รมว.สาธารณสุข นำทีมผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 66 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 20-28 พฤษภาคม 2556 เพื่อร่วมแก้ไขและพัฒนาสุขภาพประชากรโลก ทั้งโรคไม่ติดต่อสำคัญ การสร้างหลักประกันสุขภาพ ปัญหายาปลอม การพัฒนาสุขภาพจิต รวมทั้งพบผู้นำหลายประเทศ และศึกษาดูงาน ศูนย์ปฏิบัติการยุทธศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในวันที่ 20-28 พฤษภาคม 2556 จะนำคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยนายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และนักวิชาการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 66 ( World Health Assembly : WHA) ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส จัดโดยองค์การอนามัยโลก โดยมีรัฐมนตรีสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจาก 194ประเทศเข้าประชุมกว่า 2,000 คน เพื่อร่วมมือกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับโลก
นายแพทย์ประดิษฐกล่าวว่า ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลกปีนี้ มีวาระสำคัญหลายเรื่อง ได้แก่ การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อและแผนปฏิบัติการแก้ไขพ.ศ. 2557-2562 เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง การลดพฤติกรรมต้นเหตุเช่นการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การส่งเสริมการออกกำลังกายป้องกันโรคอ้วน การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตโลก สาธารณสุขในคนต่างด้าว โดยเฉพาะบุตรของแรงงานต่างด้าว ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยมีกฎหมายคุมครองคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย คือพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะการเฝ้าระวัง การฆ่าตัวตาย การเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้าเพื่อลดปัญหาการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ซึ่งไทยเป็นผู้นำด้านด้านการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตที่โดดเด่นของภูมิภาคนี้ พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนกับเวทีโลกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการประชุมแก้ปัญหาโรคติดต่อเช่นมาลาเรีย ปัญหายาปลอม โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างหลักประกันสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ใช้ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือลดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยประเทศไทยสนับสนุนและเรียกร้องให้มีการสร้างศักยภาพระบบข้อมูลสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะข้อมูลทะเบียนราษฎร์และสถิติมีชีพ เพื่อให้ระบบประกันสุขภาพ ครอบคลุมตั้งแต่แรกเกิด และจูงใจสถานบริการในการแจ้งข้อมูล ซึ่งจะสามารถผลักดันให้เกิดการศึกษาและพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพของไทยอย่างต่อเนื่องด้วย
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ในการประชุมครั้งนี้ จะนำคณะผู้บริหารไทยศึกษาดูงานที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านยุทธศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ จะมีการหารือความร่วมมือการพัฒนาสุขภาพกับรัฐมนตรีสาธารณสุขของประเทศศรีลังกา และหารือกับนาย เกรจ เพอร์รี่ ( Mr. Greg Perry) ผู้อำนวยการด้านการบริการสิทธิบัตรยา ขององค์การอนามัยโลก ด้วย
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในวันที่ 20-28 พฤษภาคม 2556 จะนำคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยนายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และนักวิชาการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 66 ( World Health Assembly : WHA) ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส จัดโดยองค์การอนามัยโลก โดยมีรัฐมนตรีสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจาก 194ประเทศเข้าประชุมกว่า 2,000 คน เพื่อร่วมมือกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับโลก
นายแพทย์ประดิษฐกล่าวว่า ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลกปีนี้ มีวาระสำคัญหลายเรื่อง ได้แก่ การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อและแผนปฏิบัติการแก้ไขพ.ศ. 2557-2562 เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง การลดพฤติกรรมต้นเหตุเช่นการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การส่งเสริมการออกกำลังกายป้องกันโรคอ้วน การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตโลก สาธารณสุขในคนต่างด้าว โดยเฉพาะบุตรของแรงงานต่างด้าว ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยมีกฎหมายคุมครองคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย คือพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะการเฝ้าระวัง การฆ่าตัวตาย การเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้าเพื่อลดปัญหาการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ซึ่งไทยเป็นผู้นำด้านด้านการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตที่โดดเด่นของภูมิภาคนี้ พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนกับเวทีโลกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการประชุมแก้ปัญหาโรคติดต่อเช่นมาลาเรีย ปัญหายาปลอม โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างหลักประกันสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ใช้ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือลดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยประเทศไทยสนับสนุนและเรียกร้องให้มีการสร้างศักยภาพระบบข้อมูลสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะข้อมูลทะเบียนราษฎร์และสถิติมีชีพ เพื่อให้ระบบประกันสุขภาพ ครอบคลุมตั้งแต่แรกเกิด และจูงใจสถานบริการในการแจ้งข้อมูล ซึ่งจะสามารถผลักดันให้เกิดการศึกษาและพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพของไทยอย่างต่อเนื่องด้วย
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ในการประชุมครั้งนี้ จะนำคณะผู้บริหารไทยศึกษาดูงานที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านยุทธศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ จะมีการหารือความร่วมมือการพัฒนาสุขภาพกับรัฐมนตรีสาธารณสุขของประเทศศรีลังกา และหารือกับนาย เกรจ เพอร์รี่ ( Mr. Greg Perry) ผู้อำนวยการด้านการบริการสิทธิบัตรยา ขององค์การอนามัยโลก ด้วย