“วิทิต” ร้องดีเอสไอรีบสรุปผลสอบกรณีจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราฯ ทั้งที่ยังไม่มีโอกาสชี้แจง ลั่นไม่เป็นธรรม ยันไม่ลาออกแต่จะสู้ต่อเพื่อปกป้ององค์กร ชี้หากมีนัยยะแอบแฝงไม่ควรดึง อภ.ให้เสียหาย ด้านทนายฟุ้ง อภ.สามารถชี้แจงข้อกล่าวหาได้ทุกประเด็น
วันนี้ (2 พ.ค.) ที่องค์การเภสัชกรรม ถ.พระราม 6 นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แถลงภายหลังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งหนังสือรายงานผลสืบสวน อภ.กรณีการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอลส่อเข้าข่ายกระทำความผิด พ.ร.บ.ฮั้วประมูล โดยมี นพ.วิทิต และ นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) มีความเกี่ยวข้อง ให้แก่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะต้นเรื่อง ว่า การที่ดีเอสไอกล่าวหาตนและ นพ.วิชัย โดยจะมีการส่งเรื่องนี้ต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำให้ตนและพนักงาน อภ.ทุกคนรู้สึกผิดหวัง เนื่องจากเป็นการสรุปผลการสืบสวนโดยที่ตนยังไม่มีโอกาสได้เข้าทำการชี้แจง ถือว่าไม่เป็นธรรมกับตน ที่สำคัญก่อนหน้านี้ดีเอสไอได้มีหนังสือให้ตนในฐานะผู้บริหารเข้าไปชี้แจงกรณีดังกล่าววันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่ตนป่วยและได้ลาหยุดประมาณ 2-3 วัน ซึ่งทีมทนายของตนได้ประสานขอเลื่อนการให้คำชี้แจงเป็นวันที่ 7 พ.ค.นี้ เวลา 10.00 น. แต่สุดท้ายก็ไม่มีโอกาสได้ชี้แจงความบริสุทธิ์ของตนเองต่อเรื่องนี้
“ผมเป็นห่วงความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดกับ อภ.และพนักงานกว่า 3,000 ชีวิต หากการพิสูจน์ในชั้น ป.ป.ช.ไม่มีการชี้มูลว่าผิด คนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้บริสุทธิ์ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ อีกอย่างผมมีจิตวิญญาณของความเป็นแพทย์ มีจิตสำนึกที่ต้องการดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัย ผมมาบริหารที่นี่ด้วยความตั้งใจ ทุกครั้งที่มีภัยพิบัติ อภ.มีหน้าที่จัดหาและผลิตเวชภัณฑ์ให้เพียงพอ เหมือนครั้งน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ก็จัดหาเคมีภัณฑ์ให้พร้อมหลายตัว เช่น ยาพาราฯ ยาเบาหวาน ยาความดันโลหิตสูง และยาเอดส์ หรือช่วงน้ำเกลือขาดแคลนก็มีการจัดหาและเปิดโรงงานชั่วคราวเร่งผลิตน้ำยาฟอกไต ซึ่งพนักงาน อภ.ก็ให้ความร่วมมือด้วยใจ แต่ไม่คิดว่าสิ่งที่ทำไปวันนั้นจะถูกตรวจสอบ เพราะสิ่งที่ทำไปยังไม่เกิดความเสียหายใดกับรัฐ เพียงแค่ตั้งข้อสงสัยว่าทุจริต แต่ผมเชื่อว่าเมื่อเรื่องนี้ไปถึง ป.ป.ช.แล้ว กระบวนการยุติธรรมจะให้ความเป็นธรรมกับผม” ผอ.อภ. กล่าว
นพ.วิทิต กล่าวอีกว่า ตนและ นพ.วิชัย จะต่อสู้ตามสิทธิต่อไป ไม่ลาออก เพื่อปกป้องสิทธิและองค์กรตราบเท่าที่ยังบริหารอยู่ เพราะตนเป็นลูกจ้าง ซึ่งเมื่อหมดสัญญาก็ต้องไป แต่ อภ.ต้องอยู่ต่อ ดังนั้น หากคิดจะทำอะไรกับผู้บริหารก็ทำ แต่ไม่ควรทำให้องค์กรเสียหาย ทั้งนี้ ในการประชุมบอร์ด อภ.ได้สอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายในการสู้คดีว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะเป็นเรื่องยาวและถูกพาดพิงว่าขัดกับ พ.ร.บ.ฮั้วประมูลฯ มีโทษสูงสุดจำคุก 20 ปี แต่บอร์ด อภ.มีมติว่า ไม่มีระเบียบและไม่เคยจ่ายเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยแนะนำให้ดำเนินการในรูปกองทุนและการบริจาค เบื้องต้นจะมีการตั้งกองทุนกลางในการช่วยเหลือเรื่องนี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีประชาชนที่ยื่นมาเข้ามาช่วยเพราะอยากเห็นความเป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนี้มีนัยยะแอบแฝงที่ต้องการปลดออกจากตำแหน่งหรือไม่ นพ.วิทิต กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะหากต้องการให้ตนเองออก ต้องทำถึงขนาดนี้เลยหรือ เพราะการทำแบบนี้ให้องค์กรเสียหาย คิดว่าไม่คุ้มค่า แต่ก็ไม่ทราบว่าใครคิดอย่างไร
ต่อคำถามว่า เมื่อไม่มีโอกาสในการชี้แจงเรื่องนี้ จะฟ้องร้องหรือดำเนินการใดๆ นพ.วิทิต กล่าวว่า คงไม่ฟ้องแต่จะเดินหน้าสู้ต่อไปด้วยข้อเท็จจริง อย่างกรณีที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่า การสั่งซื้อวัตถุดิบยาพาราฯ จำนวนมาก แต่ไม่มีแผนในการผลิต ข้อเท็จจริงคือ มีแผนการผลิตอยู่แล้วคือโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยา หรือ Mass Production เพื่อผลิตยากว่า 15 รายการ รวมถึงยาพาราฯด้วย ซึ่งหลังจากได้รับการอนุมัติจัดสร้าง ก็ได้ดำเนินการสั่งซื้อวัตถุดิบมาแบบคู่ขนาน เพื่อใช้ทดลองศึกษาผลิต เบื้องต้นล็อตแรกสั่งมา 48 ตัน หากเกิดปัญหาจากการว่าจ้างโรงงานเภสัชกรรมทหาร และบริษัทเอกชน อภ.ก็จะสามารถผลิตยาในโรงงานนี้ได้ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาก็มีปัญหาในการว่าจ้างผลิต จนเกิดคำถามจากเจ้าหน้าที่และประชาชนว่า ทำไม อภ.ไม่ผลิตเอง ทำให้ต้องมีแผนสร้างโรงงานขึ้น โดยปัจจุบันโรงงานนี้ก่อสร้างเสร็จตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งพร้อมผลิตเช่นกัน โดยมีเครื่องจักรตอกเม็ดยา สามารถผลิตได้ในปริมาณ 4 แสนเม็ดต่อชั่วโมง จากเดิม 2.7 แสนเม็ดต่อชั่วโมง
นพ.วิทิต กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ การเลือกบริษัทนำเข้าวัตถุดิบ ก็มีการคัดเลือกอย่างถูกต้อง ไม่ได้มุ่งเลือกบริษัทเดียว เพราะมีขั้นตอนการคัดเลือกบริษัท จาก 6 บริษัท เหลือ 4 บริษัท 2 บริษัท และ 1 บริษัท เพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ ในระหว่างการคัดเลือกมีบริษัทหนึ่งไม่ได้ส่งเอกสารสำคัญเกี่ยวกับคุณภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าตกคุณภาพ อภ.จึงตัดสินใจเลือกจัดซื้อด้วยวิธีการพิเศษอีกบริษัท ซึ่งที่ผ่านมา อภ.ได้ดำเนินการจัดซื้อด้วยวิธีการพิเศษมาตลอด เพราะ อภ.เป็นรัฐวิสาหกิจ มีระเบียบการจัดซื้อพัสดุของ อภ.เอง จะใช้ระเบียบพัสดุของสำนักนายกรัฐมนตรีมาพิจารณาเหมือนหน่วยงานราชการอื่นไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่ากังวลหรือไม่ว่า ดีเอสไอจะตรวจสอบกรณีโรงงานวัคซีนออกมาเหมือนวัตถุดิบยาพาราฯ นพ.วิทิต กล่าวว่า หากทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ให้โอกาสตนในการชี้แจง ก็ไม่กังวล แต่จากเรื่องวัตถุดิบยาพาราฯ ค่อนข้างผิดหวังมาก
ด้าน ดร.สมศักดิ์ โตรักษา ทนายความของ นพ.วิทิต กล่าวว่า กระบวนการสอบสวนไม่ใช่แค่พิสูจน์ความผิดผู้ถูกกล่าวหาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาแสดงความบริสุทธิ์ด้วย ไม่จำเป็นต้องรีบสรุป แต่กรณีนี้ผู้ถูกกล่าวหาต้องการเข้าไปชี้แจง กลับมีการรีบสรุปผลสืบสวน อาจทำให้สังคมเกิดความสงสัย ซึ่งจะส่งผลกระทบกับพนักงานสอบสวนเอง หากได้ชี้แจงแล้ว กระบวนการยุติธรรมจะมองอย่างไรก็จะไม่มีการติดใจ เพราะคนที่เกี่ยวข้องพร้อมให้คำชี้แจง ไม่ปิดบัง อย่างไรก็ตาม หลายเรื่องเมื่อออกสื่อแล้วกระทบ อภ.มาก โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ตนก็พยายามผมเข้ามาทำความเข้าใจ ซึ่งจากการดูเอกสารต่างๆ แล้ว ทุกประเด็นกล่าวหา อภ.สามารถชี้แจงได้ทั้งหมด โดยจะนำหลักฐานทั้งหมดชี้แจงในขั้นสอบสวนต่อไป นอกจากนี้ หากท้ายที่สุดแล้ว ป.ป.ช.ชี้ว่าไม่มีมูล ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่รายบุคคลและ อภ.ใครจะรับผิดชอบ
ดร.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ทุกเรื่องที่ อภ.ดำเนินการบริหารจัดการ ทั้งเรื่องของยาพาราฯ หรือเรื่องโรงงานต่างๆ ซึ่งมีการชี้แจงไปหมดแล้ว และมีเหตุผลรองรับในการดำเนินการ ซึ่งเอาประชาชนและคนไข้เป็นหลัก ทั้งนี้ กระบวนการในการต่อสู้คิดว่าน่าจะยาว ส่วนการฟ้องกลับข้อหาหมิ่นประมาทหรือไม่ อภ.สามารถทำได้ แต่ตนจะไม่ก้าวล่วง ให้องค์กรเป็นผู้พิจารณาเอง นอกจากนี้ ภายหลังการชี้แจงในวันที่ 7 พ.ค.นี้ อาจจะมีการทำหนังสือชี้แจงให้สื่อด้วย
ด้านนายสมชาย ขำน้อย รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ.กล่าวว่า ทางกลุ่มองค์การเภสัชฯต้องการเรียกร้องให้ นพ.ประดิษฐ ออกมาชี้แจงว่า ยาของทาง อภ.มีคุณภาพ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ. กล่าวถึงกรณีการสอบสวนทางวินัย นพ.วิทิต จะต้องพักงานหรือไม่ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบ คาดว่าจะประชุมอีกครั้งในปลายเดือนพฤษภาคม
วันนี้ (2 พ.ค.) ที่องค์การเภสัชกรรม ถ.พระราม 6 นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แถลงภายหลังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งหนังสือรายงานผลสืบสวน อภ.กรณีการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอลส่อเข้าข่ายกระทำความผิด พ.ร.บ.ฮั้วประมูล โดยมี นพ.วิทิต และ นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) มีความเกี่ยวข้อง ให้แก่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะต้นเรื่อง ว่า การที่ดีเอสไอกล่าวหาตนและ นพ.วิชัย โดยจะมีการส่งเรื่องนี้ต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำให้ตนและพนักงาน อภ.ทุกคนรู้สึกผิดหวัง เนื่องจากเป็นการสรุปผลการสืบสวนโดยที่ตนยังไม่มีโอกาสได้เข้าทำการชี้แจง ถือว่าไม่เป็นธรรมกับตน ที่สำคัญก่อนหน้านี้ดีเอสไอได้มีหนังสือให้ตนในฐานะผู้บริหารเข้าไปชี้แจงกรณีดังกล่าววันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่ตนป่วยและได้ลาหยุดประมาณ 2-3 วัน ซึ่งทีมทนายของตนได้ประสานขอเลื่อนการให้คำชี้แจงเป็นวันที่ 7 พ.ค.นี้ เวลา 10.00 น. แต่สุดท้ายก็ไม่มีโอกาสได้ชี้แจงความบริสุทธิ์ของตนเองต่อเรื่องนี้
“ผมเป็นห่วงความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดกับ อภ.และพนักงานกว่า 3,000 ชีวิต หากการพิสูจน์ในชั้น ป.ป.ช.ไม่มีการชี้มูลว่าผิด คนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้บริสุทธิ์ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ อีกอย่างผมมีจิตวิญญาณของความเป็นแพทย์ มีจิตสำนึกที่ต้องการดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัย ผมมาบริหารที่นี่ด้วยความตั้งใจ ทุกครั้งที่มีภัยพิบัติ อภ.มีหน้าที่จัดหาและผลิตเวชภัณฑ์ให้เพียงพอ เหมือนครั้งน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ก็จัดหาเคมีภัณฑ์ให้พร้อมหลายตัว เช่น ยาพาราฯ ยาเบาหวาน ยาความดันโลหิตสูง และยาเอดส์ หรือช่วงน้ำเกลือขาดแคลนก็มีการจัดหาและเปิดโรงงานชั่วคราวเร่งผลิตน้ำยาฟอกไต ซึ่งพนักงาน อภ.ก็ให้ความร่วมมือด้วยใจ แต่ไม่คิดว่าสิ่งที่ทำไปวันนั้นจะถูกตรวจสอบ เพราะสิ่งที่ทำไปยังไม่เกิดความเสียหายใดกับรัฐ เพียงแค่ตั้งข้อสงสัยว่าทุจริต แต่ผมเชื่อว่าเมื่อเรื่องนี้ไปถึง ป.ป.ช.แล้ว กระบวนการยุติธรรมจะให้ความเป็นธรรมกับผม” ผอ.อภ. กล่าว
นพ.วิทิต กล่าวอีกว่า ตนและ นพ.วิชัย จะต่อสู้ตามสิทธิต่อไป ไม่ลาออก เพื่อปกป้องสิทธิและองค์กรตราบเท่าที่ยังบริหารอยู่ เพราะตนเป็นลูกจ้าง ซึ่งเมื่อหมดสัญญาก็ต้องไป แต่ อภ.ต้องอยู่ต่อ ดังนั้น หากคิดจะทำอะไรกับผู้บริหารก็ทำ แต่ไม่ควรทำให้องค์กรเสียหาย ทั้งนี้ ในการประชุมบอร์ด อภ.ได้สอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายในการสู้คดีว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะเป็นเรื่องยาวและถูกพาดพิงว่าขัดกับ พ.ร.บ.ฮั้วประมูลฯ มีโทษสูงสุดจำคุก 20 ปี แต่บอร์ด อภ.มีมติว่า ไม่มีระเบียบและไม่เคยจ่ายเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยแนะนำให้ดำเนินการในรูปกองทุนและการบริจาค เบื้องต้นจะมีการตั้งกองทุนกลางในการช่วยเหลือเรื่องนี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีประชาชนที่ยื่นมาเข้ามาช่วยเพราะอยากเห็นความเป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนี้มีนัยยะแอบแฝงที่ต้องการปลดออกจากตำแหน่งหรือไม่ นพ.วิทิต กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะหากต้องการให้ตนเองออก ต้องทำถึงขนาดนี้เลยหรือ เพราะการทำแบบนี้ให้องค์กรเสียหาย คิดว่าไม่คุ้มค่า แต่ก็ไม่ทราบว่าใครคิดอย่างไร
ต่อคำถามว่า เมื่อไม่มีโอกาสในการชี้แจงเรื่องนี้ จะฟ้องร้องหรือดำเนินการใดๆ นพ.วิทิต กล่าวว่า คงไม่ฟ้องแต่จะเดินหน้าสู้ต่อไปด้วยข้อเท็จจริง อย่างกรณีที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่า การสั่งซื้อวัตถุดิบยาพาราฯ จำนวนมาก แต่ไม่มีแผนในการผลิต ข้อเท็จจริงคือ มีแผนการผลิตอยู่แล้วคือโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยา หรือ Mass Production เพื่อผลิตยากว่า 15 รายการ รวมถึงยาพาราฯด้วย ซึ่งหลังจากได้รับการอนุมัติจัดสร้าง ก็ได้ดำเนินการสั่งซื้อวัตถุดิบมาแบบคู่ขนาน เพื่อใช้ทดลองศึกษาผลิต เบื้องต้นล็อตแรกสั่งมา 48 ตัน หากเกิดปัญหาจากการว่าจ้างโรงงานเภสัชกรรมทหาร และบริษัทเอกชน อภ.ก็จะสามารถผลิตยาในโรงงานนี้ได้ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาก็มีปัญหาในการว่าจ้างผลิต จนเกิดคำถามจากเจ้าหน้าที่และประชาชนว่า ทำไม อภ.ไม่ผลิตเอง ทำให้ต้องมีแผนสร้างโรงงานขึ้น โดยปัจจุบันโรงงานนี้ก่อสร้างเสร็จตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งพร้อมผลิตเช่นกัน โดยมีเครื่องจักรตอกเม็ดยา สามารถผลิตได้ในปริมาณ 4 แสนเม็ดต่อชั่วโมง จากเดิม 2.7 แสนเม็ดต่อชั่วโมง
นพ.วิทิต กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ การเลือกบริษัทนำเข้าวัตถุดิบ ก็มีการคัดเลือกอย่างถูกต้อง ไม่ได้มุ่งเลือกบริษัทเดียว เพราะมีขั้นตอนการคัดเลือกบริษัท จาก 6 บริษัท เหลือ 4 บริษัท 2 บริษัท และ 1 บริษัท เพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ ในระหว่างการคัดเลือกมีบริษัทหนึ่งไม่ได้ส่งเอกสารสำคัญเกี่ยวกับคุณภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าตกคุณภาพ อภ.จึงตัดสินใจเลือกจัดซื้อด้วยวิธีการพิเศษอีกบริษัท ซึ่งที่ผ่านมา อภ.ได้ดำเนินการจัดซื้อด้วยวิธีการพิเศษมาตลอด เพราะ อภ.เป็นรัฐวิสาหกิจ มีระเบียบการจัดซื้อพัสดุของ อภ.เอง จะใช้ระเบียบพัสดุของสำนักนายกรัฐมนตรีมาพิจารณาเหมือนหน่วยงานราชการอื่นไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่ากังวลหรือไม่ว่า ดีเอสไอจะตรวจสอบกรณีโรงงานวัคซีนออกมาเหมือนวัตถุดิบยาพาราฯ นพ.วิทิต กล่าวว่า หากทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ให้โอกาสตนในการชี้แจง ก็ไม่กังวล แต่จากเรื่องวัตถุดิบยาพาราฯ ค่อนข้างผิดหวังมาก
ด้าน ดร.สมศักดิ์ โตรักษา ทนายความของ นพ.วิทิต กล่าวว่า กระบวนการสอบสวนไม่ใช่แค่พิสูจน์ความผิดผู้ถูกกล่าวหาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาแสดงความบริสุทธิ์ด้วย ไม่จำเป็นต้องรีบสรุป แต่กรณีนี้ผู้ถูกกล่าวหาต้องการเข้าไปชี้แจง กลับมีการรีบสรุปผลสืบสวน อาจทำให้สังคมเกิดความสงสัย ซึ่งจะส่งผลกระทบกับพนักงานสอบสวนเอง หากได้ชี้แจงแล้ว กระบวนการยุติธรรมจะมองอย่างไรก็จะไม่มีการติดใจ เพราะคนที่เกี่ยวข้องพร้อมให้คำชี้แจง ไม่ปิดบัง อย่างไรก็ตาม หลายเรื่องเมื่อออกสื่อแล้วกระทบ อภ.มาก โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ตนก็พยายามผมเข้ามาทำความเข้าใจ ซึ่งจากการดูเอกสารต่างๆ แล้ว ทุกประเด็นกล่าวหา อภ.สามารถชี้แจงได้ทั้งหมด โดยจะนำหลักฐานทั้งหมดชี้แจงในขั้นสอบสวนต่อไป นอกจากนี้ หากท้ายที่สุดแล้ว ป.ป.ช.ชี้ว่าไม่มีมูล ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่รายบุคคลและ อภ.ใครจะรับผิดชอบ
ดร.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ทุกเรื่องที่ อภ.ดำเนินการบริหารจัดการ ทั้งเรื่องของยาพาราฯ หรือเรื่องโรงงานต่างๆ ซึ่งมีการชี้แจงไปหมดแล้ว และมีเหตุผลรองรับในการดำเนินการ ซึ่งเอาประชาชนและคนไข้เป็นหลัก ทั้งนี้ กระบวนการในการต่อสู้คิดว่าน่าจะยาว ส่วนการฟ้องกลับข้อหาหมิ่นประมาทหรือไม่ อภ.สามารถทำได้ แต่ตนจะไม่ก้าวล่วง ให้องค์กรเป็นผู้พิจารณาเอง นอกจากนี้ ภายหลังการชี้แจงในวันที่ 7 พ.ค.นี้ อาจจะมีการทำหนังสือชี้แจงให้สื่อด้วย
ด้านนายสมชาย ขำน้อย รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ.กล่าวว่า ทางกลุ่มองค์การเภสัชฯต้องการเรียกร้องให้ นพ.ประดิษฐ ออกมาชี้แจงว่า ยาของทาง อภ.มีคุณภาพ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ. กล่าวถึงกรณีการสอบสวนทางวินัย นพ.วิทิต จะต้องพักงานหรือไม่ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบ คาดว่าจะประชุมอีกครั้งในปลายเดือนพฤษภาคม