WHO แนะ สธ.ยกระดับรับมือหวัดนก H7N9 จากระดับ 3 เป็นระดับ 4 หลังมีข้อมูลอาจติดจากคนสู่คน “หมอประดิษฐ” สั่ง สสจ.และ สสอ.ประสานผู้ว่าฯ และ อปท.กำจัดลูกน้ำยุงลาย หลังพบแนวโน้มคนป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ยอดป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นอีก 1,695 ราย ตายเพิ่ม 5 รายภายใน 1 สัปดาห์ กรมควบคุมโรคเร่งรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายก่อนเข้าฤดูฝน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้มี 3 โรคที่ต้องเร่งควบคุมป้องกันคือ ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ไข้เลือดออก และไข้หวัดใหญ่ โดยวันพรุ่งนี้ (3 พ.ค.) สธ.จะเสนอมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ในคนต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ. 2556-2559 ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ซึ่งสถานการณ์ล่าสุด พบผู้ป่วยใน 11 พื้นที่ของจีน ได้แก่ ฝูเจี้ยน เจียงซี หูหนาน เซี่ยงไฮ้ เจียงซู เจ้อเจียง อันฮุย เหอหนาน ปักกิ่ง ซานตง และไต้หวัน มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อทั้งสิ้น 126 ราย เสียชีวิต 24 ราย สธ.ไทยจึงตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมยกระดับการเตรียมพร้อมจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เนื่องจากมีข้อมูลอาจจะมีการติดต่อคนสู่คนในวงจำกัดในรายที่สัมผัสผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
“ไทยมีเวลาเตรียมการรับมือโรคนี้ก่อนเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรคได้ง่าย แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่พบเชื้อโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ดังกล่าว ทั้งในคน สัตว์ นกธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับโรคไข้เลือดออก มีแนวโน้มพบผู้ป่วยต่อเนื่อง ทีมผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะระบาดรุนแรงแน่นอนในปีนี้ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ขณะนี้พบผู้ป่วยทุกจังหวัด และจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความสำเร็จของการเอาชนะโรคนี้คือ การกำจัดและลดจำนวนยุงลาย แต่จากผลการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย ปรากฎว่าสูงทุกจังหวัด จึงกำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และสาธารณสุขอำเภอ ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์กรท้องถิ่นในการกำจัดลูกน้ำยุงลายต่อเนื่อง
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า เดือน พ.ค.เป็นช่วงฤดูฝนและเปิดเทอม โรคที่พบได้บ่อยคือไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ กลุ่มเด็กเมื่อมาอยู่รวมกัน หากเกิดโรคจะเกิดการระบาดติดต่อกันง่าย จึงกำชับทุกจังหวัดเตรียมการควบคุมป้องกันโรคก่อนเปิดเทอมร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่
วันเดียวกัน ที่โรงแรมสุนีย์แกรนด์ฯ จ.อุบลราชธานี นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมรณรงค์ไข้เลือดออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-30 เม.ย. 2556 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 26,067 ราย เสียชีวิต 33 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้น 1,695 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 5 รายจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แก่ ตาก 2 ราย สุโขทัย 2 ราย และภูเก็ต 1 ราย คร.ได้เร่งรัดและรณรงค์ให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและลูกน้ำก่อนเข้าฤดูฝน สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 20 จังหวัด พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 6,731 ราย มีผู้เสียชีวิต 7 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา 921 ราย อุบลราชธานี 859 ราย ศรีสะเกษ 685 ราย สุรินทร์ 661 ราย และบุรีรัมย์ 526 ราย ตามลำดับ
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้มี 3 โรคที่ต้องเร่งควบคุมป้องกันคือ ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ไข้เลือดออก และไข้หวัดใหญ่ โดยวันพรุ่งนี้ (3 พ.ค.) สธ.จะเสนอมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ในคนต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ. 2556-2559 ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ซึ่งสถานการณ์ล่าสุด พบผู้ป่วยใน 11 พื้นที่ของจีน ได้แก่ ฝูเจี้ยน เจียงซี หูหนาน เซี่ยงไฮ้ เจียงซู เจ้อเจียง อันฮุย เหอหนาน ปักกิ่ง ซานตง และไต้หวัน มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อทั้งสิ้น 126 ราย เสียชีวิต 24 ราย สธ.ไทยจึงตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมยกระดับการเตรียมพร้อมจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เนื่องจากมีข้อมูลอาจจะมีการติดต่อคนสู่คนในวงจำกัดในรายที่สัมผัสผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
“ไทยมีเวลาเตรียมการรับมือโรคนี้ก่อนเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรคได้ง่าย แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่พบเชื้อโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ดังกล่าว ทั้งในคน สัตว์ นกธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับโรคไข้เลือดออก มีแนวโน้มพบผู้ป่วยต่อเนื่อง ทีมผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะระบาดรุนแรงแน่นอนในปีนี้ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ขณะนี้พบผู้ป่วยทุกจังหวัด และจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความสำเร็จของการเอาชนะโรคนี้คือ การกำจัดและลดจำนวนยุงลาย แต่จากผลการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย ปรากฎว่าสูงทุกจังหวัด จึงกำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และสาธารณสุขอำเภอ ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์กรท้องถิ่นในการกำจัดลูกน้ำยุงลายต่อเนื่อง
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า เดือน พ.ค.เป็นช่วงฤดูฝนและเปิดเทอม โรคที่พบได้บ่อยคือไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ กลุ่มเด็กเมื่อมาอยู่รวมกัน หากเกิดโรคจะเกิดการระบาดติดต่อกันง่าย จึงกำชับทุกจังหวัดเตรียมการควบคุมป้องกันโรคก่อนเปิดเทอมร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่
วันเดียวกัน ที่โรงแรมสุนีย์แกรนด์ฯ จ.อุบลราชธานี นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมรณรงค์ไข้เลือดออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-30 เม.ย. 2556 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 26,067 ราย เสียชีวิต 33 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้น 1,695 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 5 รายจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แก่ ตาก 2 ราย สุโขทัย 2 ราย และภูเก็ต 1 ราย คร.ได้เร่งรัดและรณรงค์ให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและลูกน้ำก่อนเข้าฤดูฝน สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 20 จังหวัด พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 6,731 ราย มีผู้เสียชีวิต 7 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา 921 ราย อุบลราชธานี 859 ราย ศรีสะเกษ 685 ราย สุรินทร์ 661 ราย และบุรีรัมย์ 526 ราย ตามลำดับ