดใจ
เป็นการสอนให้เด็กเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งเปิดใจที่จะยอมรับความแตกต่างที่จะอยู่ร่วมกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
แปด บรรยากาศดีช่วยได้
การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้แบบสบายๆ สนุก จะเอื้อต่อการรับรู้ข้อมูลของลูกเป็นอย่างมาก อาจชักชวนให้ลูกเล่นเกม หรือไปท่องเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเรียนรู้จากสถานที่จริง จะทำให้เด็กๆ สนุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
เก้า ใช้สื่อเป็นเครื่องมือ
ไม่ว่าจะเป็นสื่ออิเลกทรอนิกส์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ล้วนแล้วมีประโยชน์ทั้งสิ้น โดยดูวัยของลูกเป็นหลัก ถ้าเด็กเล็กก็ใช้หนังสือนิทาน ปัจจุบันมีนิทานมากมายที่ให้ข้อมูลเรื่องนี้ ถ้าลูกโตก็อาจหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เช่น ยูทิวบ์ ดูว่าเพื่อนบ้านเรามีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร
สิบ เรียนรู้ไปพร้อมกับลูก
ถ้าลูกอยากเรียนรู้เองจะเกิดประสิทธิภาพมากกว่าการที่พ่อแม่ยัดเยียด แม้พ่อแม่อยากให้ลูกเรียนรู้มากขนาดไหน แต่อย่าใช้วิธีบังคับหรือยัดเยียดเด็ดขาด เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว อาจได้ผลในทิศทางตรงกันข้าม คือ ลูกปฏิเสธการเรียนรู้เรื่องนี้ไปเลย พ่อแม่ควรมีเทคนิคค่อยๆ แทรกซึมให้เขาเรียนรู้ทีละน้อย และชักชวนให้เรียนรู้ร่วมกัน โดยที่พ่อแม่เรียนรู้ไปพร้อมกับลูกด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางเท่านั้นค่ะ พ่อแม่หลายท่านอาจเตรียมความพร้อมกันเต็มสูบแล้ว ก็อย่าลืมคำนึงถึงวัยด้วยนะคะ ส่วนพ่อแม่ที่ยังไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ก็ควรต้องหันมามองแล้วล่ะค่ะ เพราะนี่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงธรรมดาที่จะปล่อยตามมีตามเกิดเท่านั้น เราสามารถช่วยเหลือลูกของเราในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคต่อไปได้ค่ะ
อย่าลืมว่า เราไม่สามารถอยู่กับเขาไปตลอดชีวิตได้ และเราก็ไม่รู้ว่าจะจากลูกไปเมื่อไร สิ่งที่ควรทำก็คือสอนให้เขาสามารถยืนหยัดอยู่ที่ไหนของโลกใบนี้ก็ได้ต่างหากค่ะ
แต่ทั้ง 3 เสาหลัก ล้วนแล้วส่งผลกระทบเชื่อมโยงกับสถาบันครอบครัวอยู่ดี เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนเป็นพ่อแม่ต้องติดตามความเป็นไป และแสวงหาข้อมูลความรู้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเราและวิถีชีวิตของลูกเราในรุ่นถัดไปอย่างแน่นอน
ก่อนหน้านี้ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เคยกล่าวไว้ว่าความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเน้นที่หัวใจของอาเซียน คือ การศึกษา
“ถ้าไม่เร่งปรับตัว ไทยเราจะเสียเปรียบให้นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีคุณภาพเหนือกว่ามากทั้งทักษะวิชาการ และภาษาสื่อสารที่เหนือกว่า”
“การผลิตบัณฑิตให้จบไปก่อนตามแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไป ต้องเน้นคุณภาพวิชาการ ทันยุคสมัย มีทักษะ พร้อมประสบการณ์การทำงาน มีจิตอาสาเรื่องความรับผิดชอบต่อองค์กร และต่อสังคม นอกจากภาษาต้องถึงพร้อมในระดับสากล เพราะจากนี้ไปเราไม่ได้แข่งขันในบริบทไทยเท่านั้น แต่เราต้องออกไปแข่งขันข้างนอกประเทศด้วย มาตรฐานการศึกษาจึงต้องมุ่งที่ประสิทธิภาพจริงๆ”
เพราะฉะนั้นเรื่องการรู้เท่าทัน และการเตรียมตัวรับมือล่วงหน้าย่อมเกิดผลดีมากกว่า โดยเฉพาะคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องพร้อมปรับตัว เพื่อเตรียมการณ์สำหรับรุ่นลูกด้วย
แล้วเรื่องใดบ้างที่คนเป็นพ่อแม่ควรสอนลูกเรียนรู้ก่อนถึงเวลาเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 ?
หนึ่ง พ่อแม่ต้องรู้ก่อน
เริ่มจากตัวพ่อแม่เองก่อนที่ต้องตระหนักถึงการแสวงหาข้อมูลความรู้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและวัฒนธรรม การหาความรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เพื่อนำมาถ่ายทอดสอนลูกให้ได้รู้จักเพื่อนบ้านในอาเซียนเป็นเรื่องจำเป็น
สอง รู้มากกว่า 2ภาษา
การใช้ภาษามีความสำคัญมาก ต้องตื่นตัวเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่ใช้สื่อสารกับกลุ่มประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ยุคต่อไปจะเป็นยุคของคนที่รู้ภาษาหลายภาษาจะมีความได้เปรียบในทุกด้าน ไม่ใช่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองเท่านั้น แต่อาจต้องมีภาษาที่ 3 หรือ 4 ด้วย
สาม สร้างทัศนคติที่ดี
จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดีต้องเริ่มจากการมีทัศนคติที่ดี เพราะจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่แตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจและยอมรับความแตกต่างในทุกมิติ
สี่ คิดวิเคราะห์เป็น
ความจริงไม่ว่าเราจะก้าวเข้าสู่อาเซียนหรือไม่ก็ตาม การคิดวิเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญ แต่เนื่องจากที่ผ่านมาหลักสูตรการเรียนการสอนในบ้านเราไม่เปิดโอกาสให้เด็กไทยได้ใช้ศักยภาพเรื่องการคิดวิเคราะห์ของเด็กอย่างเต็มตามศักยภาพ เน้นเรื่องท่องจำมากกว่า ฉะนั้น เมื่อเปิดประตูอาเซียนแล้ว เด็กไทยต้องเผชิญกับเด็กต่างเชื้อชาติที่ต้องมุ่งเน้นเรื่องการคิดวิเคราะห์เป็น เน้นคุณภาพมากกว่า
ห้า การสื่อสารที่แตกต่าง
สิ่งที่ต้องสอนให้ลูกเข้าใจอีกเรื่องคือการสื่อสารของกลุ่มประเทศสมาชิกจะมีความแตกต่างกัน ทั้งรูปแบบ วิธีการ ค่านิยม รวมถึงสภาวะแวดล้อมที่แตกต่าง ซึ่งอาจทำให้การติดต่อสื่อสารมีอุปสรรคได้ นั่นหมายถึงถ้าเรามีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประเทศนั้นๆ ดีพอ เราก็จะเข้าใจได้ เพราะถ้าการสื่อสารผิดพลาดก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
หก พฤติกรรมและทักษะที่เหมาะสม
เราต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา คนไทยมีปัญหาในการทำงานกับชาวต่างชาติ เช่น การแสดงความคิดเห็น การยอมรับความคิดเห็น ความอดทน ความมีวินัย การทำงานเป็นทีม ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นประเด็นให้พ่อแม่ต้องทบทวน และควรฝึกทักษะลูกตั้งแต่เล็ก
เจ็ด การปรับตัวและเปิดใจ
เป็นการสอนให้เด็กเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งเปิดใจที่จะยอมรับความแตกต่างที่จะอยู่ร่วมกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
แปด บรรยากาศดีช่วยได้
การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้แบบสบายๆ สนุก จะเอื้อต่อการรับรู้ข้อมูลของลูกเป็นอย่างมาก อาจชักชวนให้ลูกเล่นเกม หรือไปท่องเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเรียนรู้จากสถานที่จริง จะทำให้เด็กๆ สนุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
เก้า ใช้สื่อเป็นเครื่องมือ
ไม่ว่าจะเป็นสื่ออิเลกทรอนิกส์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ล้วนแล้วมีประโยชน์ทั้งสิ้น โดยดูวัยของลูกเป็นหลัก ถ้าเด็กเล็กก็ใช้หนังสือนิทาน ปัจจุบันมีนิทานมากมายที่ให้ข้อมูลเรื่องนี้ ถ้าลูกโตก็อาจหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เช่น ยูทิวบ์ ดูว่าเพื่อนบ้านเรามีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร
สิบ เรียนรู้ไปพร้อมกับลูก
ถ้าลูกอยากเรียนรู้เองจะเกิดประสิทธิภาพมากกว่าการที่พ่อแม่ยัดเยียด แม้พ่อแม่อยากให้ลูกเรียนรู้มากขนาดไหน แต่อย่าใช้วิธีบังคับหรือยัดเยียดเด็ดขาด เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว อาจได้ผลในทิศทางตรงกันข้าม คือ ลูกปฏิเสธการเรียนรู้เรื่องนี้ไปเลย พ่อแม่ควรมีเทคนิคค่อยๆ แทรกซึมให้เขาเรียนรู้ทีละน้อย และชักชวนให้เรียนรู้ร่วมกัน โดยที่พ่อแม่เรียนรู้ไปพร้อมกับลูกด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางเท่านั้นค่ะ พ่อแม่หลายท่านอาจเตรียมความพร้อมกันเต็มสูบแล้ว ก็อย่าลืมคำนึงถึงวัยด้วยนะคะ ส่วนพ่อแม่ที่ยังไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ก็ควรต้องหันมามองแล้วล่ะค่ะ เพราะนี่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงธรรมดาที่จะปล่อยตามมีตามเกิดเท่านั้น เราสามารถช่วยเหลือลูกของเราในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคต่อไปได้ค่ะ
อย่าลืมว่า เราไม่สามารถอยู่กับเขาไปตลอดชีวิตได้ และเราก็ไม่รู้ว่าจะจากลูกไปเมื่อไร สิ่งที่ควรทำก็คือสอนให้เขาสามารถยืนหยัดอยู่ที่ไหนของโลกใบนี้ก็ได้ต่างหากค่ะ