ทปษ.รมว.ศึกษาฯ ห่วงมหา’ลัยใช้เครื่องตรวจสอบวิทยานิพนธ์ แก้ปัญหาได้เบื้องต้นเท่านั้น ได้ผลแค่คัดลอกผลงานเท่านั้น แต่บริษัทเป็นการเปิดรับจ้างจัดทำขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ พร้อมฝากมหา’ลัยคิดกระบวนการวิจัย พัฒนากระบวนการทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง
ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำเครื่องตรวจสอบวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย เพื่อแก้ปัญหาการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ว่าแนวทางของมหาวิทยาลัยที่จะดำเนินการดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ตนกลัวว่ามหาวิทยาลัยจะเดินหลงทาง เพราะเครื่องตรวจสอบวิทยานิพนธ์ที่ทางมหาวิทยาลัยจะจัดทำขึ้นนั้น เป็นเพียงการตรวจสอบเบื้องต้น และตรวจสอบได้เฉพาะวิทยานิพนธ์ที่คัดลอก ซ้ำซ้อนเท่านั้น ทั้งที่บริษัทรับจ้างทำวิทยานิพนธ์มีกระบวนการที่พัฒนามากขึ้น ตอนนี้การรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ไม่ใช่เป็นเพียงการคัดลอกผลงานอย่างเดียว แต่เป็นการทำวิทยานิพนธ์ฉบับใหม่ขึ้นมาทั้งฉบับ ไม่ได้คัดลอกผลงานของใคร หรือถ้ามีการคัดลอก พวกบริษัทรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ก็มีกระบวนการ โปรแกรมในการจัดทำวิทยานิพนธ์ ที่รับรองต่อผู้จ้างทำวิทยานิพนธ์ว่าเครื่องตรวจสอบวิทยานิพนธ์ไม่สามารถตรวจสอบได้
“ตอนนี้เพียงคีย์คำว่า รับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ในกูเกิลก็มีให้บริษัทรับจ้างให้เลือกมากมาย ทั้งที่การรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าสร้างความเสียหายให้แก่ระบบการศึกษาอย่างมาก ซึ่งทางกฎหมายก็ต้องให้หน่วยงานทางกฎหมายดำเนินการไป ส่วนทางมหาวิทยาลัยก็ควรไปคิดกระบวนการวิจัยและกระบวนการพัฒนาวิทยานิพนธ์ ให้เข้มแข้งมากขึ้น ไม่ใช่นิ่งนอนใช่ว่ามีเครื่องตรวจสอบวิทยานิพนธ์แล้วสามารถปัญหาการรับจ้าง ทำวิทยานิพนธ์ได้ อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าทุกมหาวิทยาลัยต่างมีกระบวนการตรวจสอบวิทยานิพนธ์อยู่แล้ว เพียงแต่อยากให้มหาวิทยาลัยช่วยคิด ช่วยวางกระบวนการที่สามารถตรวจสอบวิทยานิพนธ์ที่เป็นระบบมากกว่า” ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า ในสัปดาห์หน้า ตนจะทำหนังสือส่งให้แก่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เพื่อขอให้เข้ามาช่วยเหลือ หาทางแก้ไขกรณีได้รับแจ้งเบาะแสว่ามีการรับจ้างรับทำดุษฎีนิพนธ์ ของปริญญาเอก ทุกสาขาวิชาทั่งประเทศ ประกาศผ่านทางเว็บไซต์ www.researchthailand.com ซึ่งจากการหารือเบื้องต้น ทางดีเอสไอรับปากจะช่วยเหลือเต็มที่
ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำเครื่องตรวจสอบวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย เพื่อแก้ปัญหาการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ว่าแนวทางของมหาวิทยาลัยที่จะดำเนินการดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ตนกลัวว่ามหาวิทยาลัยจะเดินหลงทาง เพราะเครื่องตรวจสอบวิทยานิพนธ์ที่ทางมหาวิทยาลัยจะจัดทำขึ้นนั้น เป็นเพียงการตรวจสอบเบื้องต้น และตรวจสอบได้เฉพาะวิทยานิพนธ์ที่คัดลอก ซ้ำซ้อนเท่านั้น ทั้งที่บริษัทรับจ้างทำวิทยานิพนธ์มีกระบวนการที่พัฒนามากขึ้น ตอนนี้การรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ไม่ใช่เป็นเพียงการคัดลอกผลงานอย่างเดียว แต่เป็นการทำวิทยานิพนธ์ฉบับใหม่ขึ้นมาทั้งฉบับ ไม่ได้คัดลอกผลงานของใคร หรือถ้ามีการคัดลอก พวกบริษัทรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ก็มีกระบวนการ โปรแกรมในการจัดทำวิทยานิพนธ์ ที่รับรองต่อผู้จ้างทำวิทยานิพนธ์ว่าเครื่องตรวจสอบวิทยานิพนธ์ไม่สามารถตรวจสอบได้
“ตอนนี้เพียงคีย์คำว่า รับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ในกูเกิลก็มีให้บริษัทรับจ้างให้เลือกมากมาย ทั้งที่การรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าสร้างความเสียหายให้แก่ระบบการศึกษาอย่างมาก ซึ่งทางกฎหมายก็ต้องให้หน่วยงานทางกฎหมายดำเนินการไป ส่วนทางมหาวิทยาลัยก็ควรไปคิดกระบวนการวิจัยและกระบวนการพัฒนาวิทยานิพนธ์ ให้เข้มแข้งมากขึ้น ไม่ใช่นิ่งนอนใช่ว่ามีเครื่องตรวจสอบวิทยานิพนธ์แล้วสามารถปัญหาการรับจ้าง ทำวิทยานิพนธ์ได้ อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าทุกมหาวิทยาลัยต่างมีกระบวนการตรวจสอบวิทยานิพนธ์อยู่แล้ว เพียงแต่อยากให้มหาวิทยาลัยช่วยคิด ช่วยวางกระบวนการที่สามารถตรวจสอบวิทยานิพนธ์ที่เป็นระบบมากกว่า” ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า ในสัปดาห์หน้า ตนจะทำหนังสือส่งให้แก่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เพื่อขอให้เข้ามาช่วยเหลือ หาทางแก้ไขกรณีได้รับแจ้งเบาะแสว่ามีการรับจ้างรับทำดุษฎีนิพนธ์ ของปริญญาเอก ทุกสาขาวิชาทั่งประเทศ ประกาศผ่านทางเว็บไซต์ www.researchthailand.com ซึ่งจากการหารือเบื้องต้น ทางดีเอสไอรับปากจะช่วยเหลือเต็มที่