สธ.สุ่มตรวจ “น้ำปลาแท้” ทั่วประเทศ พบตกมาตรฐาน 36% เหตุกรดกลูตามิคต่อไนโตรเจนต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนน้ำปลาผสมตกมาตรฐานเกินครึ่ง เผยแม้สารต่างๆ ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่ไม่กระทบสุขภาพผู้บริโภค ระบุน้ำปลาแท้แพงหรือถูกคุณภาพใกล้เคียงกัน ด้าน อย.รับลูก ไล่บี้ตรวจโรงงานผลิตเข้าข่ายผลิตอาหารปลอม
วันนี้ (9 พ.ค.) ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวระหว่างการแถลงผลการตรวจคุณภาพน้ำปลาไทย ว่า จากการสุ่มตรวจคุณภาพน้ำปลาที่จำหน่ายตามตลาดสดและห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ จำนวน 471 ตัวอย่าง แบ่งเป็นน้ำปลาแท้ 242 ตัวอย่าง และน้ำปลาผสม 229 ตัวอย่าง เมื่อ ก.พ.-มี.ค.ที่ผ่านมา พบว่า น้ำปลาแท้ร้อยละ 62.8 เป็นน้ำปลาแท้ตามมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 203 พ.ศ.2543 เรื่องน้ำปลา ส่วนน้ำปลาผสมที่ได้มาตรฐานตามประกาศฯ มีเพียงร้อยละ 37.1 เท่านั้น ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวได้กำหนดมาตรฐาน และแยกประเภทของน้ำปลาออกเป็น 3 ชนิด คือ น้ำปลาแท้ น้ำปลาที่ทำจากสัตว์อื่น และน้ำปลาผสม โดยมาตรฐานปริมาณโปรตีนของน้ำปลาแท้ และน้ำปลาที่มาจากสัตว์อื่นต้องมีไนโตรเจนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 9 กรัมต่อลิตร และปริมาณกลูตามิคต่อไนโตรเจนทั้งหมดต้องมีค่าระหว่าง 0.4-0.6 ส่วนน้ำปลาผสมกำหนดให้มีไนโตรเจนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 4 กรัมต่อลิตร ปริมาณกลูตามิคต่อไนโตรเจนทั้งหมดต้องมีค่าระหว่าง 0.4-1.3 และการใช้วัตถุกันเสียสามารถใช้กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค ได้รวมกันไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่น้ำปลาแท้ไม่มีมาตรฐาน ส่วนใหญ่มาจากกรดกลูตามิคต่อไนโตรเจนไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจากกลุ่มตัวอย่างน้ำปลาแท้พบว่ามีมากถึงร้อยละ 36 และปริมาณไนโตรเจนต่ำกว่าเกณฑ์อีกร้อยละ 9 ส่วนในกลุ่มน้ำปลาผสมส่วนใหญ่จะมีปริมาณไนโตรเจนต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 52 และมีกรดกลูตามิคต่อไนโตรเจนไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 43.7 อย่างไรก็ตาม แม้ปริมาณสารต่างๆ จะไม่ได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ก็ไม่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค เพียงแค่ส่งผลต่อปริมาณโปรตีนในน้ำปลาเท่านั้น ทั้งนี้ จากการตรวจสอบยังพบด้วยว่า คุณภาพของน้ำปลาแท้จะมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกันไม่ว่าราคาเท่าใดก็ตาม
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า การเลือกซื้อน้ำปลาต้องมีตรา อย.รวมทั้ง มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) อยู่บนฉลาก ต้องดูส่วนประกอบ ที่สำคัญคือเลขสารบบอาหาร ทั้งนี้ จากผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำปลาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทาง อย.จะนำข้อมูลดังกล่าวไปตรวจสอบโรงงานผู้ผลิต เพื่อดูว่ามีความผิดเข้าข่ายการผลิตอาหารปลอมหรือไม่
วันนี้ (9 พ.ค.) ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวระหว่างการแถลงผลการตรวจคุณภาพน้ำปลาไทย ว่า จากการสุ่มตรวจคุณภาพน้ำปลาที่จำหน่ายตามตลาดสดและห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ จำนวน 471 ตัวอย่าง แบ่งเป็นน้ำปลาแท้ 242 ตัวอย่าง และน้ำปลาผสม 229 ตัวอย่าง เมื่อ ก.พ.-มี.ค.ที่ผ่านมา พบว่า น้ำปลาแท้ร้อยละ 62.8 เป็นน้ำปลาแท้ตามมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 203 พ.ศ.2543 เรื่องน้ำปลา ส่วนน้ำปลาผสมที่ได้มาตรฐานตามประกาศฯ มีเพียงร้อยละ 37.1 เท่านั้น ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวได้กำหนดมาตรฐาน และแยกประเภทของน้ำปลาออกเป็น 3 ชนิด คือ น้ำปลาแท้ น้ำปลาที่ทำจากสัตว์อื่น และน้ำปลาผสม โดยมาตรฐานปริมาณโปรตีนของน้ำปลาแท้ และน้ำปลาที่มาจากสัตว์อื่นต้องมีไนโตรเจนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 9 กรัมต่อลิตร และปริมาณกลูตามิคต่อไนโตรเจนทั้งหมดต้องมีค่าระหว่าง 0.4-0.6 ส่วนน้ำปลาผสมกำหนดให้มีไนโตรเจนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 4 กรัมต่อลิตร ปริมาณกลูตามิคต่อไนโตรเจนทั้งหมดต้องมีค่าระหว่าง 0.4-1.3 และการใช้วัตถุกันเสียสามารถใช้กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค ได้รวมกันไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่น้ำปลาแท้ไม่มีมาตรฐาน ส่วนใหญ่มาจากกรดกลูตามิคต่อไนโตรเจนไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจากกลุ่มตัวอย่างน้ำปลาแท้พบว่ามีมากถึงร้อยละ 36 และปริมาณไนโตรเจนต่ำกว่าเกณฑ์อีกร้อยละ 9 ส่วนในกลุ่มน้ำปลาผสมส่วนใหญ่จะมีปริมาณไนโตรเจนต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 52 และมีกรดกลูตามิคต่อไนโตรเจนไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 43.7 อย่างไรก็ตาม แม้ปริมาณสารต่างๆ จะไม่ได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ก็ไม่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค เพียงแค่ส่งผลต่อปริมาณโปรตีนในน้ำปลาเท่านั้น ทั้งนี้ จากการตรวจสอบยังพบด้วยว่า คุณภาพของน้ำปลาแท้จะมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกันไม่ว่าราคาเท่าใดก็ตาม
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า การเลือกซื้อน้ำปลาต้องมีตรา อย.รวมทั้ง มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) อยู่บนฉลาก ต้องดูส่วนประกอบ ที่สำคัญคือเลขสารบบอาหาร ทั้งนี้ จากผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำปลาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทาง อย.จะนำข้อมูลดังกล่าวไปตรวจสอบโรงงานผู้ผลิต เพื่อดูว่ามีความผิดเข้าข่ายการผลิตอาหารปลอมหรือไม่